ข่าวประชาสัมพันธ์

  • สคช. ลุยตลาดในพื้นที่ EEC มอบป้ายการันตีมืออาชีพผู้ประกอบอาหาร Street Food หนุน Soft Power

    01.07.2567
    753 View

    สคช. ลุยตลาดในพื้นที่ EEC มอบป้ายการันตีมืออาชีพผู้ประกอบอาหาร Street Food หนุน Soft Power นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และ นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบัน พร้อมด้วย ทีมเชฟ จากครัวการบินไทย นำโดย เชฟเปี๊ยก วัชรพงศ์ เมฆผึ้ง และทีมเชฟจากสมาพันธ์เชฟประเทศไทย นำโดยเชฟเสาวกิจ ปรีเปรม ลงพื้นที่ประเมินสมรรถนะผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี ที่ตลาดนัดบางน้ำเปรี้ยว , ตลาดทรัพย์สิน (ท่าไข่) , ตลาดโต้รุ่งบางคล้า และได้มอบป้ายมืออาชีพ ให้กับผู้ที่ผ่านการประเมิน ณ ตลาดน้ำบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 200 คน นางสาวจุลลดา กล่าวว่า เสน่ห์ของอาหารสตรีทฟู้ด เป็น 1 ใน Soft Power ที่ขึ้นชื่อของไทย การเข้ามาให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จึงเป็นการยกระดับให้กับผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี ที่การันตีว่าสามารถประกอบอาหาร ถูกสุขลักษณะ มีมาตรฐานตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การปรุง ไปจนถึงการเก็บล้างอุปกรณ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็นหมุดหมายแรก ในพื้นที่ EEC ที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพนำร่องการันตีผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถีมืออาชีพ โดยหลังจากนี้จะมีการขยายผลการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพไปยังอาชีพอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจและกระตุ้นการท่องเที่ยว หนุนนโยบาย Soft power ของรัฐบาล ขณะเดียวกัน ทีมสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพพร้อมเชฟมืออาชีพ ยังได้ลงพื้นที่ประเมินผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี ณ ตลาดท้ายรถนาคา จ.ภูเก็ต เป็นครั้งที่ 2 มีพ่อค้าแม่ค้าร่วมเข้ารับการประเมิน 56 คน ทั้งนี้ ผู้ที่ประกอบอาชีพสตรีทฟู้ด หากสนใจเข้ารับการประเมินสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) โทร.063-373-3922

  • สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมในงาน THACCA SPLASH - Soft Power Forum 2024 ชูศักยภาพคนไทยด้วยพื้นฐานทางวัฒนธรรมสู่เวทีนานาชาติ

    28.06.2567
    945 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมในงาน THACCA SPLASH - Soft Power Forum 2024 ชูศักยภาพคนไทยด้วยพื้นฐานทางวัฒนธรรมสู่เวทีนานาชาติ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมในพิธีเปิดงาน THACCA SPLASH - Soft Power Forum 2024 โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานพิธีเปิดงาน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขณะเดียวกันยังมี พร้อมนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง นายเศรษฐา ระบุว่า เป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลที่จะสร้างเวทีการรวมพลังของทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเรือธงของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากความตั้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศด้วยการผลักดันยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ให้เป็นอุตสาหกรรมที่คนไทยทุกคนมีส่วนร่วมได้ ผ่านพื้นฐานทางวัฒนธรรม โดยรัฐบาลมุ่งพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มจากพัฒนาคนผ่านโครงการ 1 ครอบครัว 1 SoftPower หรือ OFOS กลางน้ำก็จะมีการออกกฎหมายตั้งหน่วยงาน THACCA ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ทั้ง 11 ด้าน มีเป้าหมายในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ขั้นปลายน้ำ THACCA ก็จะเป็นผู้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน ประสานกับต่างประเทศ เพื่อนำ Soft Power ของไทย ไปเผยแพร่ในตลาดให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจุดประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ มุ่งปักหมุดใน 3 สร้าง คือ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างเวทีแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติ และสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง รวมถึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม Soft Power ของไทยผ่านการเรียนรู้ case study ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้เป็นส่วนหนึ่งร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ OFOS เพื่อบ่มเพาะกำลังคนในอุตสาหกรรม ยกระดับเป็นแรงงานทักษะสูง และนำไปสู่การรับคุณวุฒิวิชาชีพผ่านโครงการด้วย

  • สคช.ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพ (Thailand Zero Dropout)

    28.06.2567
    903 View

    นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นผู้แทน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพ (Thailand Zero Dropout) ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย , กระทรวงศึกษาธิการ ,กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม , กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กระทรวงสาธารณสุข , กระทรวงแรงงาน , กระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ณ หอประชุมคุรุสภา โดยมีพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกล่าวมอบนโยบายและร่วมเป็นสักขีพยาน โดยสถาบันจะร่วม ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาหรือเด็กตกหล่น ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ หรือการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นในรูปแบบอื่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้ ตลอดจนเข้าถึงสิทธิสวัสดิการ และระบบคุ้มครองทางสังคมในทุกมิติ

  • สคช. ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ครบรอบ 92 ปี

    28.06.2567
    808 View

    สคช. ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ครบรอบ 92 ปี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 92 ในโอกาสนี้ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้เป็นตัวแทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. เข้าร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ครบรอบ 92 ปี ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

  • สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6/2567

    28.06.2567
    789 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6/2567 โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม ซึ่งได้มีการรายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ OFOS ซึ่งได้มีการ Workshop ไปเมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตร OFOS ของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ทั้ง 11 ด้าน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการภาคเอกชน นำไปสู่การจับคู่งาน หรือ Job Matching ได้ รวมถึงมีแนวทางการพัฒนามาตรฐานหลักสูตรและระบบซอฟต์พาวเวอร์คลังหน่วยกิต (National Soft Power Credit Bank) ในการสร้างหลักสูตร OFOS ที่มีคุณภาพต่อไป ซึ่งจะเปิดลงทะเบียนครั้งแรกในงาน THACCA SPLASH วันที่ 28 มิ.ย.นี้ ในที่ประชุมยังได้รายงานความพร้อมการจัดงาน THACCA SPLASH : Soft Power Forum งานฟอรัมระดับนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ครั้งแรกของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 28 – 30 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นงานที่จะนำเสนอซอฟต์พาวเวอร์ระดับนานาชาติที่รวบรวมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ 11 สาขา อาทิ เฟสติวัล, ท่องเที่ยว, อาหาร, ออกแบบ, ศิลปะ, ภาพยนตร์, เพลง, หนังสือ, เกม, แฟชั่น, และกีฬา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยภายในงานได้จัดเตรียมหลากหลายโซนให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถเข้าชมและร่วมสนุกไปกับนิทรรศการ เวที และพื้นที่กิจกรรมต่าง ๆ เพื่ออัปเดตเทรนด์ เรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมส่งเสริมให้อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทยก้าวสู่ระดับโลก

  • สคช.ร่วมพิธีเปิดโครงการ “Phenix” จุดหมายปลายทางด้านอาหารระดับโลก

    28.06.2567
    758 View

    นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “Phenix” จุดหมายปลายทางด้านอาหารระดับโลก โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร ในคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เข้าร่วมในงาน นายกรัฐมนตรี ระบุว่าโครงการ “Phenix” จะเป็นศูนย์กลางด้านอาหารครบวงจรระดับโลก ที่รวบรวมผู้ประกอบการ และผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอาหารจากทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน เป็นหนึ่งใน Platform สำคัญ ที่ทำให้เราต่อยอดการเป็นศูนย์กลางอาหารของภูมิภาค ตามวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาnหาร ตลอดจนเพิ่มโอกาสทางการค้าของไทยทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศ

  • สคช. ร่วม มทร.ตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถ และสมาคมการศึกษานอกเอกชนนอกระบบ (ประเทศไทย) เปิดหลักสูตรปริญญาตรี การจัดการนวัตกรรมการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย นำคุณวุฒิวิชาชีพ เทียบวุฒิทางการศึกษา นำร่องแห่งแรก

    26.06.2567
    787 View

    สคช. ร่วม มทร.ตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถ และสมาคมการศึกษานอกเอกชนนอกระบบ (ประเทศไทย) เปิดหลักสูตรปริญญาตรี การจัดการนวัตกรรมการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย นำคุณวุฒิวิชาชีพ เทียบวุฒิทางการศึกษา นำร่องแห่งแรก นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมงานเปิดหลักสูตรและปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ในโครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต การจัดการนวัตกรรมการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย ยกระดับวิชาชีพ สำหรับครูผู้สอนเสริมสวย ช่างมืออาชีพ ผู้ประกอบการ ทางด้านอาชีพเสริมสวยและความงาม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมการศึกษานอกเอกชนนอกระบบ (ประเทศไทย) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนาท โอกาสนี้ รองผู้อำนวยการสถาบัน กล่าวถึงการต่อยอดจากคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าสู่โลกของการศึกษาว่า หลักสูตรนี้เป็นโครงการนำร่องแห่งแรก ที่ผู้เรียนคือผู้ที่ทำงานอยู่ในแวดวงอาชีพเสริมสวย และได้รับคุณวุฒิวิชาชีพจากสถาบัน ซึ่งมีความต้องการจะได้รับวุฒิทางการศึกษา เมื่อสมัครเรียนในหลักสูตรนี้ จะใช้เวลาเรียนอีกเพียง 1 ปีเศษ เมื่อจบการศึกษา ก็จะได้รับวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี เรียกว่าเป็นโครงการที่ลดระยะเวลาในการเรียน ผ่านประสบการณ์การทำงาน ด้วยการนำคุณวุฒิวิชาชีพมาเป็นใบเบิกทางนั่นเอง

  • สคช.ร่วมสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ลงพื้นที่วังช้างอยุธยา แลเพนียด ประเมินสมรรถนะฯ อาชีพควาญช้าง วันแรกเสียงตอบรับดี พร้อมร่วมความยินดีกับวังช้างแลเพนียด ที่ ช้าง "พังจามจุรี" ตกลูกแฝด (เพศผู้-เมีย) คู่แรกของโลก

    26.06.2567
    729 View

    สคช.ร่วมสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ลงพื้นที่วังช้างอยุธยา แลเพนียด ประเมินสมรรถนะฯ อาชีพควาญช้าง วันแรกเสียงตอบรับดี พร้อมร่วมความยินดีกับวังช้างแลเพนียด ที่ ช้าง "พังจามจุรี" ตกลูกแฝด (เพศผู้-เมีย) คู่แรกของโลก นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวถึง การประเมินสมรรถนะฯ อาชีพควาญช้างที่สัญจรมาทำการประเมิน ณ วังช้าง แลเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า สถาบันต้องการที่จะยกระดับควาญช้างที่มีทักษะและประสบการณ์ในอาชีพอยู่แล้วแต่ยังขาดการรับรอง ให้มีความมั่นใจ และสร้างความภาคภูมิใจในอาชีพ และเป็นการการันตีว่า ควาญช้างในระดับเริ่มต้น คือระดับ 2 เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะ ในการทำความสะอาดช้าง สามารถตรวจสภาพทั่วไปของช้าง ผิวหนัง และร่องรอยบาดแผล หรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช้าง มีทักษะในการจัดหา จัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารของช้าง การเก็บรักษาอาหารช้าง สามารถสังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้างได้ รวมทั้งสามารถดูแลที่อยู่อาศัยของช้าง สามารถเลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง เลือกสภาพพื้นที่ทำเลในการผูกล่ามช้างได้อย่างปลอดภัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งต่อตัวช้างและมนุษย์ด้วย ด้าน นายสัตวแพทย์ ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ ซึ่งร่วมเป็นเจ้าหน้าที่สอบ ในการประเมินครั้งนี้ กล่าวว่า สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เล็งที่จะขยายผลการอบรมมาตรฐานควาญช้างเพื่อเพิ่มการปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่สอบให้มากขึ้น โดยจะนำร่องในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อที่จะให้เกิดการขับเคลื่อนการประเมินสมรรถนะฯ อาชีพควาญช้างได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีควาญช้างทั่วประเทศ กว่า 4,000 คน ที่มีทักษะในการดูแลช้างอยู่แล้ว ซึ่งหากผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ก็จะยืนยันความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ที่จะเข้ามาสัมผัสกับช้างมากยิ่งขึ้น และโอกาสเดียวกันนี้ ผู้อำนวยการสถาบัน ได้ร่วมแสดงความยินดีกับนายลายทองเหรียญ มีพันธุ์ เจ้าของวังช้างอยุธยาแลเพนียด ที่ พังจามจุรี ตกลูกแฝดเพศผู้และเพศเมีย เมื่อวันที่ 7 มิถุยายน ที่ผ่านมา ถือเป็นคู่แรกของโลกที่เป็นแฝดต่างเพศ

  • นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หารือร่วมกับนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถึงแนวทางการพัฒนาคนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

    25.06.2567
    703 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หารือร่วมกับนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถึงแนวทางการพัฒนาคนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีหลักสูตรรองรับการเรียนรู้ พัฒนาทักษะทางด้านอาชีพและมีองค์กรที่มีหน้าที่ให้บริการฝึกอบรมพร้อมให้บริการทุกคน ทุกอาชีพอยู่แล้ว รวมถึงมี อีคูปอง สนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ต้องการ Up skill Re skill หรือสร้าง New skill เพื่อการพัฒนาตนเอง ผ่านระบบ EWE Platform ซึ่งกรุงเทพมหานครมีความสนใจ และมีแนวคิดให้การสนับสนุนการพัฒนาคนในพื้นที่กรุงเทพมหานครในรูปแบบอีคูปอง สนับสนุนการเรียนรู้ มุ่งสู่การมีงานทำ สอดรับกับแนวคิดการพัฒนาระบบแนะแนวผู้เรียนสู่การศึกษาเพื่ออาชีพและการมีงาน ที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพกำลังดำเนินการ เพื่อให้ทุกคนสามารถประเมินทักษะ ความรู้ ค้นหาตัวเอง และอาชีพที่เหมาะสมกับตัวตนได้อย่างง่ายดายผ่าน ECG Education and Career Guidance เบื้องต้นนายศานนท์ได้ให้ความสนใจการพัฒนาทักษะในด้านภาษาอังกฤษ รวมถึงทักษะทางด้านดิจิตัล ซึ่งเป็นทักษะจำเป็นในการต่อยอดในอาชีพ ซึ่งจะได้มีการหารือในรายละเอียดร่วมกันต่อไป

  • สคช.หนุนครูอาชีวศึกษากลุ่มประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง นำมาตรฐานอาชีพไปเชื่อมโยงหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อการันตีความสามารถให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

    24.06.2567
    590 View

    สคช.หนุนครูอาชีวศึกษากลุ่มประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง นำมาตรฐานอาชีพไปเชื่อมโยงหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อการันตีความสามารถให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ บรรยาย ภารกิจและการดำเนินงานของสถาบัน ในงานสัมมนา “การพัฒนาทักษะการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา(TVET) ให้ทันสมัย รับมือหลังโควิด 19” โดยมีผู้เข้าร่วม เป็น ครู อาจารย์ ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง และเทคโนโลยีโลจิสติกส์ จาก 5 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และไทย ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศในกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ซึ่งได้รับความสนใจจากทุกประเทศในการที่จะนำมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ ของสถาบันไปเชื่อมกับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษาของแต่ละประเทศ สามารถทำงานได้อย่างตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งมีคุณวัลภา สถิรชวาล ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย ในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) ร่วมในการขับเคลื่อนและผลักดันการนำมาตรฐานอาชีพไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และผลักดันให้นำไปใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการ

  • สคช. ร่วมวงพัฒนาหลักสูตร OFOS ก่อนเปิดลงทะเบียนในงาน THACCA SPLSH ปลายเดือนนี้

    21.06.2567
    642 View

    สคช. ร่วมวงพัฒนาหลักสูตร OFOS ก่อนเปิดลงทะเบียนในงาน THACCA SPLSH ปลายเดือนนี้ นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะ ร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS Workshop) โดยมีนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการสัมมนา พร้อมชี้ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร OFOS ที่จะเปลี่ยนประเทศไทย เพราะการจะทำให้ Soft Power เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ต้องเริ่มจากต้นน้ำของ Soft Power คือคน เมื่อประเทศไทยมีคนเก่ง สร้างสรรค์ ทักษะฝีมือระดับสูง ก็จะมีโอกาสนำพาขับเคลื่อน Soft Power ให้เกิดผลเร็จได้ โดยการสัมมนาครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญในการหารือ และพัฒนาหลักสูตร OFOS ของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ทั้ง 11 สาขา ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการภาคเอกชน นำไปสู่การจับคู่งาน การมีงานทำ และสร้างรายได้ รวมถึงเป็นการยืนยันความมั่นใจร่วมกันสำหรับหลักสูตร OFOS ที่จะเปิดลงทะเบียนในงาน THACCA SPLASH และเพื่อแนะนำแนวทางการพัฒนามาตรฐานหลักสูตร และระบบซอฟต์พาวเวอร์คลังหน่วยกิต (National Soft Power Credit Bank) มุ่งสู่การสร้างหลักสูตร OFOS ที่มีคุณภาพสูงต่อไป

  • สคช. หนุน กปน.ยกระดับบุคลากรในสาขาธุรกิจประปาให้เป็นมืออาชีพ ตอกย้ำความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค

    20.06.2567
    571 View

    สคช. หนุน กปน.ยกระดับบุคลากรในสาขาธุรกิจประปาให้เป็นมืออาชีพ ตอกย้ำความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะ เข้าพบนายรักษ์ศักดิ์ สุริยหาร รองผู้ว่าการ (วิศวกรรม) รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการประปานครหลวง เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประปา ซึ่งการประปานครหลวงได้มีส่วนร่วมในการจัดทำและพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ สาขาธุรกิจประปา รวมทั้งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและมีการจัดประเมินสมรรถนะของบุคคลมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ สถาบันเล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของการประปานครหลวง ในการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ และให้มีทักษะตามมาตรฐานอาชีพ จึงเตรียมขยายขอบข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างกันให้มากขึ้นในการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม ในสาขาธุรกิจประปาต่อไป

  • สคช.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “บทบาทของเจ้าหน้าที่สอบในการพิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตรตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ”ให้กับเจ้าหน้าที่สอบสังกัดสถาบัน

    19.06.2567
    610 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “บทบาทของเจ้าหน้าที่สอบในการพิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตรตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ”ให้กับเจ้าหน้าที่สอบสังกัดสถาบัน กว่า 50 คน โดยมี นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และมีนายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบัน ร่วมให้การต้อนรับและเปิดการฝึกอบรม สำหรับเจ้าหน้าที่สอบ มีบทบาทสำคัญในการร่วมตรวจประเมินองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรมในแต่ละสาขาวิชาชีพ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพนั้นๆ การฝึกอบรมครั้งนี้ยังได้มีการทำ Workshop การพิจารณาความสอดคล้องตามสถานการณ์ตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการนำเทคนิคสู่การปฏิบัติงานจริงให้กับเจ้าหน้าที่สอบด้วย

  • สคช.สร้างเครือข่ายพัฒนาบุคลากรสายสิ่งแวดล้อม ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และระดับชุมชน ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    18.06.2567
    603 View

    สคช.สร้างเครือข่ายพัฒนาบุคลากรสายสิ่งแวดล้อม ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และระดับชุมชน ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะ เข้าพบหารือ รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) EXCELLENCE ON HAZARDOUS SUBSTANCES MANAGEMENT (HSM) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนการนำมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย สาขาการจัดการของเสียอุตสาหกรรม ไปใช้พัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม ให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกันวางแนวทางการสนับสนุน และส่งเสริมให้บุคลากรในชุมชนทั่วประเทศ เข้าถึงการพัฒนาทักษะด้านการคัดแยกขยะ เพื่อการจัดการของเสียในชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งยังสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้อีกด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ที่พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นเรื่องการจัดการสารและของเสียอันตรายผ่านกลุ่มวิจัย (Research Cluster) ด้านต่างๆ พร้อมทั้งผลิตบัณฑิตระดับสูง และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และให้บริการทางวิชาการด้านต่างๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำแก่ภาครัฐและภาคการผลิต มีความร่วมมือกับสถาบันในการจัดทำมาตรฐานอาชีพมาตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันสถาบันมีมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย จำนวน 3 สาขา ประกอบด้วย สาขาการจัดการของเสียอุตสาหกรรม , สาขาการจัดการของเสียชุมชน และ สาขาการติดตามและประเมินผลสิ่งแวดล้อม รวม 19 อาชีพ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tpqi-net.tpqi.go.th/industrials-group

  • สคช.ร่วมงานแถลงวิสัยทัศน์ “เตรียมทัพกำลังคน สร้างอุตสาหกรรมอนาคต” IGNITE THAILAND : Future Workforce for Future Industry

    17.06.2567
    585 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าร่วมงานแถลงวิสัยทัศน์ “เตรียมทัพกำลังคน สร้างอุตสาหกรรมอนาคต” IGNITE THAILAND : Future Workforce for Future Industry โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน และมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงแนวทาง “การสร้างกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” โดยมีคณะรัฐมนตรี ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยนายอนุทิน กล่าวว่า จากการที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไปเจรจาการค้า การลงทุน กับบริษัทต่างๆทั่วโลก นั้น เป็นการเชื้อเชิญอุตสาหกรรมใหม่ๆ ให้เข้ามาลงทุนซึ่งไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นการพัฒนาที่สำคัญ ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม เศรษฐกิจของประเทศให้ไปสู่อุตสาหกรรมไฮเทค (High Tech) ที่มีมูลค่าสูงขึ้น และนวัตกรรมต่างๆ กำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ชั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ประเทศไทยเรามีพื้นฐานอยู่ในทุกๆ ด้าน และพร้อมที่จะต่อยอด ซึ่งนอกจากความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่รัฐบาลเร่งสร้างและเชื้อเชิญการลงทุนต่างๆ แล้ว การพัฒนาและเพิ่มทักษะของคน (Upskill / Reskill) ก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น จึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนพัฒนาทักษะตนเอง เตรียมความพร้อมในการทำงานในอุตสาหกรรมไฮเทค และช่วยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมไปด้วยกัน ด้าน น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า กระทรวง อว. มีแผนงานในการสร้างและพัฒนากำลังคนที่ครอบคลุมในทุกระดับ ตั้งแต่กำลังคนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม นักวิจัย รวมถึงการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี โท เอก โดยในระยะ 5 ปีข้างหน้าตั้งเป้าผลิตกำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงไว้ที่ 80,000 คน ด้าน EV 150,000 คน และด้าน AI 50,000 คน ปัจจุบัน ได้เริ่มดำเนินการผลิตกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โครงการที่เป็น Quick Win เห็นผลแล้ว 3 โครงการ ได้แก่ 1.การพัฒนาและเพิ่มทักษะ (Upskill/Reskill) เช่น โครงการ STEM PLUS หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับกำลังคนที่อยู่ในอุตสาหกรรม โดยมีแรงจูงใจให้บริษัทเอกชนที่ส่งบุคลากรมาเรียน สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีได้ 250% 2.โครงการ Coop+ หรือ สหกิจศึกษาพลัส ที่นำนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์มาพัฒนาทักษะเพิ่มเติมและฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรม หลังจบการศึกษาแล้วยังสามารถทำงานกับบริษัทได้ทันที 3.โครงการสหกิจศึกษาในต่างประเทศ โดยการส่งนักศึกษาไปฝึกงานในมหาวิทยาลัยหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านเซมิคอนดักเตอร์ ด้าน EV และด้าน AI ในต่างประเทศ เป็นต้น

  • สคช.เดินหน้ายกระดับบุคลากรในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

    13.06.2567
    582 View

    สคช.เดินหน้ายกระดับบุคลากรในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะ เข้าพบนายฮิโรชิ โอคุดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยโตเคน เทอร์โม จำกัด , นาย นาโอยูกิ มาซูอิ กรรมการ , ดร.นิพนธ์ ทวีจันทร์ รองกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอบชุบโลหะ และ รศ.สมนึก วัฒนศรียกุล นายกสมาคมการอบชุบทางความร้อนไทย เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรในสถานประกอบการให้ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ สาขาอบชุบโลหะด้วยความร้อน โดยผู้บริหารบริษัท ไทยโตเคน เทอร์โม จำกัด ให้ความสนใจที่จะร่วมผลักดันบุคลากรในโรงงานให้มีคุณวุฒิวิชาชีพ เนื่องจากกระบวนการอบชุบโลหะ ต้องใช้ความรู้และทักษะเฉพาะทาง และมีบริษัทโตเคน เทอร์โม เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด ที่ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรภายใน และให้บริการกับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการฝึกอบรมในสายงานอบชุบโลหะด้วย ดร.นิพนธ์ ยังได้นำเยี่ยมชม เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ และสายการผลิต พร้อมระบุว่าสนใจการเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม และองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในสาขาอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ สาขางานอบชุบโลหะด้วยความร้อน (Heat Treatment) และต้องการผลักดันให้พนักงานได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ ในอาชีพนักปฏิบัติการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน นักตรวจสอบในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน และนักจัดการในกระบวนการอบชุบโลหะด้วยความร้อน เพื่อการปรับค่าตอบแทน สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองต่อไป สำหรับบริษัท ไทยโตเคน เทอร์โม จำกัด เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ดำเนินธุรกิจให้บริการอบชุบโลหะ ชิ้นส่วนยานยนต์ (HEAT TREATMENT) ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 1,200 คน ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี