ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวสารและกิจกรรม

ก.ย.

สคช. คิกออฟ จัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ ครั้งแรกของประเทศ ตอบโจทย์การนำเข้าแรงงานอย่างเป็นระบบ

27.09.2565
15,312 View
สคช. คิกออฟ จัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ ครั้งแรกของประเทศ ตอบโจทย์การนำเข้าแรงงานอย่างเป็นระบบ
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. จัดประชุมเปิดตัวโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักกฎหมาย รวมถึงมีจรรยาบรรณในการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของแรงงานข้ามชาติ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) โดยมี นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นางสาววรชนาธิป จันทนู นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการฯ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันฯ นางสาวนฤมล พูลทรัพย์ ที่ปรึกษาประธานสถาบันฯ และตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ปรึกษา สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการแรงงาน สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม และตัวแทนบริษัทนำเข้าแรงงานข้ามชาติ เข้าร่วมประชุม
นายสุรพล กล่าวว่า จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตรกรรม ประมงและแรงงานก่อสร้าง และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงต้องมีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติ ส่งผลให้ไทยติดอันดับที่ 17 ของโลก และถือเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติมากที่สุด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ และการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีสถานภาพที่ผิดกฎหมาย ที่อาจไม่สามารถเข้าถึงกลไกคุ้มครองทางสังคมและสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้ ดังนั้น การจัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ จะทำให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ที่อยู่ในอาชีพ ได้เข้าใจถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมถึงการป้องกันไม่ให้แรงงาน ต้องตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบและแสวงประโยชน์และปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
Mr. Maximilian Pottler Head of Labour Mobility and Social Inclusion, IOM Thailand กล่าวว่ารู้สึกยินดีที่ทุกหน่วยงานด้านแรงงาน ให้ความสำคัญกับมาตรฐานอาชีพสรรหาแรงงานข้ามชาติ เพราะบุคลากรเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการนำเข้าแรงงานอย่างมีจริยธรรม เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานอาชีพดังกล่าว จะมีความหมายก็ต่อเมื่อทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
นอกจากนี้ บนเวทีเสวนาบทบาทของผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติและการส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ โดยมี นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ, นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน, นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร, นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย, นางสาวณัชภัทรกานต์ โชติศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการแรงงาน และนางสาวบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิชาการสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม ร่วมเป็นวิทยากร ก็มีความคิดเห็นที่หลากหลาย ทั้งจากภาครัฐ ตัวแทนนายจ้าง และภาคประชาสังคม ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นนิมิตหมายที่ดี ในการเริ่มต้นจัดทำมาตรฐานอาชีพดังกล่าว ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีการจัดทำให้สอดคล้องกับกฎหมายที่จะมากำกับดูแลการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่จะต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเห็นอกเห็นใจเกี่ยวกับการทำงานของแรงงานข้ามชาติอีกด้วย
จริยธรรมและคุณธรรม ที่ต้องการ ความรู้ความสามรรถ และความเชี่ยวชาญในทุกมิติความแม่นยำในการนำเข้า เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้แรงงานข้ามชาติ รับผิดชอบต่อสังคม บนจ. มีหลายส่วน ก่อนจะได้มาตรฐานวิชาชีพจะต้องมีความรู้ความสามารถในทุกมิติ ดูแลในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ได้กล่าวถึงประเด็นการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติ การจัดทำมาตรฐานดังกล่าว ไม่เพียงแต่กฎหมายที่จะมากำกับดูแลการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่จะต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรม ความเห็นอกเห็นใจเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติด้วย
ตระหนักและทำเรื่องพี่น้องแรงงานข้ามชาติผ่าน นายจ้าง และผู้จัดหาแรงงานข้ามชาติ
นางสาวจุลลดา กล่าวว่า สคช. มีความต้องการส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติ ได้มีโอกาสพัฒนาตัวเอง โดยเริ่มจากอาชีพพื้นฐาน เช่น อาชีพแม่บ้าน อาชีพช่างก่ออิฐ และช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อให้แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้รับการรับรองจากระบบคุณวุฒิวิชาชีพมาโดยตลอด ไม่แต่สร้างความภาคภูมิใจให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวทั้งในประเทศไทย และสามารถนำไปใช้ประกอบการทำงาน ภายหลังกลับไปยังภูมิลำเนาได้ ทั้งนี้ สอดคล้องกับแนวปฏิบัติและมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานข้ามชาติถูกเอารัดเอาเปรียบ พร้อมได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การประชุมครั้งนี้จะได้รับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปจุดเริ่มต้นของการจ้างงานที่มีคุณค่า ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตและยั่งยืน
ข่าวอื่นที่น่าสนใจ