ข้อมูลข่าวสาร
ผอ.สคช.เผยผู้ที่ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพของสคช. ต้องมีสมรรถนะสีเขียว Green Competency ภายใต้แนวคิด “การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกอาชีพต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” ในปี 2025 และ Net Zero ในปี 2065-2070
ผอ.สคช.เผยผู้ที่ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพของสคช. ต้องมีสมรรถนะสีเขียว Green Competency ภายใต้แนวคิด “การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกอาชีพต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” ในปี 2025 และ Net Zero ในปี 2065-2070
นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on Green Workforce Development Roadmap เพื่อจัดทำแผนงานยกระดับแนวทางของระบบการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา (TVET : Technical Vocational Education and Training) พัฒนาทักษะสีเขียว ณ กะช่อง ฮิลล์ รีสอร์ท จังหวัดตรัง โดยมีหน่วยงานต่างๆ จากประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา , กระทรวงศึกษาธิการ , สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ขณะที่ก็มีหน่วยงานและองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม ได้แก่ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) , UNESCO-UNEVOC , ศูนย์ยุโรปเพื่อการพัฒนาอาชีวศึกษา (CEDEFOP) , มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ , สมาคมเยอรมันเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (GIZ) , ผู้เชี่ยวชาญ TVET นานาชาติ , มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย ,
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมแรงงานไทยให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสีเขียว เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการนัดแรก และจะตามมาด้วยการให้คำปรึกษาและการเยี่ยมชมการเรียนรู้ เพื่อแจ้งการพัฒนาแผนงานการพัฒนาแรงงานสีเขียวผ่าน TVET ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่าทุกๆ มาตรฐานอาชีพของสถาบันจะมีสมรรถนะที่ระบุว่า ทุกคนที่จะได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะสีเขียว (Green Skills) พร้อมนำเสนอต่อที่ประชุมในรายละเอียดมาตรฐานอาชีพและหน่วยสมรรถนะในกลุ่มที่เป็น Green Job ที่สถาบันดำเนินการแล้วทั้ง กลุ่มพลังงานทดแทน (โซลาร์เซลล์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวภาพ พลังงานขยะ) และ กลุ่มมาตรฐานอาชีพที่มีสมรรถนะสีเขียว Green Competency เช่น เกษตร สิ่งแวดล้อม ยานยนต์ไฟฟ้า อนุรักษ์ศิลปหัตกรรมและงานพื้นบ้าน การจัดการพื้นที่สีเขียว ขนส่ง ไบโอพลาสติก และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น สถาบันได้วางแผนการดำเนินงานให้ทุกอาชีพมีความรู้ / ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยขับเคลื่อนผ่านมาตรฐานอาชีพให้มีสมรรถนะ Green Competency อย่างไรก็ตาม สถาบันยังคงมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานอาชีพให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบาย เพื่อพัฒนากำลังคนซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมาย แผนหลักของประเทศไทยและนโยบายที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับการดูแลทางด้านสิ่งแวดล้อม
11.07.2567