ข่าวประชาสัมพันธ์

  • สคช.เตรียมจับมือกรมกิจการผู้สูงอายุ หนุนเพื่อนผู้สูงวัย ให้ได้คุณวุฒิวิชาชีพ ต่อยอดอาชีพให้มีรายได้ รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

    12.06.2567
    568 View

    สคช.เตรียมจับมือกรมกิจการผู้สูงอายุ หนุนเพื่อนผู้สูงวัย ให้ได้คุณวุฒิวิชาชีพ ต่อยอดอาชีพให้มีรายได้ รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หารือร่วมกับ นางสาวบุษยา ใจสว่าง รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ และนางวาสนา ทองจันทร์ ผู้อำนวยกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ถึงแนวทางความร่วมมือในโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ และผลักดันให้ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จากกรมกิจการผู้สูงอายุให้ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ โดยนำหลักสูตรที่มีมารับรองความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพของสถาบัน ในสาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ และต่อยอดอาชีพได้

  • สคช. พร้อมหนุนงาน THACCA SPLASH Soft Power Forum 2024 ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยทะยานสู่ระดับโลก

    12.06.2567
    568 View

    สคช. พร้อมหนุนงาน THACCA SPLASH Soft Power Forum 2024 ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยทะยานสู่ระดับโลก นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในฐานะรองประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร ร่วมในการแถลงข่าว งาน THACCA SPLASH Soft Power Forum 2024 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28-30 มิถุนายน 2567 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการแถลงข่าว นางสาวแพทองธาร กล่าวว่า งาน THACCA SPLASH Soft Power Forum 2024 จะเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ในประเทศไทย เพื่อส่งต่อนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นให้เข้าถึงประชาชน ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นงานประชุมซอฟต์พาวเวอร์ระดับนานาชาติครั้งแรก ที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย ภายในงานจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ของภาครัฐ ภาคเอกชน ตัวแทนจากแบรนด์ดังระดับโลกในหลายอุตสาหกรรม และยังมีการจัดแสดงนิทรรศการรายละเอียดของนโยบาย ศักยภาพที่รัฐบาลมองเห็นและจะส่งเสริม ให้มีการ Workshop ในงานนี้ รวมไปถึงนโยบายในรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมการ Matching ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นระหว่างเอกชนไทยและต่างชาติ พร้อมเชิญชวนคนไทยให้มาร่วมงานฟรีตลอดงานเป็นเวลา 3 วัน เพื่อเรียนรู้และหาโอกาสใหม่ๆ สนับสนุนศักยภาพวัฒนธรรมไทย เป็นงานสำคัญที่จะปักหมุดประเทศไทยลงบนแผนที่โลก ว่าเราพร้อมแล้วที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำด้าน Soft Power ของโลก

  • สคช. ขยายฐานเครือข่ายการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพกลุ่มงานศิลปหัตถกรรม รองรับการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power

    30.05.2567
    489 View

    สคช. ขยายฐานเครือข่ายการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพกลุ่มงานศิลปหัตถกรรม รองรับการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เยี่ยมชมและหารือผู้ประกอบการด้านศิลปหัตถกรรมในงาน FOLKSCRAFT REUNION : Slow Fashion Market ถึงแนวทางการยกระดับผู้ประกอบอาชีพในกลุ่มงานศิลปหัตถกรรมให้ได้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งสถาบันมีมาตรฐานอาชีพในสาขาอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน สาขาผ้าทอ สาขางานเครื่องปั้นดินเผา งานเครื่องจักสาน งานเซรามิก โดยการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพเป็นการรับรองความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในอาชีพ รวมถึงมีโอกาสเติมทุนจากสถาบันการเงินพันธมิตรอย่างธนาคารออมสิน SME D Bank และที่ปรึกษาด้านการลงทุนอย่าง บสย. ซึ่งผู้ประกอบการในงานได้ให้ความสนใจการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่เป็นการการันตีคุณภาพงานฝีมือของคนไทย เนื่องจากผู้ประกอบการในงานทั้งหมดเป็นกลุ่มที่ทำงานกับชุมชนในพื้นที่ตามความความโดดเด่นของทรัพยากรและวัฒนธรรม สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้จากงานฝีมือ หรืองานคราฟต์ ซึ่งเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาของคนไทยที่ถ่ายทอดเรื่องราววิถีวัฒนธรรมในพื้นถิ่นออกมาเป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งวิถีท้องถิ่นจะอาศัยช่วงฤดูว่างจากการทำเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก มาทำงานหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม การรับรองคุณภาพให้กับผู้ประกอบอาชีพจึงเป็นเสมือนเครื่องการันตีคุณภาพให้กับนักท่องเที่ยวและผู้เสพงานคราฟต์ โดยต้องยอมรับว่างานคราฟต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจมูลค่าสูงให้กับประเทศและเป็นอาชีพที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ของรัฐบาลด้วย

  • สคช.ร่วม กทม.และสมาคมผู้ประกอบการถนนข้าวสาร เฉลิมฉลองเทศกาล Pride สร้างจุดเช็คอินแลนด์มาร์คเชิงสัญลักษณ์ต้อนรับนักท่องเที่ยว ในคอนเซ็ปต์ “KHAOSAN Pride Friendly 2024”

    30.05.2567
    468 View

    สคช.ร่วม กทม.และสมาคมผู้ประกอบการถนนข้าวสาร เฉลิมฉลองเทศกาล Pride สร้างจุดเช็คอินแลนด์มาร์คเชิงสัญลักษณ์ต้อนรับนักท่องเที่ยว ในคอนเซ็ปต์ “KHAOSAN Pride Friendly 2024” นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมงาน เทศกาล “KHAOSAN Pride Friendly 2024” โดยมีนายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคม ผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร และนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวเปิดการต้อนรับเทศกาล“KHAOSAN Pride Friendly 2024” โดยมีสาวสวยจากทูตการท่องเที่ยวและทูตการกีฬา Miss Tourism World Thailand ร่วมสร้างสีสันในงาน เทศกาลนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ร่วมสัมผัสกับบรรยากาศที่อบอุ่นและสนุกสนาน ทั้งยังเป็นการยืนยันความหลากหลายทางเพศ และเสริมสร้างความเข้าใจในแง่มุมต่างๆ ของความหลากหลายในสังคม โดยมีการการจัดขบวนพาเหรดที่ยิ่งใหญ่ ด้วยคอนเซ็ปต์ที่สร้างสรรค์ และสื่อความหมายถึงความภูมิใจในตัวตนของชุมชน LGBTQ+ กิจกรรมต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแค่การเฉลิมฉลอง แต่ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนย่านถนนข้าวสารและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับผู้ค้าย่านถนนข้าวสาร ทั้งนี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้มารับรองคุณวุฒิวิชาชีพให้กลุ่มผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี (Street Food) ในย่านถนนข้าวสาร โดยดำเนินการร่วมกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถีเหล่านี้ถือเป็นพ่อค้าแม่ค้า Street Food มืออาชีพ พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาร่วมเทศกาล KHAOSAN Pride Friendly 2024 ในครั้งนี้ด้วย

  • สคช.เยี่ยมชมศูนย์ฝึกอบรม IM Japan และเยี่ยมผู้ปฏิบัติงานเทคนิคชาวไทย จำนวน 34 คน ที่ฝึกงานในสถานประกอบการชั้นนำของญี่ปุ่น

    30.05.2567
    472 View

    นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และนางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอบรม IM Japan และเยี่ยมผู้ปฏิบัติงานเทคนิคชาวไทย จำนวน 34 คน ที่ฝึกงานในสถานประกอบการชั้นนำของญี่ปุ่น โดยมี Mr.Masanobu KOMIIYA Managing Director และ Mr.Kuniaki YOSHIDA General Manager,International Affairs Division ให้การต้อนรับ และร่วมหารือแนวทางการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ให้กับคนไทยที่มาทำงานในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้สามารถได้รับการเทียบวุฒิทางการศึกษาได้ ณ ศูนย์ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน Kasukabe จังหวัดไซตามะ

  • สคช.เข้าพบ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว หารือแนวทางส่งเสริมให้กำลังแรงงานในประเทศ มีทักษะเทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล

    29.05.2567
    443 View

    นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และนางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะเข้าพบ นายวิชชุ เวชชาชีวะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และนางปรางทิพย์ กาญจนหัตถกิจ อัครราชทูต ที่สถานเอคอัคราชทูต ณกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยสถาบันได้นำเสนอภารกิจ หน้าที่ของสถาบัน ในฐานะหน่วยงานรัฐภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และมีหน้าที่ในการสนับสนุน ส่งเสริมให้กำลังแรงงานในประเทศ มีทักษะเทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล ในโอกาสเดียวกันนี้ได้มีการหารือร่วมกันถึงแนวทางความร่วมมือในการผลักดันการประเมินสมรรถนะบุคคลในรูปแบบการเทียบโอนประสบการณ์และให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพแก่คนไทยที่ประกอบอาชีพในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงแนวทางการลดปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย โดยสถาบันสามารถอำนวยความสะดวกในการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทย ในการพัฒนาทักษะฝีมือให้เป็นแรงงานมืออาชีพ ที่มีความพร้อมตั้งแต่ต้นทาง และเข้าไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นให้ถูกต้อง โดยเฉพาะในสาขาอาชีพที่ญี่ปุ่นกำลังขาดแคลน

  • สคช.ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสครบรอบ 48 ปี “ประชาชาติธุรกิจ”

    29.05.2567
    475 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในโอกาสครบรอบ 48 ปี “ประชาชาติธุรกิจ” โดยมี นายวรศักดิ์ ประยูรศุข บรรณาธิการ กอง บก.ประชาชาติธุรกิจ นางสาวสุดใจ ชาญชาตรีรัตน์ บรรณาธิการบริหาร กอง บก.ประชาชาติธุรกิจ ให้การต้อนรับ ณ ชั้น G อาคารสำนักงาน บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน)

  • สคช.ร่วมเปิดการอบรม “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs คุณวุฒิวิชาชีพ เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน รุ่นที่ 3

    27.05.2567
    474 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วย คุณผกามาศ สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายส่งเสริมลูกค้าและพัฒนาผู้ประกอบการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าว ปฐมนิเทศ และเปิดการอบรม “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs คุณวุฒิวิชาชีพ เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน รุ่นที่ 3” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง สคช. กับ บสย. ที่ดำเนินการร่วมกันเข้าสู่ปีที่ 3 ที่สามารถปั้นคนในอาชีพให้เป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ทั้งยังช่วยเตรียมความพร้อมให้คนในอาชีพได้มีทักษะในด้านการบริหารบัญชีการเงิน การบริหารจัดการต้นทุน การตลาดการขายแบบออนไลน์ ความรู้ด้าน e-commerce รวมถึงการใช้สื่อโซเชียลมีเดียสร้างตัวตนเพื่อเพิ่มยอดขาย ผู้ประกอบการ SMEs นับว่าเป็นหนึ่งในภาคส่วนธุรกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและยังเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญของแรงงานในประเทศ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีความเชื่อมั่นว่า เมื่อผู้ประกอบการได้ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ จะสามารถมีส่วนช่วยพัฒนากำลังแรงงานของประเทศไทยให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน

  • นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะ พบปะผู้บริหารบริษัท ดานิลี่ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด อำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง เป็นบริษัทผลิตเครื่องจักรเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมเหล็กทั้งระบบ

    27.05.2567
    463 View

    นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะ พบปะผู้บริหารบริษัท ดานิลี่ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด อำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง เป็นบริษัทผลิตเครื่องจักรเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมเหล็กทั้งระบบ โดยมี คุณยงยุทธ รักษาพล Section Manager และคุณขนิษฐา คะสีทอง HR Supervisor ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมโรงงาน ซึ่งบริษัท ดานิลี่ จำกัด มีบุคลากร กว่า 900 คน ทั้งในสายช่างการผลิต อาทิ ช่างเชื่อม ช่างแมคคาทรอนิกส์และ เจ้าหน้าที่สนับสนุนภายในสำนักงาน เช่น เจ้าหน้าที่บัญชี เจ้าหน้าที่จัดซื้อจัดหา ทั้งยัง มีความสนใจที่จะร่วมมือกับสถาบัน ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับสมรรถนะ ทักษะ ของบุคลากรให้ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ เนื่องจากช่างจำนวนมาก สั่งสมประสบการณ์การทำงานมายาวนาน แม้ว่าจะไม่ได้มีวุฒิทางด้านการศึกษาที่ตรงกับงานที่ทำในปัจจุบัน จึงหวังว่าจะสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองต่อไป

  • คณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ เผยเตรียมจัดงาน THACCA SPLASH : Soft Power Forum" ใหญ่ระดับนานาชาติครั้งแรกของเมืองไทย ขณะที่ สคช. ร่วมดันหลักสูตร OFOS Training ยกระดับคนในอาชีพที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมภาพยนตร์

    24.05.2567
    656 View

    คณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ เผยเตรียมจัดงาน THACCA SPLASH : Soft Power Forum" ใหญ่ระดับนานาชาติครั้งแรกของเมืองไทย ขณะที่ สคช. ร่วมดันหลักสูตร OFOS Training ยกระดับคนในอาชีพที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้มีการรายงานความคืบหน้าการจัดงาน THACCA SPLASH : Soft Power Forum งาน Soft Power Forum ระดับนานาชาติครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ โดยจะเป็นครั้งแรกของการนำเสนอเรื่องราวเส้นทางของ Soft Power 11 ด้านของไทยอย่างยิ่งใหญ่ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ โดยเน้นรูปแบบให้ผู้ร่วมงานเข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชม โดยในงานจะเป็นการปักหมุด Soft Power ไทยลงบนแผนที่โลก ให้ทั่วโลกได้รู้ว่าประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนา Soft Power เป็นพื้นที่ของนักสร้างสรรค์ทั่วโลกมาร่วมทำงานกัน ให้ทั่วโลกได้หลงเสน่ห์ประเทศไทย ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 5 ยังมีวาระที่น่าสนใจ อาทิ ในส่วนหลักสูตรของ OFOS ของทั้งอุตสาหกรรมแฟชั่น และภาพยนตร์-ซีรีส์ โดยในส่วนของสาขาภาพยนตร์และซีรีย์ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จะได้ร่วมกับคณะอนุกรรมการฯ พัฒนาหลักสูตร OFOS Training ยกระดับคนในอาชีพที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ตั้งแต่นักเขียนบท ไปจนถึงผู้ผลิต ถ่ายทำ ซึ่งมีความมุ่งหมายในการสร้างโครงสร้างของระบบการเรียนรู้ของภาพยนตร์และซีรีย์ให้เป็นระบบ และผลิตกำลังคนป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้มา ขณะที่แฟชั่นมีการอบรมและพัฒนาบุคลากร ภายใต้กิมมิก "Soft Power แฟชั่น Thailand Only" 4 สาขา คือ Apparel, Jewelry, Beauty และ Craft โดยจะจัดอบรมในระดับบุคคลทั่วไป นิสิตนักศึกษา ทายาทปราชญ์ชาวบ้าน และในระดับโรงงานอุตสาหกรรม OEM โดยในระยะยาว จะเป็นการ พัฒนาทักษะเดิม และสร้างทักษะขึ้นมาใหม่ เน้นกระบวนการทำงานในการสร้างคนที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการผลิตผลงานและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพเทียบเท่าระดับสากล ผ่านการสร้างคน สร้างธุรกิจ และสร้างการรับรู้ในแบบ Thailand Only เพื่อปักหมุดแฟชั่นไทยเป็นหนึ่งในใจกลางตลาดโลก ยกระดับเรื่องราวความคราฟต์และความสร้างสรรค์ของวงการแฟชั่นสู่ระดับสากลให้มากขึ้น

  • สคช.หนุนสถานประกอบการในพื้นที่ EEC กว่า 25 แห่ง พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในองค์กร ยกระดับแรงงานไทย สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน

    24.05.2567
    484 View

    สคช.หนุนสถานประกอบการในพื้นที่ EEC กว่า 25 แห่ง พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในองค์กร ยกระดับแรงงานไทย สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานด้วยการพัฒนาทักษะ Upskill Workforce for Increased Productivity พร้อมทั้ง มอบหนังสือเห็นชอบหลักสูตรฝึกอบรมในสถานประกอบการที่สอดคล้องตามมาตรฐานอาชีพ แก่สถานประกอบการจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1. บริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ และสาขาวิชาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2. บริษัท เอสเค เอ็นดีที แอนด์ อินสเป็คชั่น จำกัด สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขาธุรกิจทดสอบและตรวจสอบ 3. บริษัท มิตซุย สยาม คอมโพเน้นท์ส จำกัด สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ 4. บริษัท ปานะโอสถ จำกัด สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 5. บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดสาขาวิชาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สาขายานยนต์ไฟฟ้า จากนั้น ได้เสวนาแนวทางการนำมาตรฐานอาชีพ มาเชื่อมโยงกับหลักสูตรของสถานประกอบการ โดยมีวิทยากรรับเชิญจากสถานประกอบการ 2 แห่ง ที่ได้ร่วมพัฒนาหลักสูตรและได้นำไปใช้ประโยชน์แล้ว ได้แก่ คุณชัยยุทธ สวัสดี ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ จำกัด , คุณพิษณุ อุชุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปานะโอสถ จำกัด และ คุณพิริยพงศ์ แจ้งเจนเวทย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมในการเสวนา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริหารสถานประกอบการในพื้นที่ EEC ทั้งประเภทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงได้รับความร่วมมือจากชมรมผู้บริหารแรงงานสัมพันธ์ภาคตะวันออก , ชมรมบริหารงานบุคคลอีสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง , ชมรมบริหารทรัพยากรมนุษย์เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก ในการประสานงานสถานประกอบการในพื้นที่ ผอ.สคช. กล่าวว่า พื้นที่ EEC เป็นหมุดหมายสำคัญที่จะสามารถพัฒนากำลังแรงงานของประเทศได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการนำหลักสูตรภายในของสถานประกอบการเอง มาเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพของสถาบัน เพื่อยกระดับแรงงานที่มีทักษะอยู่แล้ว ให้ต่อยอดสูงสมรรถนะที่สูงขึ้น จะเป็นการตอกย้ำสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้เห็นศักยภาพของแรงงานไทย อย่างไรก็ดี สถาบันมีแนวทางในการส่งเสริมให้สถานประกอบการต่างๆ นำมาตรฐานอาชีพไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมในสถานประกอบการ และส่งเสริมคุณภาพของการฝึกอบรมในสถานประกอบการผ่านการใช้ชุดฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพ (TPQI E-Training Package) ซึ่งสถาบันได้เริ่มดำเนินการกับสถานประกอบการนำร่อง ตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน มีสถานประกอบการที่นำมาตรฐานอาชีพของสถาบันไปพัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมภายใน (In-House Training) แล้ว จำนวน 35 สถานประกอบการ รวมกว่า 100 หลักสูตร รองรับการพัฒนากำลังคนในกว่า 50 อาชีพ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคบริการ และภาคการท่องเที่ยว

  • คณะอนุกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหา หารือ สคช.จัดทำหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ ภายใต้ THACCA

    21.05.2567
    502 View

    คณะอนุกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ร่วมหารือการจัดทำหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ ภายใต้ THACCA โดยมีนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในฐานะรองประธานอนุกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ด้านอาหาร ร่วมพูดคุย ซึ่งการจัดทำหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพของ THACCA จะดำเนินการสอดรับกับมาตรฐานอาชีพผู้ประกอบอาหารไทยของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ผ่านหลักสูตร THACCA จะได้การรับรองสมรรถนะการเรียนรู้ และมีสิทธิ์ได้รับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพด้วย ซึ่งหลักสูตรเชฟอาหารไทย มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18-60 ปี และมีความพร้อม มีความสนใจประกอบอาชีพเป็นเชฟอาหารไทย รวมถึงผู้ที่อยู่อาชีพอยากจะ up skill re skill หรือมีแผนจะประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารไทยก็สามารถเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรได้ ตามแนวทางของคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

  • สคช. พร้อมร่วมมือ PDPC และธนาคารกรุงไทย ยกระดับการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

    20.05.2567
    518 View

    สคช. พร้อมร่วมมือ PDPC และธนาคารกรุงไทย ยกระดับการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมในการแถลงข่าวโครงการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ระดับอุดมศึกษา (PDPA Challenge 2024 by Krungthai x PDPC Season 2) ซึ่งเป็นความร่วมมือในการจัดงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการแถลงข่าวโดยย้ำว่ากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนต้องรู้ ถึงแม้จะเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งมีการบังคับใช้ แต่เป็นกฎหมายที่สำคัญ เพื่อเป็นการคุ้มคอรงสิทธิส่วนบุคคลของตัวเอง เพราะหากหลุดรั่วไปก็จะสุ่มเสี่ยงให้มิจฉาชีพนำมาก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ โครงการนี้จึงเป็นต้นแบบที่ดีในการให้ความรู้เกี่ยวกับ นางสาวจุลลดา ระบุว่า สถาบันพร้อมให้การสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยสถาบันซึ่งทำงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพนักจัดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่พร้อมให้การรับรองความรู้ ความสามารถ สมรรถนะของผู้ที่ประกอบอาชีพคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer ซึ่งมาตรฐานอาชีพนี้ก็จะตอบโจทย์โครงการนี้ที่นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขัน ต้องผ่านการฝึกอบรมเฉพาะด้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีความรู้ ความสามารถในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็สามารถเก็บสะสมสมรรถนะเหล่านี้ที่สถาบันพร้อมออกเป็นหนังสือรับรองสมรรถนะให้กับผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม ถึงแม้จะยังไม่ได้ประกอบอาชีพด้าน DPO ก็ตาม แต่เมื่อเก็บครบทุกหน่วยสมรรถนะ และต้องการประกอบอาชีพนี้ก็สามารถขอรับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อเป็นการการันตีความรู้ ความสามารถและนำไปใช้ประกอบการเข้าทำงานในอนาคตได้ ทั้งนี้โครงการ PDPA Challenge 2024 ซึ่งมีกำหนดแข่งขันในวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2567 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารกรุงไทย เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา มีการแข่งขันที่ครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 และกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันปัญหาจากต้นน้ำ โดยมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาเยาวชนให้มีความตระหนักรู้และมีความเข้าใจในด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นมาตรการเชิงรุกเพื่อสร้างนักกฎหมายในอนาคตที่มีความรู้ความเข้าใจบริบทของกฎหมายดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • สคช. จับมือ Certiport สหรัฐอเมริกา ยกระดับมาตรฐานอาชีพด้านดิจิทัลสู่มาตรฐานสากล เพิ่มโอกาสคนไทยพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและได้การรับรองเทียบชั้นสากล

    20.05.2567
    509 View

    สคช. จับมือ Certiport สหรัฐอเมริกา ยกระดับมาตรฐานอาชีพด้านดิจิทัลสู่มาตรฐานสากล เพิ่มโอกาสคนไทยพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและได้การรับรองเทียบชั้นสากล สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. มีความร่วมมือกับ Certiport, a business unit of NCS Pearson, Inc., บริษัทและผู้พัฒนา IC3 (Certiport) สนับสนุนคนไทยได้การรับรองมาตรฐานสากลด้านดิจิทัล นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Certiport, a business of NCS Pearson, Inc. สหรัฐอเมริกา โดยมี Mr.Jeffrey Lewis Vice President, APAC Business Development Certiport และ Mr.Mandaar Barve Regional Manager, India and Southeast Asia Certiport เข้าร่วมในพิธีลงนาม โดย Certiport, a business of NCS Pearson, Inc. ผู้นำศูนย์ทดสอบทักษะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทุกประเทศยอมรับ และเป็นบริษัทและผู้พัฒนา IC3 Digital Literacy Certificate หรือ การประเมินทักษะด้านการใช้ Digital Literacy โดยสาระสำคัญของความร่วมมือ เป็นไปเพื่อร่วมกันสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐ นักศึกษา ประชาชนคนไทย ร่วมการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพของ สคช. โดย Certiport เป็นผู้จัดหาแพลตฟอร์มเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ และสมรรถนะสนับสนุนการทำงาน การแก้ไขปัญหา รวมถึงจัดให้มีการฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพด้านดิจิทัล นางสาวจุลลดา ระบุว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการยกระดับอีกขั้นในภารกิจการดำเนินงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ โดยเฉพาะทางด้านดิจิทัล ที่เป็นการการันตีความเป็นมาตรฐานสากล เพราะมาตรฐานจาก Certiport เป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ว่าผู้ที่ได้การรับรองเป็นผู้มีความสามารถในการใช้โปรแกรมได้อย่างแท้จริง การนำมาตรฐานของ Certiport มาใช้เป็นสมรรถนะสนับสนุนการทำงาน โดยใช้มาตรฐานระดับสากลที่รับรองความรู้ ความสามารถในการใช้งานทักษะด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ โปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยที่ถือ certificate ของ Certiport สามารถรับหนังสือรับรองสมรรถนะสนับสนุนการทำงานจากสถาบันได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ Certiport จะทำหน้าที่เป็นหน่วยให้บริการฝึกอบรม เพื่อนำไปสู่การรับรองทักษะด้านดิจิทัล โดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมและทดสอบโดย Certiport ก็สามารถรับหนังสือรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ในคราวเดียวกัน รวมถึงยังสามารถเก็บสะสมสมรรถนะเพื่อนำไปสู่การรับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพได้ในอนาคต ผ่านการใช้แพลตฟอร์ม E-Workforce ecosystem (EWE) ได้ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะช่วยสร้างทักษะ ความรู้ใหม่ๆ พร้อมสร้างจุดแข็งให้คนไทย ในการยกระดับความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล เพื่อเป็นใบเบิกทางไปสู่การเป็นผู้มีทักษะสูงในการทำงาน Mr.Jeffrey Lewis ระบุว่า ต้องการให้ความร่วมมือครั้งนี้ขยายไปถึงภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม ที่จะช่วยต่อยอดสมรรถนะในการทำงานของแรงงานให้สูงขึ้น ซึ่งนอกจากพัฒนาแรงงานของไทยแล้ว ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย สำหรับการรับรองมาตรฐานอาชีพของ Certiport มาใช้เป็นสมรรถนะสนับสนุนการทำงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ปัจจุบันมีด้วยกัน 7 สมรรถนะสนับสนุนการทำงาน ประกอบด้วยสมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้โปรแกรมประมวลผลคำ สำหรับการทำงาน (Microsoft Office Specialist Program: Microsoft Word) สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ สำหรับการทำงานขั้นต้น (Microsoft Office Specialist Program: Microsoft Excel) สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ สำหรับการทำงาน ขั้นประยุกต์ (Microsoft Office Specialist Program: Microsoft Excell Expert) สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้โปรแกรมงานนำเสนอ สำหรับการทำงาน (Microsoft Office Specialist Program: Microsoft PowerPoint) สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้โปรแกรมสร้างภาพราสเตอร์ สำหรับการออกแบบ (Adobe Certified Professional: Photoshop) สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้โปรแกรมสร้างภาพเวกเตอร์ สำหรับการออกแบบ (Adobe Certified Professional: Illustrator) สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ สำหรับงานมัลติมีเดีย (Adobe Certified Professional: Premiere Pro) ซึ่งผู้ที่ได้รับการรับรองจาก Certiport มาแล้วสามารถมายื่นขอรับหนังสือรับรองสมรรถนะสนับสนุนการทำงานจากสถาบันได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เบื้องต้นมีผู้ผ่านการทดสอบสมรรถนะสนับสนุนการทำงานของสถาบันตามมาตรฐานของ Certiport แล้ว 250 คนด้วยกัน

  • 7 หน่วยงาน ลงนาม MOU ร่วมพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบิน ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการบินของภูมิภาค

    17.05.2567
    519 View

    7 หน่วยงาน ลงนาม MOU ร่วมพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบิน ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการบินของภูมิภาค วันนี้ (วันที่ 17 พฤษภาคม 2567) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ร่วมมือกับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ว่าด้วยความร่วมมือเรื่องการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบิน โดยมีผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมพิธีลงนามดังกล่าวอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุม Auditorium เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) สำนักงานใหญ่ วังจันทร์วัลเลย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยง ประสานงานกันเป็นเครือข่ายด้านการพัฒนานวัตกรรมการบินควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรระดับอุดมศึกษา หวังปั้นเป็นศูนย์กลางด้านการบินแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Hub of Aviation) เพื่อสอดรับกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยผ่านการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สอดรับกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ที่ได้เน้นย้ำเรื่องการเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) และศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO Hub) ของภูมิภาค ซึ่งจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว (Tourism Hub) และศูนย์กลางโลจิสติกส์ (Logistic Hub) ได้อีกด้วย การร่วมมือกันครั้งนี้จะมีการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาบุคลากรสมรรถนะสูง และจะมีการ Spill-over ออกมาในอุตสาหกรรมการบิน (Aviation) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น Aviation Hub ที่มีนวัตกรรมที่ใช้ Local content ในประเทศ และสร้างผลกระทบ (Impact) สูงมาก โดย สอวช. บพข. และ บพค. จะทำงานร่วมกันผ่านโครงการ Project lead the way เพื่อพัฒนาวัตกรรม และพัฒนาบุคลากรสมรรถนะสูงสองกลุ่ม คือ กลุ่มวิศวกร และกลุ่มที่ Spinoff ในรูปแบบบริษัท (Corporate) ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เพื่อผลิตเทคโนโลยีให้กับ บวท. และต่างประเทศ โดยเป้าหมายของ Aviation Hub จะต้องมีนวัตกรรมที่เป็นของคนไทย สร้างธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) และสร้างบุคลากรสมรรถนะสูงเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินต่อไป ดร. วุฒิ ด่านกิตติกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า EECi อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหนึ่งใน โครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งรัฐบาลพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 สำหรับการเข้าร่วมเป็นภาคีของบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรวิจัยของ สวทช. ได้เข้าร่วมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านการบิน สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและอุตสาหกรรม อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านการขยายผลงานวิจัย (Translational Research Infrastructure) ภายใน EECi เพื่อการพัฒนานวัตกรรมด้านการบิน ยกตัวอย่างเช่น Testbed สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่อยู่ภายในศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) สนามทดสอบอากาศยานไร้คนขับ (UAV Sandbox) และพื้นที่ภายในกลุ่มอาคารสำนักงานใหญ่ EECi ที่จะสามารถช่วยสนับสนุนให้เกิดการขยายผลการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้านการบินให้รุดหน้า เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ให้เป็นศูนย์กลางทางการบินและโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค ดร. ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรร่วมสร้างนวัตกรรมด้านการบิน เช่น นวัตกรรมการบริหารจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management Innovation) นวัตกรรมสำหรับการปฏิบัติการ ณ ท่าอากาศยาน (Airport Operations Innovation) นวัตกรรมอากาศยานซึ่งไม่มีคนขับ (Unmanned Aircraft Innovation) และนวัตกรรมการจัดการอากาศยานซึ่งไม่มีคนขับ (Unmanned Traffic Management Innovation) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ความสอดคล้องตามความต้องการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ในพัฒนาบุคลากรมืออาชีพให้พร้อมปฏิบัติงานด้านการบินและงานที่เกี่ยวเนื่องในอนาคต (Next Generation of Aviation Professional: NGAP) และการยกระดับความสามารถในกิจการบิน รวมทั้งรองรับเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ยกระดับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า การร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง บพข. พร้อมที่จะสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการบินของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดการในมิติที่สำคัญ เช่น Stakeholder engagement/ Empowerment, Risk and change management และการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อผลักดันให้เกิดความสำเร็จตามระดับ Technology Readiness Level (TRL) ที่คาดหวัง และเกิดการต่อยอดต้นแบบนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์ (Innovation Utilization) ในธุรกิจการบิน หรือการขยายผลผ่านการจัดตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ (Startup) เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมการบินแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทักษะและความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้ร่วมโครงการ ทั้งภาคสถาบันอุดมศึกษา ภาควิชาการ ภาควิจัย และภาคเอกชน ผ่านการปฏิบัติจริง ถือเป็นการสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมการบินที่เข้มแข็ง เพื่อนำไปสู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการบินของประเทศต่อไป ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กล่าวว่า "การสานพลังความร่วมมือในการลงนาม MOU ครั้งนี้ นับว่าจะเป็นอีกก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการบินของประเทศที่จะเป็นการยกระดับทักษะและสมรรถนะเฉพาะบุคคลให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการเดินอากาศ การจราจรทางอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรีอนระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะใหม่ (New Skillset) ความสามารถที่ตรงตามความต้องการของภาคผู้ใช้ (Demand-driven) เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นทัดเทียมในระดับสากลได้ โดย บพค. จะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านการบินมุ่งสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมถึงสนับสนุนการสร้างทักษะผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ให้เป็นผู้สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งนี้ บพค. มองว่าการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนสมรรถนะสูงให้มีทักษะใหม่ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม จะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ในอนาคต” นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า “ส.อ.ท. มีความพร้อมในการขับเคลื่อนความร่วมมือว่าด้วยเรื่องการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบิน หรือ NGAP-Digital transformation เนื่องจากสอดคล้องกับนโยบาย ส.อ.ท. ภายใต้ ONE FTI ที่จะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเดิม (First Industries) ซึ่งประกอบไปด้วย 46 กลุ่มอุตสาหกรรม 11 คลัสเตอร์ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด 5 สภาอุตสาหกรรมภาค เพื่อให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ไปสู่อุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next-GEN Industries) โดยหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ส.อ.ท. ขับเคลื่อน คือ อุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน ส.อ.ท. มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านการบิน จากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมสู่การขยายผลกลุ่มอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. ให้สามารถต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ด้าน Upskill และ Reskill” เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบิน ส.อ.ท. มีแผนจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโต ผ่านกลไกการดำเนินงานของ Cluster of FTI Future Mobility-ONE (CFM-ONE) และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ EEC รวมถึงการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มส.อ.ท. อาทิ FTI Academy และสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ เพื่อยกระดับให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มพูนทักษะที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรม และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับ Future Skill กับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งจะเป็นโอกาสของภาคอุตสาหกรรมในการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของตลาดโลก นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า สถาบันพร้อมให้ความร่วมมือและร่วมพัฒนาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงด้วยกลไกการพัฒนาและรับรองสมรรถนะของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบินในมิติส่งเสริมสมรรถนะที่ทำให้การประกอบอาชีพก้าวสู่การแข่งขันของเศรษฐกิจได้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน Digital Skill ตามภารกิจหลักของสถาบัน โดยการรับรองทักษะที่เป็นสมรรถนะสูงสำหรับการเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการบินและงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น Data Analytic, Data Science, Data Engineer เป็นต้น จะสามารถตอบโจทย์การเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีแห่งอนาคต (Future Technology) ในอุตสาหกรรมการบินด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งส่งผลให้กิจการการบินมีผู้ปฏิบัติงานที่มีสมรรถนะสูง ขณะเดียวกันด้วยแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem Platform จะสามารถทำให้บุคลากรเข้าถึงการพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้นและได้รับการส่งเสริมในอาชีพจากภาครัฐอย่างเป็นระบบ สามารถสั่งสมสมรรถนะด้วยระบบ Competency Credit Bank โดยการส่งเสริมให้มีการต่อยอดสู่การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพในอาชีพที่มีสมรรถนะสูงของ สคช. อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อบุคลากรด้านการบิน ตลอดจนสามารถยกระดับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ พัฒนาให้เกิดมหานครการบินภาคตะวันออก (Aerotropolis) และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย

  • สคช.หารือ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สร้างความร่วมมือในการพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ รองรับการพัฒนายกระดับบุคลากรของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ด้วยแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem

    14.05.2567
    541 View

    นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วย นางสาวพรภัทรา ฉิมพลอย ผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ หารือร่วมกับนางสาวบุญรัตน์ อาจหาญรณฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี และคณะเจ้าหน้าที่ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกี่ยวกับแนวทางการสร้างความร่วมมือในการพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ รองรับการพัฒนายกระดับบุคลากรของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ด้วยแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem นอกจากนี้จะได้มีการส่งเสริมให้บุคลากรของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เข้าใช้งานแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Portfolio) รวมถึงสร้างการเรียนรู้สมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านทางระบบ E-Training และยังได้มีการหารือทิศทางการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือแนะนำด้านการเงิน การบัญชี ให้กับสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ