มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ

คณะกรรมการ ICB

ต.ค.

อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

03.10.2566
6,315 View

คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

ภาพรวม

การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้าน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Industry Competency Board : Robotics and Automation System) จะเป็นกลไกในการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและเทคโนโลยี เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าบุคลากรในอาชีพมีสมรรถนะที่เป็นไปตามความต้องการของอุตสาหกรรมเพื่อนำไปสู่ผลผลิตที่มีศักยภาพสูง เน้นการพัฒนาคนในภาคเกษตรให้เข้มแข็ง มีการให้ความรู้และทักษะที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางด้านเศรษฐกิจและแข่งขันได้ในระดับสากล วัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนทำขึ้นเพื่อสร้างกลไกให้กับคนในอาชีพด้าน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สามารถกำกับภาพรวมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนากำลังคนเสนอต่อรัฐบาลตลอดจนเห็นชอบมาตรฐานการฝึกอบรมในสาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรให้เข้มแข็งและเป็นเกษตรกรยุคใหม่เพื่ออนาคตประเทศไทย ซึ่งได้รับการรับรองและการยอมรับจากภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรม ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา

 

คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนด้าน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีบทบาทและหนน้าที่ ดังต่อไปนี้

  • คาดการณ์และวิเคราะห์แนวโน้มของอุตสาหกรรม ความต้องการกำลังคน สมรรถนะที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจใน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อเสนอต่อรัฐบาล
  • ผลักดันให้มีหลักสูตรหรือชุดฝึกอบรมที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 
  • แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนากำลังคนด้าน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ขอบเขตการดำเนินงานคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้าน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มีดังนี้

เป้าหมายที่ 1

คณะกรรมการฯ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของภาคอุตสาหกรรมในการกำหนดสมรรถนะของบุคลากรที่อุตสาหกรรมต้องการ

เป้าหมายที่ 2

คณะกรรมการฯ  เสนอการพัฒนามาตรฐานอาชีพที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน การฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อการพัฒนากำลังคนของอุตสาหกรรมไปในทิศทางเดียวกัน

เป้าหมายที่ 3

คณะกรรมการฯ ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบมาตรฐานอาชีพ และเป็นผู้เชี่ยวชาญของภาคอุตสาหกรรมในการให้คำแนะนำในการพัฒนามาตรฐานต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การอนุมัติมาตรฐานอาชีพจะเป็นบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ