ข่าวประชาสัมพันธ์

  • สคช. -สวธ.-สมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ร่วมมือกันยกระดับบุคลากรด้านศิลปะ วัฒนธรรม และดนตรี ของไทยด้วยมาตรฐานอาชีพเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

    14.03.2565
    5,535 View

    สคช. -สวธ.-สมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ร่วมมือกันยกระดับบุคลากรด้านศิลปะ วัฒนธรรม และดนตรี ของไทยด้วยมาตรฐานอาชีพเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (14 มี.ค.65) ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพด้านดนตรี วงโยธวาทิต และมาร์ชชิ่งอาร์ท ร่วมกับนายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และนายสมเมธ ยุวะสุต นายกสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในการจัดทำมาตรฐานอาชีพด้านดนตรีฯ และนับเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะส่วนบุคคลทางด้านดนตรีในวงโยธวาทิต ทั้งผู้เล่น และผู้ตัดสินการประกวดหรือแข่งขันต่างๆ นายสุรพล กล่าวว่าทุกวันนี้กลุ่มคนด้านศิลปวัฒนธรรมไทยมีคนเก่ง มีความรู้ ความสามารถอยู่เป็นจำนวนมาก หลายคนเป็นระดับชั้นครู เป็นศิลปินแห่งชาติ แต่อาจไม่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถในระดับใด ไม่เคยมีใครมากำหนดมาตรฐาน หรือให้การรับรองความสามารถคนเหล่านี้มาก่อน ซึ่งมาตรฐานอาชีพจะเข้ามากำหนดกรอบระดับสมรรถนะต่างๆ ที่ชัดเจน ก็จะนำไปสู่การพัฒนาตัวเองได้ถูกทาง ไม่เสียเวลา และยังนำไปสู่การรับรองด้วยหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพ หรือประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ โดยในต่างประเทศให้การยอมรับระบบคุณวุฒิวิชาชีพว่าเป็นระบบที่เทียบเท่าคุณวุฒิการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว ในขณะที่ประเทศไทยสังคมต้องร่วมกันสร้างการยอมรับในระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปในทางเดียวกันก็จะเกิดประโยชน์แก่กำลังแรงงาน และเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศ ในวันเดียวกันนางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันฯ ยังได้ร่วมในการแถลงข่าวการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2022 (WAMSB World Championship 2022) โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการแถลงข่าว ย้ำว่าการจัดงานครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่เยาวชนไทยที่เล่นดนตรีสากล วงโยธวาทิต จะมีโอกาสได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับโลก ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม พัฒนาเยาวชน บุคลากร ในแวดวงศิลปวัฒนธรรมของไทยได้สร้างโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการแข่งขันในระดับนานาชาติ นายอิทธิพล ยังได้พูดคุยพร้อมฝากให้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ผลักดันให้เกิดการรับรองบุคลากรในแวดวงศิลปวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ วัฒธรรมท้องถิ่น และดนตรี เนื่องจากบุคลากรเหล่านี้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่ไม่เคยมีการรับรองด้วยมาตรฐานมาก่อน หาก สคช. เข้ามาให้การรับรองก็จะช่วยสร้างความภาคภูมิใจ และเป็นการยกระดับศิลปะ วัฒนธรรม และดนตรีของไทย ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล

  • สคช. - ปัญญาภิวัฒน์ เปิดเวทีถกมาตรฐานอาชีพสาขาปศุสัตว์ ดันผู้เลี้ยงสัตว์ 6 อาชีพนำร่องเป็นผู้เลี้ยงคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ

    08.03.2565
    8,221 View

    สคช. - ปัญญาภิวัฒน์ เปิดเวทีถกมาตรฐานอาชีพสาขาปศุสัตว์ ดันผู้เลี้ยงสัตว์ 6 อาชีพนำร่องเป็นผู้เลี้ยงคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ร่วมกับ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดเวทีสัมมนาออนไลน์ “การจัดทำร่างมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาปศุสัตว์” โดยมีนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมเปิดการสัมมนา หลังกระแสสังคมให้ความใส่ใจคุณภาพการทำปศุสัตว์มากขึ้น โดยเฉพาะสุกรที่ส่งผลกระทบต่อราคาในตลาด และผู้บริโภค นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า กระบวนการจัดทำมาตรฐานอาชีพด้านปศุสัตว์ เป็นการปรับตามแนวทางมาตรฐานสากล ISO/IEC17024 มาตรฐานการรับรองหน่วยรับรองบุคลากรโดยเฉพาะ เพื่อมุ่งหวังยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของประเทศด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย ที่ผลิตได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน มุ่งเป้าผลผลิตเป็นที่ยอมรับทั้งการส่งออกภายในและต่างประเทศ เนื่องจากคำว่ามาตรฐานเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้การยอมรับตรงกันโดยเฉพาะมาตรฐานที่เป็นการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐจะยิ่งเป็นการสร้างคุณค่า สร้างการยอมรับในความสามารถของเกษตรกรไทย ซึ่งการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาปศุสัตว์ มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรใน 6 อาชีพนำร่อง ได้แก่ อาชีพผู้เลี้ยงสุกร อาชีพผู้เลี้ยงไก่เนื้อ อาชีพผู้เลี้ยงไก่ไข่ อาชีพผู้เลี้ยงโคนม อาชีพผู้เลี้ยงโคเนื้อ และอาชีพผู้เลี้ยงแพะ โดยข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ระบุแนวโน้มการส่งออกเนื้อไก่ของไทยคาดการณ์ในปี 2565 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 อยู่ที่ 920,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 104,000 ล้านบาท ส่วนสุกรที่แม้จะเพิ่งมีกระแสข่าวโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ AFH แต่คาดการณ์ว่าจะยังคงมีความต้องการบริโภคเนื้อสุกรสูงขึ้น และจะส่งผลดีต่อการส่งออกเมื่อสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีหากผู้เลี้ยงสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีมาตรฐาน ไม่ว่าจะส่งผลดีต่อคุณภาพการผลิตแล้ว ก็จะยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกเนื้อสัตว์ด้วยตามหลักความปลอดภัยอาหาร หรือ Food Safety รวมไปถึงหลักสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health ในการส่งเสริมสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในประเทศ ด้าน ผศ.ดร.อนันต์ บุญปาน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันฯ ปัญญาภิวัฒน์ บอกว่า แนวทางการจัดทำมาตรฐานอาชีพสาขางานด้านปศุสัตว์ จะมีการรวบรวมข้อมูลจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมพัฒนางานด้านปศุสัตว์อย่างเป็นรูปธรรม แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายไทยแลนด์ 4.0 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2565) รวมถึงการศึกษามาตรฐานต่างประเทศทั้งออสเตรเลีย อินเดีย มาเลเซีย และนิวซีแลนด์ มาปรับใช้ในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ ซึ่งจะเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ เป็นที่ยอมรับทั้งในและระดับสากล และยังเป็นสร้างโอกาสทางการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้คาดว่ามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาปศุสัตว์ จะมีผลบังคับใช้ได้ภายในต้นปี 2566 ซึ่งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงจะได้รับประโยชน์โดยตรงในการพัฒนาทักษะ ความสามารถของตัวเอง โดยมีการรับรองด้วยหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพ หรือประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าคุณวุฒิการศึกษา ขณะที่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกบุคลากรผู้เลี้ยงเข้าทำงาน หรือเป็นผู้ผลิตสายตรงได้ด้วย สำหรับการจัดทำมาตรฐานอาชีพครั้งนี้เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กรมปศุสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ - มกอช. สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) @สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี และ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

  • สคช. จับมือ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดันบุคลากรสาขาชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เข้าสู่การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ

    07.03.2565
    7,208 View

    สคช. จับมือ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดันบุคลากรสาขาชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เข้าสู่การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำทีมผู้บริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ประชุมหารือ กับผู้บริหารสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนสมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมชุบโลหะ ตัวแทนสถานประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ รวมถึงตัวแทนจาก Fraunhofer Institute for Manufacturing Engineering and Automation IPA ประเทศเยอรมนี เพื่อหารือเตรียมการประเมินการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ให้กับกำลังคนสาขาชุบโลหะด้วยไฟฟ้า นางสาวจุลลดา ได้ชี้แจงรายละเอียดให้กับผู้บริหารสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และเครือข่ายอุตสาหกรรรมชุบโลหะไทย ได้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน และการดำเนินการประเมิน ทั้งแบบปกติ และแบบเทียบโอนประสบการณ์ หรือ RESK รวมถึงการเตรียมความพร้อม ให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชุบโลหะ มาสมัครเป็น Assessor และเจ้าหน้าที่สอบ ก่อนผลักดันเข้าสู่การขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในสาขาชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ระดับ 2-3 นอกจากนี้ยังมีเป็นการหารือแนวทางการให้ผู้ทำงานอยู่ในอาชีพดังกล่าว ที่เคยผ่านหลักสูตรระยะสั้นจากการประเมินของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Fraunhofer IPA มาเข้าสู่การประเมินด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพอีกด้วย สำหรับการหารือในวันนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Fraunhofer IPA ได้ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะจากมาตรฐานอาชีพของ สคช. และความต้องการของผู้ประกอบการ และออกแบบเนื้อหารายวิชา ให้สามารถนำมาพัฒนาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชุบโลหะเพื่อเติมความรู้ให้นักชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ซึ่งหลักการดังกล่าวจะสามารถนำไปสู่การขยายผลในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ได้ ทั้งนี้จากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สคช. จะมีการต่อยอดนำไปสู่การพัฒนาชุดฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ต่อไป ก่อนหน้านี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน), Fraunhofer Institute for Manufacturing Engineering and Automation IPA, สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมชุบโลหะไทย ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ซึ่งนอกจากจะร่วมมือกันพัฒนากำลังคน โดยการฝึกอบรมและรับรองคนในอาชีพ โดยเน้นทักษะใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการกำลังคนในภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นการสร้างการยอมรับในมาตรฐานอาชีพและหลักสูตรฐานสมรรถนะ การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถของกำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่อไป

  • กลุ่มบริษัทเบญจจินดา พบ สคช. เตรียมผลักดันกำลังคน ให้ได้รับการรับรองด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ

    04.03.2565
    7,402 View

    กลุ่มบริษัทเบญจจินดา พบ สคช. เตรียมผลักดันกำลังคน ให้ได้รับการรับรองด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ นายณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ กรรมการสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และผู้อำนวยฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร กลุ่มบริษัทเบญจจินดา เข้าพบ นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาววรชนาธิป จันทนู และนางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันฯ เพื่อหารือแนวทางการนำมาตรฐานอาชีพในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องไปพัฒนาบุคลากร ให้เข้าสู่การประเมินและได้รับการรับรองด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ นอกจากนี้ในฐานะนายกสมาคมผู้ประกอบการดิจิทัลไทย ได้มีการหารือแนวทางการทำงานร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โดยได้ให้ความสนใจเข้าสู่การเป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลอีกด้วย นางสาวจุลลดา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลว่า สคช. ได้มีการดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล จัดทำมาตรฐานอาชีพ ครอบคลุมในทุกสาขาอาชีพ อาทิ Hardware, digital security, Telecommunication, Animation และ Game เป็นต้น เพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในปัจจุบันได้จริง

  • สมาคมดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทย (TDeD) เข้าพบ สคช. หารือแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์กับคนในอาชีพ

    04.03.2565
    7,812 View

    สมาคมดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทย (TDeD) เข้าพบ สคช. หารือแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์กับคนในอาชีพ นายอัฐพล ไชยอนันต์ นายกสมาคมดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทย (TDeD) นำคณะผู้บริหารสมาคม เข้าพบ นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันฯ เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อพัฒนาสรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ แนวทางความร่วมมือในการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนด้านดิจิทัลเพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรม และกลุ่มเปราะบางที่ขาดโอกาส อาทิ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และครอบครัวยากจน รวมถึงหารือแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Platform) 70:20:10 (70:20:10 Model for Learning and Development) ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวถึงแนวทางการจัดทำชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลว่า ให้คำนึงถึงการนำไปใช้งาน ที่ตอบโจทย์ความต้องการคนในอาชีพได้อย่างแท้จริง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทักษะความสามารถ ของกำลังคนได้ตรงตามความต้องการผู้ประกอบการ

  • คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมถวายเครื่องสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2565

    02.03.2565
    7,467 View

    คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมถวายเครื่องสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2565 โดยมีนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นายสุรชัย กล่าวว่า การพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระปรีชาสามารถด้านงานช่าง ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ กระทั่งเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ก็ยังคงสนพระราชหฤทัยในงานช่างอย่างสม่ำเสมอ และทรงใช้ทักษะและความถนัด ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์จำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเข้าใจให้ภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี เป็น “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ”

  • สคช. เตรียมพร้อมบุคลากร ด้วยมาตรฐาน ISO/IEC 17024 สู่การยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้พัฒนาอย่างยั่งยืน

    01.03.2565
    7,324 View

    สคช. เตรียมพร้อมบุคลากร ด้วยมาตรฐาน ISO/IEC 17024 สู่การยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้พัฒนาอย่างยั่งยืน นางสาวจุลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไป สำหรับหน่วยรับรองบุคลากร ISO/IEC 17024 รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2565 โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ร่วมกับ สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ดำเนินโครงการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคล ตามมาตรฐานอาชีพเข้าสู่มาตรฐานสากล (ISO/IEC 17024) โดยมีผู้เข้าอบรมกว่า 70 คน จากหลายหน่วยงานและหลากหลายสาขาวิชาชีพ อาทิ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ปฏิบัติการอาหารนานาชาติ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บริษัท ไทยไฟลท์ เทรนนิ่ง จำกัด สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และมูลนิธิน้ำเพื่ออีสาน เป็นต้น นางสาวจุลดา กล่าวถึงการอบรมในครั้งนี้ว่า จะเป็นการยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทยให้พัฒนา โดยมีกลไกหลักประการหนึ่ง คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงศักยภาพในการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและประชาคมโลก ซึ่งคุณวุฒิวิชาชีพเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างการยอมรับในความสามารถของบุคลากรไทย ที่เทียบเท่าได้กับคุณวุฒิการศึกษา ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้ร่วมกับผู้ประกอบการ สมาคม สมาพันธ์ กลุ่มอาชีพพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพที่สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิวิชาชีพกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนไว้ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการให้คุณวุฒิวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและในระดับสากล สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีเป้าหมาย ในการสนับสนุนองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ กว่า 300 แห่ง ให้มีมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สร้างความเชื่อมั่นด้วยมาตรฐาน ISO/IEC 17024 ซึ่งเป็นระบบการรับรองบุคลากร มีกระบวนการโปร่งใส เป็นธรรม เป็นกลาง ด้วยแนวปฏิบัติที่เป็นสากลส่งผลให้บุคลากรที่ผ่านการรับรองมีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สคช. สามารถพัฒนาผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สอบ และเจ้าหน้าที่สนับสนุนขององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะ/ศูนย์ทดสอบภายใต้องค์กรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 รุ่น รวมทั้งสิ้น 1,616 ท่าน ด้วยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ทั้งในกรุงเทพมหานครและทุกภูมิภาค โดยในปัจจุบันมีองค์กรที่ได้รับการรับรองระบบงานตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 จากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ จำนวน 2 หน่วยงาน คือ โรงเรียนเสริมสวยและออกแบบทรงผมนานาชาติณรงค์สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวย และบริษัท วินเนอร์ เอสเตท จำกัด สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สำหรับการดำเนินโครงการในครั้งนี้ สคช. มุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ให้องค์กรฯ มีความพร้อมในการดำเนินการทดสอบและรับรองสมรรถนะของบุคคลอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของบุคลากรวิชาชีพ ของประเทศรวมทั้งสร้างความยอมรับการรับรองสมรรถนะ ของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพในระดับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและระดับสากล

  • สคช. บุกเยาวราช ยามค่ำคืน ยกนิ้ว มอบป้ายมืออาชีพให้ 60 ร้านเด็ด ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว

    26.02.2565
    7,076 View

    สคช. บุกเยาวราช ยามค่ำคืน ยกนิ้ว มอบป้ายมืออาชีพให้ 60 ร้านเด็ด ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว

  • คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เห็นชอบ สคช. ร่วมทุกสังกัดกระทรวงแรงงาน เชื่อมโยงข้อมูลสร้างแพลตฟอร์มการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนของประเทศ (E-Workforce Ecosystem Platform)

    24.02.2565
    7,885 View

    คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เห็นชอบ สคช. ร่วมทุกสังกัดกระทรวงแรงงาน เชื่อมโยงข้อมูลสร้างแพลตฟอร์มการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนของประเทศ (E-Workforce Ecosystem Platform) ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน วัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ด้านที่ 13) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีนายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปด้านแรงงาน พร้อมด้วยนายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาววรชนาธิป จันทนู, นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลของกำลังแรงงานในประเทศด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนและการพัฒนาสมรรถนะ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย หรือ E-Workforce Ecosystem Platform (EWE) ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ กล่าวยอมรับว่า EWE จะช่วยให้เกิดการพัฒนาประเทศหากสำเร็จได้เป็นรูปธรรม ซึ่งไม่เพียงจะเกิดประโยชน์ต่อกำลังแรงงาน แต่จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการได้สำเร็จก็อาจจะเป็นครั้งแรกของประเทศที่สามารถทำให้เกิดการรวบรวมฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของกำลังแรงงานทั้งประเทศเอาไว้ได้ จึงสนับสนุนให้ สคช. ร่วมกับ สำนักงานปลัด กระทรวงแรงงาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, กรมการจัดหางาน, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ได้เชื่อมข้อมูลกำลังแรงงานในระบบของหน่วยงาน เพื่อให้แพลตฟอร์ม EWE ใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม และสอดรับความต้องการของเศรษฐกิจสังคมประเทศที่เปลี่ยนไป นายนคร กล่าวว่า สคช. พร้อมบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วน โดยมีบทบาทเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกำลังคนของประเทศ ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาแรงงานของประเทศไว้ในที่เดียวหรือบนแพลตฟอร์มเดียว ทั้งในเรื่องการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) รวมถึงการมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ด้านกำลังคนของประเทศ รวมไว้บนแพลตฟอร์ม EWE ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูล มีทางเลือกสู่การพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา การฝึกอบรม และการทำงานได้ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือนำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะกำลังคนของประเทศ ในทุกระดับ ทุกอาชีพ ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประกอบการ สร้างโอกาส ในการมีงานทำ รวมถึงการผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) สอดรับนโยบายรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม นางสาวจุลลดา เล่าถึงแนวทางการทำงานของแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่จะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มคนทำงานในทุกช่วงวัย กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงวัยเกษียณ กลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบ แรงงานกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งนายจ้าง ผู้ประกอบการ โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน หรือ E-portfolio เป็นเครื่องมือที่ทุกคนสามารถใช้สะสมได้ทั้งผลงาน ผลการเรียน การฝึกอบรม ประสบการณ์การทำงาน ระบบนี้จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐ สามารถบริหารจัดการกำลังคนและพยากรณ์แนวทางในการพัฒนาทักษะกำลังคนได้ ส่วนประชากรคนทำงานจะสามารถเก็บ Profile ของตนเอง เพื่อนำไปสู่การ Up-Skill – Re-Skill หรือทักษะใหม่ๆ ตลอดจนการเก็บสะสมการเรียนรู้ ทั้งในและนอกระบบ ประสบการต่างๆ ในระบบ Digital Credit Bank รวมไปถึงมีกลไก Job Matching ที่จะทำให้ผู้ประกอบการเลือกใช้แรงงานมีคุณภาพที่ตรงตามความต้องการ ส่วนหน่วยงานภาครัฐก็สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลเชิงสถิติเพื่อนำมาวางแผนพัฒนากำลังคนของประเทศได้อย่างตรงจุดนำไปสู่การปฏิรูปแรงงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ประชุมต่างเห็นตรงกันว่าเป็นระบบที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และพร้อมให้ความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ระบบ EWE สามารถใช้งานได้จริง โดยมีแผนเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศรวม 13 คณะ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ก่อนจะมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานกรรมการ และนายนคร ศิลปอาชา เป็นกรรมการและประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปด้านแรงงาน ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ให้เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรมปฏิรูปประเทศ ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกำลังคนของประเทศ

  • นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมวงเสวนาบทบาทหน่วยสนับสนุนภาครัฐและภาคเอกชน ต่อการเสริมสร้างสุขภาพกาย-ใจ-การเงิน สำหรับแรงงานในสถานประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัย

    22.02.2565
    7,530 View

    นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมวงเสวนาบทบาทหน่วยสนับสนุนภาครัฐและภาคเอกชน ต่อการเสริมสร้างสุขภาพกาย-ใจ-การเงิน สำหรับแรงงานในสถานประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัย ร่วมกับนายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ รองประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 สสส., คุณนันทาวดี วรวสุวัส ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และนายสถิรยุทธ แสงสุวรรณ รองประธานบริษัทออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ณ ห้องประชุม AM 100 บ.ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด อ.ปลวกแดง จ.ระยอง โดยผู้เสวนาต่างเห็นตรงกันว่าสถานการณ์ วิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นสัญญาณเตือนให้ทุกธุรกิจต้องเตรียมความพร้อม กำลังแรงงานก็เช่นกัน ที่ต้องมีความพร้อมทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ ซึ่งนับเป็นเรื่องสำคัญจำเป็น เพราะเมื่อสุขภาพกาย-ใจดี ก็จะมีความพร้อมในการทำงาน พร้อมที่จะปรับตัวเปิดรับการพัฒนาได้เต็มที่ นายสุรพล ย้ำว่ากำลังแรงงานต้องเตรียมพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา อยู่กับที่ไม่ได้ ไม่เพียงแค่การรองรับวิกฤติที่อาจขึ้นได้อีกในอนาคต แต่ยังเป็นการรองรับอนาคตในวัยเกษียณของตัวเองด้วย ขณะที่สถานประกอบการก็ต้องเปิดใจกว้างในการพัฒนากำลังคนของตัวเอง อย่ากลัวการพัฒนาคน นำไปสู่แรงงานคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตเป็นไปตามความต้องการ และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. พร้อมให้การรับรองมาตรฐานสมรรถนะ ให้การรับรองมาตรฐานอาชีพ และนำไปสู่การรับคุณวุฒิวิชาชีพที่มีศักดิ์ศรีเทียบเท่าคุณวุฒิการศึกษา จะเป็นทางเลือกที่สอดรับการพัฒนายกระดับกำลังคนในสถานประกอบการ และเกิดประโยชน์ต่อกำลังแรงงานในอนาคตที่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ แต่สามารถกลับเข้ามาเทียบ หรือกลับเข้ามาสู่ระบบเพื่อรับคุณวุฒิการศึกษาได้ในภายหลัง

  • สคช. จับมือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ MOU ยกระดับเกษตรกรไทย สู่ความเป็นมืออาชีพ

    18.02.2565
    7,241 View

    สคช. จับมือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ MOU ยกระดับเกษตรกรไทย สู่ความเป็นมืออาชีพ นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และ นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนากำลังคนด้านการเกษตรของประเทศสู่ความเป็นมืออาชีพด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันฯ พร้อมด้วยนายสำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้จรดปากกาลงนาม ซึ่งมีคณะผู้บริหารของทั้งฝ่ายที่ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยานผ่านระบบ Zoom Conferrence นายนคร กล่าวว่า สคช. มีหน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ จัดทำมาตรฐานอาชีพโดยกลุ่มคนในอาชีพ และการให้การรับรองสมรรถนะเพื่อย้ำความเป็นมืออาชีพที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด เป็นการสร้างโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามแนวทางที่เป็นสากล ซึ่งการลงนาม MOU ในวันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทั้งสองหน่วยงานจะได้นำศักยภาพ มาร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพเศรษฐกิจฐานรากของประเทศด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ด้านอาหารปลอดภัย ตลอดจนสร้างการรับรู้และผลักดันให้เกิดการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อนำไปสู่การยกระดับและสร้างศักยภาพบุคลากรทางด้านเกษตรของประเทศไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สถาบันฯ พร้อมผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาคน ผลิตนวัตกรรมด้านการเกษตรใหม่ ๆ สอดรับการปรับเปลี่ยนของโลกอนาคต และสนับสนุนคนในอาชีพให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต นายธนา กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายหลัก โดยครอบคลุมถึงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เช่น นโยบายการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก และนโยบายการส่งเสริมสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ Start up เป็นต้น ซึ่งการบูรณาการความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านการเกษตร โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมให้เกษตรกรมีสมรรถนะ ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้ได้รับการรับรองความรู้ตามมาตรฐานอาชีพ ซึ่งคุณวุฒิวิชาชีพที่เกษตรกรได้รับจะช่วยสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้ในระยะต่อไป พร้อมทั้งจะเป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงให้แก่ภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยในอนาคต บรรลุวิสัยทัศน์ “เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” ได้ต่อไป นายสุรพล กล่าวว่า จากนี้ไปสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะร่วมกันร่วมกันพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนบุคลากรผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรในเครือข่ายของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อเข้ารับการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพหรือสาขาอาชีพด้านการเกษตร พร้อมดำเนินการ ศึกษาวิจัย พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ร่วมกันขับเคลื่อนการฝึกอบรมผ่านระบบการเรียนรู้สมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการสร้างการรับรู้ และยอมรับในระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ตลอดจนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ทำร่วมกันให้เป็นที่แพร่หลาย เพื่อเป็นที่ยอมรับและยกระดับมาตรฐานในการประกอบอาชีพตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ

  • รองนายกฯ ดอน มอบการบ้าน สคช. พัฒนาทักษะกำลังแรงงาน ส่งแรงงานคุณภาพไปทำงาน ซาอุฯ

    15.02.2565
    7,764 View

    รองนายกฯ ดอน มอบการบ้าน สคช. พัฒนาทักษะกำลังแรงงาน ส่งแรงงานคุณภาพไปทำงาน ซาอุฯ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะกำกับดูแลสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. กล่าวระหว่างมอบนโยบายให้กับคณะผู้บริหารสถาบันฯ โดยมีนายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมนายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำคณะผู้บริหาร เข้ารับมอบนโยบายว่าให้ สคช. บูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวงแรงงานเพื่อพัฒนาทักษะกำลังแรงงานไทยให้มีคุณภาพ รองรับการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศซาอุดิอาระเบียที่พร้อมเปิดรับแรงงานต่างชาติตั้งเป้า 8 ล้านคน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพ สามารถปรับตัวให้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับตลาดแรงงาน โดยเฉพาะการสร้างโอกาสให้แก่แรงงานไทยไปทำงานในตลาดต่างประเทศ นายดอน ระบุว่าต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศส่วนใหญ่ถูกมองว่าเป็นเพียงผู้ใช้แรงงานเท่านั้น แต่การฟื้นความสัมพันธ์เปิดรับแรงงานไทยครั้งนี้เป็นโอกาสสำหรับแรงงานทั้งแรงงานฝีมือ และกึ่งฝีมือ ทั้งภาคอุตสาหกรรมโครงสร้างขนาดใหญ่ งานช่าง และกลุ่มภาคบริการอย่างโรงแรม และสุขภาพ ซึ่ง สคช. จะเป็นอีกหน่วยงานสำคัญที่ต้องร่วมกับกระทรวงแรงงานพัฒนาในการพัฒนากำลังแรงงานให้มีคุณภาพ มีทักษะพิเศษสอดคล้องกับสาขาอาชีพที่นายจ้างซาอุดิอาระเบียต้องการ โดยเฉพาะต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องสุขภาพ และวัฒนธรรมก่อนไปทำงานในต่างประเทศ การเสริมทักษะเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์ที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนากำลังแรงงานภายในประเทศป้อนสู่ตลาดแรงงานได้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการได้ด้วย นายนคร ย้ำว่า สคช. พร้อมดำเนินการตามแนวนโยบาย และพร้อมที่จะเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะสนับสนุนยกระดับทักษะกำลังแรงงานไทยให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพพร้อมทำงานได้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะการเดินทางไปประเทศซาอุดิอาระเบียที่ความเข้มข้นในเรื่องของวิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการให้ความรู้ และทักษะพิเศษกับแรงงานไทยก่อนการเดินทาง ด้านนายสุรพล เปิดเผยว่า สคช. ได้ทำงานเชื่อมโยงกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการเชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพให้สอดรับกับมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนากำลังแรงงานของประเทศให้เกิดการรับรองด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งกำลังแรงงานไทยมีโอกาสได้การรับรองทักษะ ความรู้ ความสามารถจากประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพในการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศได้ คณะผู้บริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ยังได้เข้าพบ หารือกับนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ชื่นชม และเห็นด้วยกับแนวทางการทำงานของ สคช. พร้อมเน้นย้ำให้ สคช. บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการเปิดโอกาสให้กำลังแรงงานไทยที่ได้คุณวุฒิวิชาชีพ มีโอกาสได้คุณวุฒิการศึกษา หรือแม้กระทั่งผู้ที่ได้คุณวุฒิการศึกษา ได้มีโอกาสรับคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อยืนยันทักษะ ความรู้ ความสามารถในการทำงานของตัวเองอีกด้วย

  • สคช. เปิดรับสมัคร ICB ครั้งแรกของประเทศ เพื่อเดินหน้าพัฒนากำลังคน ให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

    15.02.2565
    7,325 View

    สคช. เปิดรับสมัคร ICB ครั้งแรกของประเทศ เพื่อเดินหน้าพัฒนากำลังคน ให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

  • สคช. พบผู้นำชุมชนตำบลเสมา โคราช ยกเป็นชุมชนต้นแบบ ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น เตรียมผลักดันอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ นำไปสู่การพัฒนาเศรษกิจฐานราก

    15.02.2565
    6,388 View

    สคช. พบผู้นำชุมชนตำบลเสมา โคราช ยกเป็นชุมชนต้นแบบ ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น เตรียมผลักดันอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ นำไปสู่การพัฒนาเศรษกิจฐานราก

  • สคช. เปิดประตูสู่ภาคอีสาน เจาะเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดันบุคลากรภาคการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานระดับสากล

    14.02.2565
    6,859 View

    สคช. เปิดประตูสู่ภาคอีสาน เจาะเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดันบุคลากรภาคการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานระดับสากล สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ลงพื้นที่จับมือ 5 หน่วยงานพันธมิตร ประกอบไปด้วย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนครราชสีมา ในฐานะผู้บริหาร The Piano Resort เขาใหญ่, ตัวแทนฝ่ายบริหาร Global Healthcare Accreditation ,ผู้บริหารธนาคารออมสิน และผู้บริหารจากอ่าวนาง ปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ต จ.กระบี่ ระดมความคิดเห็น บนเวทีเสวนา “Wellness Tourism Trends มิติใหม่การท่องเที่ยวเชิง Wellness เพิ่มมูลค่า สร้างงาน สร้างอาชีพ” เพื่อเปิดประตูสู่ภาคอีสาน เพื่อถ่ายทอดเทรนด์การท่องเที่ยว ในเชิงสุขภาพ ด้วยมาตรฐานความปลอดภัย พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวในประเทศ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวถึงแนวทางการผลักดันของ สคช. เพื่อให้สถานประกอบการที่พัก โรงแรมพัฒนาทักษะของบุคลากรภาคการให้บริการ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ไม่เพียงจะช่วยยกระดับมาตรฐานกำลังคนในทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ให้ได้รับการบริการ ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานสากลอีกด้วย นายแพทย์สมพร คําผง ตัวแทนฝ่ายบริหาร Global Healthcare Accreditation หรือ GHA กล่าวถึงเทรนด์การท่องเที่ยวในเชิงสุขภาพว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างประสบการณ์ที่ดี ให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อจดจำต่อการท่องเที่ยวในประเทศตลอดชีวิต การเยี่ยมสำรวจสถานประกอบการของ GHA ก็จะมีการให้คำปรึกษาในทุกองค์ประกอบของการพัฒนาโรงแรม และที่พักเชิงสุขภาพ พร้อมสนับสนุน ทุกสถานประกอบการที่มุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานของ GHA ต่อไป คุณวัชรี  ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนครราชสีมา กล่าวว่า รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะช่วยพัฒนาตลาดด้านการท่องเที่ยวของเขาใหญ่ และนครราชสีมา ให้กลับมามีความหวังอีกครั้ง จากการจัดการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐาน และคำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทุกคำแนะนำของ สคช. และ GHA จะมีส่วนสำคัญในการเติมเต็มให้ทุกส่วนงานของโรงแรม ได้เร่งพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตั้งแต่การปรับสถานที่ ตลอดจนการพัฒนาทักษะของบุคลากร นางกุสุมา กิ่งเล็ก กรรมการผู้จัดการ อ่าวนางปริ๊นซ์วิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา ซึ่งเป็นโรงแรมที่พักแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับมาตรฐาน WellHotel จาก Global Healthcare Accreditation ได้กล่าวว่า การพัฒนาสถานประกอบการไปสู่ Wellness ถือว่าเป็นโอกาสและความท้าทาย ของภาคการท่องเที่ยว ที่นำไปสู่ทางรอด โดยเฉพาะมาตรฐานการให้บริการ ที่ต้องมีการพัฒนาทักษะ บุคลากรเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการมีความมั่นใจ ส่วนผู้ใช้บริการก็จะเชื่อมั่นด้วยอีก คุณวิลานี แซ่แต้ ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ธนาคารออมสิน ได้กล่าวถึง แนวทางการสนับสนุนเงินทุน เพื่อไปต่อยอดในการฟื้นฟูกิจการ สำหรับผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันก็มีโครงการสินเชื่อ สร้างงาน สร้างอาชีพ เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพทุกคน ในทุกสาขาอาชีพ ที่ผ่านการอบรมและผ่านการประเมินกับสถาบันวิชาชีพ ซึ่งถือว่ามีแต้มต่อ ในการนำประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพและหนังสือรับรอง ไปยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารออมสิน โดยไม่ต้องใช้ Statement เพื่อเป็นการต่อยอด เติมทุนในอาชีพได้

  • สคช. & สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระชับมิตร ดันมาตรฐานอาชีพผู้ประนอมข้อพิพาท - อนุญาโตตุลาการ พร้อมประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพไปประนอมข้อพิพาทได้ทั่วทุกมุมโลก

    11.02.2565
    6,934 View

    สคช. & สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระชับมิตร ดันมาตรฐานอาชีพผู้ประนอมข้อพิพาท - อนุญาโตตุลาการ พร้อมประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพไปประนอมข้อพิพาทได้ทั่วทุกมุมโลก นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. และสถาบันอนุญาโตตุลาการ โดยมีนายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และนายพสิษฐ์ อัศววัฒนาพร ผู้อำนวยการสถาบันอนุญาโตตุลาการ เป็นผู้จรดปากกาลงนาม ท่ามกลางผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานที่เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน นายนคร กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้ส่งผลให้หลายภาคส่วน ต้องพบกับปัญหาความขัดแย้งในหลากหลายแง่มุมมากขึ้น ทำให้ความต้องการผู้ที่จะมาทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทด้วยความเป็นกลางและอิสระมีมากขึ้นเช่นกัน ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทั้งสองหน่วยงานจะได้นำศักยภาพ มาร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาผู้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด มีมาตรฐาน ลดปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้ นายสุรพล ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า มีหัวใจสำคัญในการสนับสนุนการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพผู้ประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ โดยจะมีการร่วมมือทางวิชาการ พร้อมส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคคลด้วยหลักสูตรฝึกอบรม ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประนอมข้อพิพาทฯ ส่งเสริมให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองฯ รวมถึงผลักดัน ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมเข้าสู่กระบวนการประเมินฯ เพื่อนำไปสู่การรับรองด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการ ว่ามีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในอาชีพตัวจริง ผู้อำนวยการสถาบันอนุญาโตตุลาการ กล่าวว่า นับเป็นการสร้างโอกาสที่ดีในการร่วมมือกันระหว่าง สคช. และสถาบันอนุญาโตตุลาการ ที่จะร่วมกันจัดทำมาตรฐานอาชีพ นักประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากทั้ง 2 อาชีพนี้ ไม่ใช่ใครก็สามารถทำได้ แต่เป็นวิชาชีพที่ต้องอาศัยทักษะ สมรรถนะ ประสบการณ์การดำเนินงานเฉพาะบุคคล การจัดทำเป็นมาตรฐานอาชีพและนำไปสู่การรับรองด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มมาตรฐาน เพิ่มมูลค่าให้กับบุคคล โดยเฉพาะสามารถทำงานได้ทั่วโลก ผู้ที่ได้การรับรองด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ จะยิ่งเป็นการการันตีความรู้ความสามารถในการระงับข้อพิพาททุกประเภทได้ทุกมุมโลกเช่นกัน และยังจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับบุคคลและเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศด้วย