Press Release

  • สคช. เตรียมทำความร่วมมือกับองค์การสะพานปลา ในการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประมงทั่วประเทศ สู่การมีมาตรฐานอย่างมืออาชีพ

    12.11.2563
    350 View

    นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันฯ พร้อม ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันฯ พร้อมคณะกรรมการสถาบันฯ และคณะผู้บริหารสถาบันฯ ลงพื้นที่สำนักงานท่าเทียบเรือระนอง องค์การสะพานปลา ซึ่งเป็น 1 ในท่าเทียบเรือที่องค์การสะพานปลาเปิดเป็นตลาดกลางค้าสัตว์น้ำหรือสะพานปลา ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำที่สำคัญซึ่งปัจจุบัน องค์การสะพานปลาเปิดให้บริการสะพานปลารวม 4 แห่ง และท่าเทียบเรือประมงอีก 14 แห่ง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อม ที่ สคช. เตรียมทำความร่วมมือกับองค์การสะพานปลา ในการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประมงทั่วประเทศ สู่การมีมาตรฐานอย่างมืออาชีพ และร่วมกันส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบอาชีพในเครือข่ายองค์การสะพานปลา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้าน หรือกลุ่มผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี ให้มีสมรรถนะในการจัดจำหน่ายอาหารทะเลให้สะอาด ปลอดภัย และมีการจัดเก็บหรือถนอมอาหารอย่างถูกสุขอนามัยอย่างมืออาชีพตามแนวทางมาตรฐานสากล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนในพื้นที่ได้อีกด้วย

  • “จุรินทร์” ชี้ “สคช.” เป็นหมากสำคัญในการรับรองคน ช่วยสร้างโอกาสให้คนในอาชีพ

    29.10.2563
    333 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าร่วมในงาน Smart SME EXPO 2020 ครั้งที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2563 ณ ฮอลล์ 9-10 อิมแพ็คเมืองทองธานี ซึ่งเป็นงานรวมตัวผู้ประกอบการ SME กว่า 300 ราย มีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่ให้การสนับสนุนผลักดันกลุ่มผู้ประกอบการ SME อาทิ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รวมทั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการ SME เข้าถึงตลาด เข้าถึงเงินทุน สร้างงาน สร้างอาชีพ และขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ภายหลังเปิดงานนายจุรินทร์ ได้เดินชมนิทรรศการตามจุดต่างๆ และให้ความสนใจกับการทำงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเป็นพิเศษ พร้อมซักถามแนวทางการทำงานกับนางสาววรชนาธิป ทั้งเรื่องหลักเกณฑ์การประเมินสมรรถนะ การเทียบเคียงการศึกษา พร้อมย้ำว่าสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเป็นสถาบันฯ ที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากำลังคน “การศึกษาในระบบก็ต้องเรียน เรียนเฉพาะทาง แต่มีอีกระบบที่เราอาจไม่ได้เรียนในระบบ ไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัย ไม่ได้จบมหาวิทยาลัย แต่เราอาจจะเก่งกว่าคนที่จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย เพราะเราเป็นผู้ที่อยู่ในภาคปฏิบัติจริง และเรามีสมรรถภาพจริงเก่งกว่าคนที่เรียนมาอย่างเดียว แล้วก็ขาดทักษะทางด้านปฏิบัติ เช่นเราเจียระไนพลอยเราอาจจะเก่งกว่าคนที่จบด็อกเตอร์แล้วมาเจียระไนพลอย หรืออย่างเชฟ ที่ทำอาหาร ก็เก่งกว่า คนจบด็อกเตอร์ ด้านคหกรรม ฉะนั้นจึงได้มีสถาบันฯ หนึ่งที่มีความสำคัญ คือสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นกลไกในการตรวจสอบ ทดสอบสมรรถนะ ว่าเก่งขั้น 1 หรือขั้น 2 สูงสุดคือ 8 แล้วให้การรับรอง ซึ่งเราสามารถใช้ใบรับรองเป็นใบเบิกทาง ในการเพิ่มเงินเดือน เพิ่มรายได้ สร้างโอกาสให้ตัวเองได้ ซึ่งไม่ใช่การศึกษาในระบบ และไม่ใช่นอกระบบ แต่เป็นระบบพิเศษ ที่หลายประเทศทั่วโลกก็ทำกัน มีการเทียบ 8 ขั้น” นายจุรินทร์ กล่าว นายจุรินทร์ ยังระบุว่า SME มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ มีผู้ประกอบการรวมกันมากกว่า 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 95 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ที่ผ่านมา SME มีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน กระจายรายได้ และเป็นภาคการผลิตที่สำคัญอย่างยิ่ง รวมทั้งพัฒนาตนเองไปเป็นภาคการส่งออกที่มีความสำคัญในอนาคต ซึ่งสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ถ้าเราสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ก็จะทำให้เกิดการเติบโต และพัฒนาฐานรากเศรษฐกิจของประเทศได้ ทุกภาคส่วนจึงต้องทำให้ SME เป็นภาคการผลิตที่มีศักยภาพ ต้องพัฒนาให้มีศักยภาพด้านการตลาดต่อไปด้วย โดยใช้ยุทธศาสตร์สำคัญคือใช้ตลาดนำการผลิต เพื่อผลิตแล้วทำให้มีคนซื้อ ด้านนางสาววรชนาธิป ย้ำว่าสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์โดยนำเสนอภารกิจและบทบาทที่สำคัญ เป็นกลไกขับเคลื่อนระบบคุณวุฒิวิชาชีพของประเทศ ส่งเสริมสมรรถนะแรงงานไทยให้ได้มาตรฐาน สร้างความเป็นมืออาชีพ มุ่งมั่นสนับสนุนกำลังคนให้สามารถพัฒนาและต่อยอดการพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบการเจ้าของกิจการรายย่อย ด้วยแนวคิด “สร้างความเป็นมืออาชีพให้กับคนไทย: From Professional to SME” รวมถึงการต่อยอดธุรกิจด้วยสินเชื่อผ่านความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ และการปรับตัวเพื่อเข้าสู่การทำธุรกิจภายใต้ยุค New Normal อย่างกิจกรรมเสริมทักษะการทำธุรกิจด้วย E-Commerce และในงาน สถาบันฯ ยังพร้อมให้บริการ "โค้ชอาชีพ" ช่วยให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมืออาชีพตามมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานสากล

  • หารือแนวทางการจัดทำงาน เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

    30.10.2563
    321 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และคณะ เข้าหารือแนวทางการจัดทำงานร่วมกับนางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ องค์การบริหาร การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ซึ่ง อพท. ได้ทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเฉพาะดูแลชุมชนทั่วประเทศอยู่แล้ว ทำให้แนวทางทั้ง 2 หน่วยงาน สามารถบูรณาการร่วมกันและช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ซึ่งเป็นฐานรากของการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศด้วย โดย อพท. ยังให้ความสนใจอยากให้มีการจัดทำมาตรฐานนักประเมินคุณภาพ นักพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่ง อพท. มีชุมชนต้นแบบ 14 ชุมชน ใน 7 จังหวัด ที่เป็นชุมชนเข้มแข็งด้านตลาดการท่องเที่ยว มีการกระจายรายได้ มีการส่งเสริมด้านอาหาร กิจการชุมชน หากสามารถยกระดับให้กับนักประเมินคุณภาพการท่องเที่ยวได้ ก็จะยิ่งเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพชุมชนให้กลายเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยวได้ ซึ่งจะได้มีการหารือแนวทางความร่วมมือในอนาคตต่อไป

  • เร่งรัดช่วยเหลือชาวภูเก็ต! เตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวกับการสะดุดของเศรษฐกิจ!

    30.10.2563
    356 View

    นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และคณะ เข้าร่วมพูดคุยบรรยายถึงความสำคัญของมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กับสภามหาวิทยาลัย อธิการบดีและเหล่าคณบดี คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เพื่อปรับปรุงหลักสูตร และสร้างสรรค์หลักสูตรระยะสั้น ช่วยเหลือคนในอาชีพที่ได้รับผลกระทบจาก Covid19 ด้วยการอบรม เพิ่มพูนสมรรถนะ สร้างอาชีพที่ 2 ที่ 3 ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ก่อนเข้าสู่สนามการทำงาน อย่างมืออาชีพ นอกจากนี้ยังเตรียมพร้อมเดินหน้า MOU เพื่อลงสู่การปฏิบัติ ต่อยอดขยายผล hub แดนใต้ด้านการท่องเที่ยว wellness และบริการ

  • สคช. เดินเครื่องสร้างอาชีพที่ 2 ให้มัคคุเทศก์

    30.10.2563
    346 View

    ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชีพ กล่าวย้ำในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสร้างงาน สร้างโอกาส สร้างมัคคุเทศก์มืออาชีพ” ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ กรุงเทพมหานคร ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศ แต่วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบ การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศ คนไทยก็เที่ยวน้อยลง ซึ่งมัคคุเทศก์ก็เป็นหนึ่งในอาชีพที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสถานการณ์นี้ ทำให้ต้องปรับตัวเพื่อเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอาชีพที่ 2 ที่ 3 จะกลายเป็นทางเลือก และทางรอดให้ทุกอาชีพ ซึ่งภายในงานมีการเสวนาเรื่อง สร้างนักเล่ามืออาชีพ E-Commerce สร้างโอกาสสู่งานบริการสุขภาพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และสร้างโอกาสเพิ่มความมั่นใจ ประกอบอาหารไทยแบบมืออาชีพ ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพเสริม ที่ สคช. จะเข้ามาเป็นส่วนช่วยเสริม เติมเต็ม และเป็นกลไกที่เข้ามาสร้างงาน สร้างโอกาส ในการขับเคลื่อนเพื่อเตรียมความพร้อมให้เหล่ามัคคุเทศก์ด้วย

  • แนวทางการพัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เนื่องจากอาชีวศึกษานับเป็นบุคลากรสำคัญในการขับเคลื่อนโลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นกำลังคนที่ทุกภาคส่วนต้องการตัว

    04.11.2563
    429 View

    นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันฯ พร้อม ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันฯ พร้อมคณะกรรมการสถาบันฯ และคณะผู้บริหารสถาบันฯ ลงพื้นที่วิทยาลัยเทคนิคระนอง โดยมีนายอารักษ์ จะรา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคระนอง คณะผู้สอน อาจารย์ วิทยาลัยเทคนิคเกือบ 100 ชีวิตให้การต้อนรับ โดยได้มีการพูดคุยแนวทางการพัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เนื่องจากอาชีวศึกษานับเป็นบุคลากรสำคัญในการขับเคลื่อนโลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นกำลังคนที่ทุกภาคส่วนต้องการตัว ดังนั้นเมื่อทำได้ ทำเป็นอยู่แล้ว แต่ต้องพัฒนาทักษะ เพื่อสามารถต่อยอดในอาชีพ โอกาสที่จะได้ทำงานและเป็นที่ต้องการตัวจึงมีมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพพร้อมที่จะตอบโจทย์พร้อมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษาเข้าสู่การประเมิน เพื่อพัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ด้านดร.ศิริพรรณ ชุมนุม ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในฐานะที่ปรึกษากรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ย้ำว่าเทคนิคระนองต้องค้นหาตัวเองให้เจอว่าเก่งด้านไหน ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพพร้อมที่จะขับเคลื่อนตอบโจทย์ในความเก่งนั้น ให้มีความโดดเด่นที่ทุกภาคส่วนต้องการตัว ซึ่งตัวแทนวิทยาลัยเทคนิคระนองอยากให้มีแนวทางที่ชัดเจน รวมทั้งเครื่องมือการเรียนการสอนเพราะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้บุคลากรสามารถพัฒนาตัวเองให้ทันยุคสมัย ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ก็พร้อมเป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ได้ฝึกงาน หรือฝึกใช้เครื่องใช้เครื่องมือได้ โดยนายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ กรรมการสถาบันฯ ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ให้ความสำคัญเรื่องบุคลากรอาชีวศึกษา เพราะเป็นสถานที่ผลิตบุคลากรที่ตอบโจทย์ความต้องการในตลาดแรงงาน หลังจากนี้จะมีการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน จึงอยากให้เทคนิคระนองค้นหาความเชี่ยวชาญชำนาญ หาจุดเด่นของตัวเองให้เจอ เพราะรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเต็มกำลังในแบบทำให้อาชีวศึกษาพลิกโฉมเลยทีเดียว

  • 30.10.2563
    329 View

  • 29.10.2563
    332 View

  • 29.10.2563
    319 View

  • 29.10.2563
    340 View

  • 29.10.2563
    307 View

  • 22.10.2563
    318 View

  • 19.10.2563
    415 View

  • 16.10.2563
    394 View

  • 15.10.2563
    404 View

  • 12.10.2563
    374 View