ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวสารและกิจกรรม

ส.ค.

สคช. ย้ำกำลังแรงงานคุณภาพ ทักษะสูงและนวัตกร ไม่ได้จำกัดแค่สถานศึกษา พร้อมชวนสร้างค่านิยมการยอมรับกำลังแรงงานด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ

05.08.2565
6,052 View
สคช. ย้ำกำลังแรงงานคุณภาพ ทักษะสูงและนวัตกร ไม่ได้จำกัดแค่สถานศึกษา พร้อมชวนสร้างค่านิยมการยอมรับกำลังแรงงานด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ
นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมเวทีเสวนา การพัฒนานักปฏิบัติขั้นสูงและนวัตกร เพื่อการพัฒนากำลังคนของประเทศ ในงานแสดงวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และผลงานสำคัญของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (RMUT EXPO) สำหรับเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนบทบาทของกลุ่มมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมกับการยกระดับและพลิกโฉมอุตสาหกรรม สังคม และชุมชนท้องถิ่น โดยมี รศ.ดร สมหมาย ผิวสะอาด ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดร. อำพล อาภาธนากร ผู้จัดการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมการเสวนา
นางสาววรชนาธิป กล่าวบนเวทีเสวนาว่า นักปฏิบัติขั้นสูง และนวัตกร ซึ่งถือเป็นบุคลากรที่มีทักษะสูง และมีศักยภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่จำกัดอยู่แค่ในสถานศึกษาเท่านั้น แต่ยังแฝงตัวอยู่ในชุมชนอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ ซึ่งยังไม่ได้เป็นที่รับรู้แพร่หลายเหมือนกับผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความก้าวหน้าให้กับคนเหล่านี้ ให้ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าคนๆ นั้นสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีมาตรฐานที่สากลให้การยอมรับ อาทิ การเข้าไปให้การรับรองบุคลากร ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อย่าง บริษัท Auto Alliance ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์ Ford และ Mazda ซึ่งมีกลุ่มพนักงานฝ่าย Production ที่ได้สั่งสมประสบการณ์การทำงาน และนำมาพัฒนาปรับปรุงไลน์การผลิตรถยนต์ รวมถึงออกแบบนวัตกรรมต่างๆ เช่น ไลน์การตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ Quality Check ที่มีการนำเทคโนโลยี Image Processing และ AI มาช่วยทำการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ก่อนออกจากโรงงาน โดยลดการใช้แรงงานผู้ตรวจสอบคุณภาพรถ และยังเป็นต้นแบบที่นำไปขยายผลใช้ทั่วโลก ซึ่งถือเป็นนักนวัตกร ที่อยู่ในสถานประกอบการ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่แท้จริง สามารถได้รับคุณวุฒิวิชาชีพในระดับ 8 ที่ถือเป็นระดับที่สูงสุดในอาชีพ เทียบเท่าได้กับคุณวุฒิทางการศึกษาในระดับปริญญาเอก
ไม่เพียงแต่บุคลากรในภาคของอุตสาหกรรมการผลิตเท่านั้น ที่มีการพัฒนาในเรื่องของนวัตกรรม สคช. ยังให้ความสำคัญกับในมิติของคนทำมาหากิน ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา แต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ อาทิ เกษตรกร ในจังหวัดร้อยเอ็ดกว่า 500 คน ที่มีวุฒิทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ได้มีโอกาสต่อยอดทางการศึกษาระดับสูง แต่เขาเหล่านั้นเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการปลูกข้าว ทั้งเรื่องการศึกษา วิเคราะห์ สร้างผลผลิตในพื้นที่ให้มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นผู้พัฒนานวัตกรรม สร้างให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีเกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งคุณวุฒิวิชาชีพที่มอบให้กลุ่มเกษตรกรจะเป็นเครื่องวัดระดับความรู้ ความสามารถให้กับพวกเขา ที่มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเคียงได้กับคุณวุฒิทางการศึกษา ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นเกษตรกร ทั้งนี้ขอเชิญชวนมาร่วมกันสร้างค่านิยมใหม่ เพื่อให้เกิดการยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อสร้างโอกาสความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพให้กับคนไทยด้วยกัน
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ