เกี่ยวกับสถาบัน

คณะอนุกรรมการ

คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองนโยบายและแผนยุทธศาสตร์
อำนาจหน้าที่
1. เสนอแนะนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
2. ให้ความเห็นต่อแผนการดำเนินงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและทบทวนมาตรฐานอาชีพ ตลอดจนการรับรองมาตรฐานต่างประเทศและนำมาใช้เป็นมาตรฐานอาชีพ
3. เสนอแนะการเชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสู่หลักสูตรพัฒนากำลังคน ตลอดจนกลไกการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ
4. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการได้
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมอบหมาย
คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นและจัดทำร่างหลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับสถาบัน
อำนาจหน้าที่
1. พิจารณากลั่นกรอง ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือข้อกำหนดตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และพระราชบัญญัติองค์การมหาชน โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและติคณะรัฐมนตรี
2. ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ การดำเนินงานโครงการ และนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ
3. พิจารณาทบทวน ปรับปรุง และแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด และประกาศที่มีผลใช้บังคับแล้วนั้น เพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน
4. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการได้
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมอบหมาย
คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
อำนาจหน้าที่
1. จัดทำกรอบนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง และกำหนดระดับความเสี่ยง
2. กลั่นกรองประเด็นความเสี่ยงเสนอต่อคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
3. กำกับดูแลการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และแผนงานด้านบริหารความเสี่ยง
4. พิจารณาและให้ความเห็นต่อผลการบริหารงานด้านความเสี่ยงต่อคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพทุกไตรมาส
5. ทบทวน ปรับปรุงนโยบายและมาตรการป้องกันแก้ไขความเสี่ยง
6. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการได้
7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมอบหมาย
คณะกรรมการตรวจสอบ
อำนาจหน้าที่
1. เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ใช่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ติดตามผลการปฏิบัติงาน และพิจารณาค่าตอบแทนในการสอบบัญชี
2. พิจารณาตัดสินในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน
3. พิจารณาและให้ความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน
4. ทบทวนและอนุมัติกฎบัตรของหน่วยตรวจสอบภายในแผนการตรวจสอบและงบประมาณของหน่วยตรวจสอบภายใน
5. จัดหาที่ปรึกษาจากภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ในการให้คำแนะนำ หรือช่วยในการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยใช้ค่าใช้จ่ายของสถาบัน
6. ประชุมร่วมกับผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน และที่ปรึกษาภายนอกตามความจำเป็นและเหมาะสม
7. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการเป็นรายไตรมาสและจัดทำรายงาน สรุปผลประจำปี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
8. สอบทานระบบการบริหารจัดการของสถาบันและการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการจัดทำรายงานทางการเงิน การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของสถาบัน
9. เชิญหน้าที่ของสถาบันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นประกอบการพิจารณากับกรรมการตรวจสอบ
10. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
คณะอนุกรรมการดิจิทัล
อำนาจหน้าที่
1. เสนอแนะนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ ในการบริหารและพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
2. เสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงานและโครงการทางด้านดิจิทัลของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ รวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการดังกล่าวด้วย
3. เสนอแนะนโยบาย มาตรการ กฎ ระเบียบ เพื่อกำกับการใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลร่วมกัน ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว มั่นคง และปลอดภัย
4. เสนอแนวทางการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ให้เกิด การเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. เสนอแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการระบบสารสนเทศ ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถรองรับการดำเนินการของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และสอดคล้องกับการเป็นหน่วยงานตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
6. พิจารณาและติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล และรายงานให้คณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพทราบเป็นรายไตรมาส
7. แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อดําเนินการตามกรอบอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ ตามความจำเป็น
8. ดำเนินการ หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมอบหมาย
คณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคล
อำนาจหน้าที่
1. พิจารณาแผนบริหารงานบุคคล แผนพัฒนาบุคลากร และจัดทำมาตรฐานกำหนด ตำแหน่งเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2. ให้คำปรึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดแบ่งส่วนงาน กรอบ อัตรากำลัง กรอบอัตราเงินเดือน ค่าจ้างค่าตอบแทน และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นตลอดจนให้ความเห็นในเรื่องวินัยและการตีความวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลต่อคณะกรรมการ
3. ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อกำหนด หรือคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
4. กำกับ ติดตาม และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนบริหารงานบุคคลและแผนพัฒนาบุคลากร
5. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารงานบุคคลและแผนพัฒนาบุคลากรต่อคณะกรรมการ
6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
คณะอนุกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
อำนาจหน้าที่
1. พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอุทธรณ์
2. พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องร้องทุกข์
3. เสนอผลการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
4. เสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
5. เรียกเอกสารหรือเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหรือให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมอบหมาย
คณะอนุกรรมการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพและสมรรถนะ
อำนาจหน้าที่
1.เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและหน่วยประเมินสมรรถนะ
2. กำกับดูแลการติดตามและประเมินผลองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและหน่วยประเมินสมรรถนะ
3. พิจารณาผลการตรวจประเมินองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและหน่วยประเมินสมรรถนะ
4. เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการอนุมัติให้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ หนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพ และหนังสือรับรองสมรรถนะ
หมายเหตุ : ข้อบังคับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ว่าด้วยเบี้ยประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และที่ปรึกษาคณะกรรมการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ อัตราเบี้ยประชุมประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตำแหน่งประธานอนุกรรมการ อัตรา 7,500 บาท ตำแหน่งอนุกรรมการ อัตรา 6,000 บาท