มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ

TPQI
01
อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
ผลักดันผู้ประกอบการรายงานแนวโน้มและ ความต้องการกำลังคนของอุตสาหรกรม ให้แก่สถาบัน
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นศูนย์กลางของระบบการพัฒนากำลังคน
ผลักดันให้ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป และหน่วยงาน ฝึกอบรม มีส่วนรวมในระบบการพัฒนากำลังคน
02
ขอบเขตการดำเนินงาน
ผู้แทน
• ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของภาคอุตสาหกรรมในการกำหนดสมรรถนะที่อุตสาหกรรมต้องการ
พัฒนา
• ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานอาชีพที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน การฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ และการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสมรรถนะ เพื่อให้การพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรม เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
• ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานอาชีพที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน การฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ และการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสมรรถนะ เพื่อให้การพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรม เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
03
แนวทางการดำเนินงานของสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน
• คณะกรรมการฯ ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เชื่อถือได้ ในระยะเวลาที่กำหนดไว้
• คณะกรรมการฯ ต้องพิจารณาและตัดสินใจภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
• คณะกรรมการฯ จะต้องแจ้งข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ
• คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน จะได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากเลขานุการ
สถานะของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน
• คณะกรรมการได้รับการแต่งตั้งโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถาบัน
• คณะกรรมการต้องมีการปรับเปลี่ยน เมื่อคณะกรรมการนั้น ได้ย้ายองค์กรที่เป็นผู้แทน คณะกรรมการนั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากสถาบันฯ หากองค์กรไม่สามารถเสนอผู้แทนใหม่ได้ ให้สถาบันเลือกองค์กรอื่นโดยให้มีการคัดเลือก คณะกรรมการนี้ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาในการพัฒนามาตรฐานอาชีพ
บทบาทของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนบทบาทของกรรมการฯ มีดังนี้
ก. ทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมเป็นสำคัญและไม่ทำงานเพื่อตัวเองหรือหน่วยงานที่ตนเองเป็นผู้แทน
ข. ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
ค. อุทิศเวลาในการปฏิบัติงานตามเงื่อนไขใน TOR
ง. เข้าร่วมประชุมและสามารถนำผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมประชุมได้ เพื่อเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลในการประชุม
จ. กรรมการฯ ไม่สามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นในองค์กรของตนเข้าร่วมประชุมแทนโดยไม่ได้รับการมอบหมายอย่างเป็นทางการ
ฉ. เป็นผู้ให้คำแนะนำในเชิงยุทธศาสตร์และมีความเชี่ยวชาญในมาตรฐานอาชีพ
ช. มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน
ซ. ให้ข้อมูลกับฝ่ายเลขานุการหรือประสานกับบุคลากรในอุตสาหกรรมในการรวบรวมข้อมูล
ฌ. ทำงานภายใต้โครงสร้าง กรอบระยะเวลา และวิธีดำเนินงาน ที่เลขานุการกำหนด
ญ. ยอมรับมติที่ประชุมจากคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน
04
การบริหาร/การกำกับดูแล
สมาชิกภาพของประธานฯ และกรรมการฯ
โครงสร้างของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนต้องผ่านการเห็นชอบของ คณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ คณะกรรมการจะทำการเลือกประธานและรองประธาน
คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน โดยมีการเสนอชื่อและมีการลงคะแนนในทางลับ
บทบาทของประธาน คือ ทำหน้าที่เป็นผู้นำของคณะกรรมการ เป็นบุคคลแรกที่สถาบันจะต้องติดต่อประสานงาน ทำงานร่วมกับเลขานุการ และดำเนินการหาวิธีการทำงานร่วมกับผู้แทนภาคอุตสาหกรรมถ้าประธานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ให้รองประธานทำหน้าที่แทน
องค์ประชุมตามข้อบังคับการประชุม
องค์ประชุมจะต้องมีมากกว่ากึ่งหนึ่ง
การประชุม วาระการประชุม การรับรองการประชุม และรายงานการประชุม
• การดำเนินการประชุม
ก. ต้องมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง โดยมีการประชุมทบทวนความจำเป็นเร่งด่วนของอุตสาหกรรมและการอนุมัติแผนการดำเนินงาน
ข. ต้องเป็นการประชุมร่วมกันอย่างน้อย 2 ใน 3 ครั้ง หรือมีการประชุมผ่านสื่อออนไลน์
ค. อาจมีการประชุมเพิ่มเติมโดยเลขานุการเป็นผู้เชิญประชุม
ง. เลขานุการจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการประชุม
จ. การเห็นชอบในการประชุม:
- การเห็นชอบจากคณะกรรมการต้องมาจากเสียงข้างมาก และประธานสามารถทำการลงคะแนน (vote) ได้ถ้ามีความจำเป็น
• รายงานการประชุมทีมเลขานุการเป็นผู้จดบันทึกรายงานการประชุมและรายงานต่อที่ประชุม เพื่อให้มีการถามตอบจากกรรมการเกี่ยวกับวาระการประชุม และสถานภาพของการดำเนินงานต่าง ๆ รายงานการประชุมต้องนำส่งให้แก่กรรมการที่เข้าร่วมประชุมและไม่เข้าร่วมประชุม ภายใน 10 วันทำการ หลังจากมีการประชุม
รายงานการประชุม ประกอบด้วย:
ก. รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม
ข. รายชื่อผู้ติดภารกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุม
ค. วาระการประชุม
ง. รายละเอียดของมติที่ประชุม ข้อสั่งการ ข้อตัดสินใจ รวมถึงจำนวนสมาชิกที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
• ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกิดขึ้นในการประชุม ทีมเลขานุการเป็นผู้รับผิดชอบ
จรรยาบรรณในการเข้าร่วมประชุม
• คณะกรรมการต้องรักษาความลับและแสดงการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
การรายงานความคืบหน้า
• คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานต่อสถาบัน โดยทีมเลขานุการ เป็นผู้ดำเนินการจัดทำรายงานความก้าวหน้า
การทบทวน
การทบทวนบทบาทหน้าที่ โครงสร้าง และการดำเนินงานของคณะกรรมการจะดำเนินการเป็นระยะตามความเหมาะสมจำนวนกรรมการจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม โดยการปรึกษาหารือร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรม
หน้าที่ของฝ่ายเลขานุการ บทบาทหน้าที่ของเลขานุการ คือ การสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน เลขานุการจะอำนวยการเพื่อให้คณะกรรมการสามารถดำเนินงานในการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคน
ทีมเลขานุการ ประกอบด้วยบุคลากรไม่น้อยกว่า 3 คน
• หัวหน้าเลขานุการ เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน
• ผู้ช่วยเลขา 2 คน
ภายใต้การสั่งการของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน ทีมเลขานุการจะต้องปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
ก. สนับสนุนคณะกรรมการในการจัดทำข้อมูลการคาดการณ์อุตสาหกรรม
ข. ให้ข้อเสนอแนะในการทบทวนมาตรฐานอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ค. ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานฝึกอบรม/สถานศึกษาที่เกี่ยวกับมาตรฐานอาชีพและกระบวนการประเมินเพื่อการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะให้เป็นไปตามมาตรฐานอาชีพ
ง. ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มคนในอาชีพในการพัฒนากำลังคนทีมเลขานุการอยู่ภายใต้คำสั่งของสถาบัน และสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากสถาบันในระยะแรก