นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) พร้อมคณะผู้บริหารสถาบัน ร่วม ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ความร่วมมือ กับ Human Resources Development Service of Korea (HRDK) สังกัดกระทรวงการจ้างงานและแรงงาน สาธารณรัฐเกาหลี โดยมี Mr. Kim Gyu Seog (HRDK Vice President), Ms. Yoon A-Sun (Acting Executive Director of Global Institute For Transferring Skills) และ Mr. Moon Hyun Tae ผู้แทน HRDK ประจำประเทศไทย เข้าร่วมในการลงนามบันทึก ความเข้าใจความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระบบคุณวุฒิและการยอมรับ สมรรถนะและคุณวุฒิร่วมกัน
นางสาวจุลลดา กล่าวว่า HRDK เป็นพันธมิตรที่ดีกับ สคช. มาตั้งแต่ปี 2014 ทำงานร่วมกันในการใช้ระบบคุณวุฒิพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งใช้มาตรฐานอาชีพในการฝึกอบรสายวิชาชีพและการเชื่อมโยงกับตำแหน่งงานและเส้นทางความก้าวหน้า ในด้านการจัดทำมาตรฐานอาชีพ HRDK ได้ร่วมมือตั้งแต่การรับมาตรฐานอาชีพบางสาขามาเป็นต้นแบบในการจัดทำมาตรฐานอาชีพของไทย ส่งเสริมการสร้างโอกาสให้คนไทยที่มีคุณวุฒิมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการได้งานทำที่สาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงการเทียบเคียงเพื่อนำไปสู่การรับรองสมรรถนะให้กับกำลังคนที่กลับมาประเทศไทยหลังจากทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งคาดว่าจะนำร่องได้ภายในปีหน้านี้
นอกจากนี้ สคช. ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานอาชีพ ให้ตอบโจทย์ Future of Work และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ NCS (National Competency Standard) สาขาแห่งอนาคต ที่รัฐบาล เกาหลีและ HRDK ผลักดัน เพื่อให้กำลังคนสามารถรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงได้
สคช. ยังตั้องการสานต่อความร่วมมือในการพัฒนานักเขียนบท ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้ NCS อ้างอิงเป็นต้นแบบ และในปี 2568 จะได้จัดฝึกอบรมในการใช้มาตรฐานอาชีพบ่มเพาะและส่งเสริมการเป็นนักเขียนมืออาชีพ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ Soft Power ของไทย ขณะเดียวกันเตรียมร่วมกับ HRDK ดำเนินการโครงการนำร่องการนำผลการยอมรับคุณวุฒิช่างเชื่อมไปใช้ประโยชน์ พร้อมผลักดันโมเดลขยายผลไปสู่ประเทศอื่น หรือการใช้ประโยชน์ในสาขาอาชีพอื่นๆ ต่อไปในอนาคต
Mr. Kim Gyu Seog ระบุว่าการทำงานร่วมกับ สคช. ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านความรู้ ทักษะ ในการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ สคช. มีระบบการพัฒนาคนอย่าง EWE Platform ที่ทำงานลักษณะเดียวกันกับแพลตฟอร์มของสาธารณรัฐเกาหลี ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถต่อยอดสร้างอาชีพ มีโอกาสฝึกอบรม เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ ขณะเดียวกันประเทศไทยมีประสบการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติที่ดี การสร้างระบบการยอมรับสมรรถนะการทำงาน ความสามารถของคนร่วมกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานรองรับการเคลื่อนย้าย กำลังแรงงานในอนาคตด้วย