ข่าวประชาสัมพันธ์

  • สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมท้องถิ่นเพชรบูรณ์ เปิดโลกคุณวุฒิวิชาชีพ เติมทักษะคนเมืองมะขามหวาน ต่อยอดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    06.03.2567
    1,226 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมท้องถิ่นเพชรบูรณ์ เปิดโลกคุณวุฒิวิชาชีพ เติมทักษะคนเมืองมะขามหวาน ต่อยอดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดกิจกรรมเปิดโลกคุณวุฒิวิชาชีพ อบรมฝึกทักษะทำมาหากินตามมาตรฐานอาชีพ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ดัดแปลงวัตถุดิบพื้นถิ่นอย่างมะขามหวาน น้ำผึ้ง ให้เป็นเมนูอาหาร และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด การสร้างพื้นฐานต่อยอดให้เป็นอาชีพได้ สอดรับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ของรัฐบาล สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงช่องทางและเทคนิคการจำหน่ายทำการตลาดเพื่อสร้างรายได้ โดยท้องถิ่นเพชรบูรณ์ มีความต้องการเสริมทักษะทางอาชีพให้กับชาวบ้าน สร้างผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ในชุมชน รองรับการท่องเที่ยวหลังยูเนสโก ประกาศให้ เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งที่ 4 ของไทย และเป็นมรกดโลกแห่งที่ 7 ของประเทศไทย นายอัครเดช ทองใจสด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดเพชรบูรณ์มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวเพชรบูรณ์ปีละไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ที่ผ่านมาจังหวัดมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายอย่าง มีสินค้าที่อยากทำ อยากขายแต่ไม่มีความรู้ ไม่ทราบว่าหัวใจการผลิตที่จะทำให้ขายได้ ความร่วมมือกับสถาบันคุณวุฒิ จึงจะเป็นช่องทาง เป็นโอกาสให้คนเพชรบูรณ์ได้เรียนรู้ช่องทางต่างๆ ซึ่งอาจจะได้อาชีพใหม่ให้ตัวเอง หรือเป็นอาชีพให้ลูก ให้ครอบครัว ที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดย อบจ. พร้อมประสานสถาบันเพื่อเจาะลึกไปแต่ละสาขาอาชีพอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวเพชรบูรณ์มีช่องทางการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะตามมาตรฐานอาชีพผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง EWE ที่ล่าสุดเตรียมแจกคูปองสนับสนุนการพัฒนาตนเอง รีสกิล อัปสกิล เข้าอบรมฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ได้ยกระดับความรู้ความสามารถ โดยความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ จะเป็นการสร้างต้นแบบการฝึกอบรมอาชีพร่วมกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับคนในท้องถิ่นชุมชน ส่งเสริมให้เกิดการสร้างทักษะในการประกอบอาชีพที่ตรงตามมาตรฐานอาชีพ และนำไปสู่การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพต่อไป อันจะเป็นการรองรับการพัฒนาศักยภาพชุมชนและการปรับตัวของ SMEs สู่การแข่งขันในตลาดด้วย

  • สคช.-MASCI เปิดอบรมสร้าง CB มาตรฐานสากล ตอกย้ำวงประชุมระดับโลก IAF เชื่อมั่นการรับรองบุคลากรทั่วโลกตามแนวทาง ISO/IEC17024

    05.03.2567
    1,064 View

    สคช.-MASCI เปิดอบรมสร้าง CB มาตรฐานสากล ตอกย้ำวงประชุมระดับโลก IAF เชื่อมั่นการรับรองบุคลากรทั่วโลกตามแนวทาง ISO/IEC17024

  • สคช. จับมือ กยศ. ดันนักเรียน นักศึกษาในเครือข่ายกว่า 6 ล้านคน เข้าสู่ระบบ EWE เพื่อเปิดโอกาส การมีงานทำ

    29.02.2567
    1,651 View

    สคช. จับมือ กยศ. ดันนักเรียน นักศึกษาในเครือข่ายกว่า 6 ล้านคน เข้าสู่ระบบ EWE เพื่อเปิดโอกาส การมีงานทำ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. จับมือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนากำลังคนผ่านระบบ E-Workforce Ecosystem โดยมีนางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วย นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นผู้จรดปากกาลงนาม โดยมี นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วยนางสาวนฤมล พูลทรัพย์ ที่ปรึกษาสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และนางสาวนันทวัน วงศ์ขจรกิตติ รองผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากทั้ง 2 ฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยาน นางสาวจุลลดา กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งครั้งสำคัญ ในการร่วมกันพัฒนากำลังคนของประเทศ โดยมีเจตนารมณ์ ในการร่วมกันส่งเสริมการใช้งานระบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Portfolio พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้แพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem (EWE) ในการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย รวมถึงผลักดันการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่ผ่าน E-Training ซึ่งทาง กยศ. มีการเปิดช่องทาง Up Skill และ Re Skill ซึ่งตรงกับความตั้งใจและเจตนารมณ์ ของสถาบัน ที่ต้องการเพิ่มช่องทาง ในการพัฒนากำลังคนของประเทศ โดย สคช. จะเป็นหน่วยงาน ที่มีเครื่องมือพร้อมสำหรับการใช้งาน ซึ่งประชาชนจะได้ประโยชน์จากการให้บริการบนแพลตฟอร์ม EWE โดยทาง กยศ. จะเดินหน้าขับเคลื่อนให้นักเรียน นักศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืม ได้เข้าใช้งาน E-portfolio ซึ่งสามารถเก็บประวัติข้อมูลด้านการศึกษา ผลงาน ประสบการณ์ทำงาน การฝึกอบรมต่างๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถสร้างเรซูเม่ เปิดโอกาสไปสู่การมีงานทำ ผ่านระบบจับคู่งาน หรือ Job Matching กับสถานประกอบการต่างๆ ตลอดจนการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม เพื่อช่วยเพิ่มทักษะ พัฒนาทักษะ และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็น ด้วยการขอรับ E-Coupon พร้อมเก็บสะสมสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้ ได้ที่ระบบ Competency Credit Bank นำไปสู่การได้รับคุณวุฒิวิชาชีพที่เทียบเท่ากับคุณวุฒิการศึกษา เพื่อการยกระดับกำลังคนของประเทศ ทั้งนี้ กยศ. ยังสามารถดูรายงานสถานะการมีงานทำของนักเรียนหรือนักศึกษาในรูปแบบแดชบอร์ด (Dashboard) ตลอดจนการประกอบอาชีพของนักเรียน นักศึกษา ในเครือข่าย เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ วางแผนการให้เงินทุนกู้ยืมการศึกษา และการกำหนดสาขาวิชาที่จะให้เงินทุนกู้ยืมการศึกษาได้ต่อไป นายชัยณรงค์ กล่าวว่า กองทุน มีนักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืม ที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา ตั้งแต่ปี 2539-2567 ไปแล้วกว่า 6.8 ล้านคน เป็นเงินให้กู้ยืมกว่า 7.6 แสนล้านบาท ทั้งนี้ กยศ. มีการเปิดช่องทางให้นักเรียน นักศึกษา ได้กู้ยืมเงินเพื่อมีโอกาสฝึกอาชีพ Up Skill Re Skill เริ่มต้นที่สาขาบริบาล เพื่อให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งหากคนกลุ่มนี้ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ก็จะช่วยสร้างความมั่นคง และมีรายได้จากการประกอบอาชีพ สำหรับบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในครั้งนี้ กยศ. เล็งเห็นความสำคัญ ของ EWE Platform โดยเฉพาะระบบ E-Portfolio ที่สามารถให้นักเรียน นักศึกษาในเครือข่าย ที่มีความรู้ และความสามารถ ได้มีโอกาสในการเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ พร้อมเก็บข้อมูลด้านการศึกษา การฝึกอบรม และประสบการณ์ต่างๆ ผ่าน E-Portfolio นำไปสู่การมีงานทำ และการประกอบอาชีพที่มั่นคงต่อไป

  • สคช. ร่วมยกระดับ 70 นักบริหารงานบุคคล จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ก้าวสู่บันไดมืออาชีพ

    27.02.2567
    1,570 View

    23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม Auditorium CP All Academy สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มอบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ให้ผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล จำนวน 70 คน ประกอบด้วย อาชีพสรรหาและคัดเลือกบุคลากร อาชีพพนักงานสัมพันธ์ อาชีพบริหารค่าตอบแทน อาชีพเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรบุคคล อาชีพวางแผนอัตรากำลัง อาชีพนักพัฒนาองค์การ อาชีพบริหารงานงาน อาชีพบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 3 -7 จากศูนย์รับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ แห่งสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIM CERTIFIED CENTER : PIM HRCC องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลาตามมาตรฐานอาชีพ โดยมี ผศ.ดร.เลิศชัย สุธรรมานนท์ รองอธิการบดี ส่วนพัฒนางานบริการวิชาการและองค์กร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ให้การต้อนรับ นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า นักบริหารงานบุคคลในองค์กร เป็นบุคลากรสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษากำลังคน ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจให้นักบริหารทรัพยากรบุคคลได้ทำหน้าที่อย่างมีศักยภาพตามมาตรฐานอาชีพ พร้อมด้วยการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จะเป็นแต้มต่อที่จะทำให้องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพที่ได้รับในวันนี้ จะเป็นสิ่งที่การันตีได้ว่า ทุกคนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพ เพราะกว่าจะเป็น นักบริหารงานบุคคล จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในอาชีพอย่างเข้มข้นมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับใบประกาศนียบัตร เป็นบุคลากรที่มีความพร้อม ที่จะเป็นต้นแบบในการนำมาตรฐานอาชีพไปใช้ในการทำงาน พร้อมกับการเป็นนักบริหารงานบุคคล มืออาชีพอย่างเต็มตัว ไม่เพียงแต่การทำงานตามมาตรฐานอาชีพเท่านั้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ยังต้องรับมือ พร้อมปรับตัวให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเทคโนโลยีในโลกดิจิทัล

  • สคช. ร่วมแสดงความยินดีครบรอบ 44 ปี หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

    27.02.2567
    1,353 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นตัวแทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมแสดงความยินดี ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสงานวันสถาปนาครบรอบ 44 ปี ก้าวสู่ปีที่ 45 ฐานเศรษฐกิจ โดยมีนายทิฆัมพร ศรีจันทร์ บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ให้การต้อนรับ ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ นางสาววรชนาธิป กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 44 ปี พร้อมอวยพรให้ฐานเศรษฐกิจ เป็นสื่อคุณภาพ นำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน รวมถึงเป็นหนึ่งในช่องทาง ที่ช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบอาชีพในประเทศต่อไป

  • นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าหารือกับนายธนสาร ธรรมสอน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมยกระดับทักษะให้กับกลุ่มเกษตรกรด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

    27.02.2567
    1,447 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าหารือกับนายธนสาร ธรรมสอน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมยกระดับทักษะให้กับกลุ่มเกษตรกรด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ โดยเฉพาะแนวทางการรับรองอาชีพนักส่งเสริมการเกษตร ให้กับกลุ่มเกษตรอาสา รวมถึงกลุ่มหมอดิน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวทางในการมอบค่าตอบแทนให้กับกลุ่มอาสาสมัครเช่นกันกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซึ่งหากใช้แนวทางระบบคุณวุฒิวิชาชีพซึ่งมีการทั้งอบรม ทดสอบ และให้การรับรองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะให้กับกลุ่มเกษตรอาสาก็จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ พร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินการกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพอย่างเต็มที่

  • สคช. ผลักดันการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทย

    27.02.2567
    1,444 View

    สคช. ผลักดันการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มอบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพและวุฒิบัตรการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมก่ออิฐและฉาบปูน สำหรับช่างก่อสร้างชาวกัมพูชา ก่อนมาทำงานในประเทศไทย โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมรุ่นแรกนี้จำนวน 24 คน โครงการนี้เป็นโครงการนำร่องภายใต้ความร่วมมือของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. มูลนิธิแรงงานสากลแห่งประเทศญี่ปุ่น (JILAF) องค์การเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ (IOM) สังกัดสหประชาชาติ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (ECOT) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (SCG) สมาคมผู้จัดหาแรงงานแห่งประเทศกัมพูชา (ACRA) และกระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษา ประเทศกัมพูชา โดยมุ่งเน้นที่สาขาก่อสร้าง ก่อนจะขยายผลไปสู่สาขาอื่นๆ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำเข้าแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะตามมาตรฐานอาชีพไทย แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานให้กับนายจ้างไทย รวมถึงช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนให้กับแรงงาน โครงการนี้เกิดขึ้นจากสภาองค์การนายจ้างฯ สำรวจความต้องการแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะขั้นต้น จัดหาแรงงานโดยสมาคมผู้จัดหาแรงงานฯ ฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพโดย SCG ประสานงานโดย IOM ภายใต้การบริหารโครงการของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และงบประมาณจาก JILAF โดยกระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษา กัมพูชาแสดงความขอบคุณและหวังว่าจะได้ร่วมมือต่อเนื่อง เพื่อผลักดันการนำเข้าแรงงานที่มีคุณภาพภายใต้ MOU การจัดหางานระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาต่อไป

  • วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และงานหัตกรรมชุมชม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาชุมชนไทย

    23.02.2567
    1,651 View

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และงานหัตกรรมชุมชม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาชุมชนไทย ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี และบ้านคำปุน ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ข้าราชการ ประชาชน และคณะทำงานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก เฝ้ารับเสด็จ โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงคัดเลือกผลงานที่โดดเด่นและมีเรื่องเล่า (Story) 20 ชิ้นงาน จากผู้ประกอบการ 20 ราย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน เข้ารับคำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอและเครื่องจักรสาน โดยนางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้พร้อมเตรียมการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพให้ บุคลากรในกลุ่มอาชีพศิลปะหัตถกรรม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

  • สคช. มอบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ รับรองผู้ช่วยผู้จัดการร้าน จากฟู้ด แฟคเตอร์ การันตีการให้บริการมืออาชีพ

    23.02.2567
    1,549 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มอบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ให้กับผู้ที่สำเร็จการฝึกอบรม ได้รับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ และหนังสือรับรองสมรรถนะ ในอาชีพผู้ช่วยจัดการร้าน คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 3 และระดับ 4 จากร้าน EST.33 ร้านคิตะโอจิ และร้านเชฟป้อม ร้านอาหารชื่อดัง บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด เพื่อเชิดชูความสำเร็จ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมกันนี้ ได้มอบหนังสือเห็นชอบหลักสูตรฝึกอบรมในสถานประกอบการตามมาตรฐานอาชีพ ให้แก่บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจอาหาร ซานตา เฟ่ สเต็ก (Santa Fe’’) และร้านอาหารอีสาน เหม็ง แซ็ปนัว โดยมีนายกฤษณ์ เปลื้องประสิทธิ์ Senior HRBP Manager บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ให้การต้อนรับและร่วมแสดงความยินดี นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มีความเชื่อมั่นว่าสถานประกอบการแต่ละแห่ง ต่างกระบวนการพัฒนากำลังคนที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว โดยเฉพาะบริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในสถานประกอบการที่ให้ความสำคัญ และมองเห็นคุณค่าของการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ด้วยการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนา จากการเทียบเคียงความสอดคล้องหลักสูตรการฝึกอบรมกับมาตรฐานอาชีพ พร้อมผลักดันให้มีการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพในองค์กร ไม่เพียงแต่การนำไปสู่หลักประกันที่มั่นคงในการประกอบอาชีพ ทั้งรายได้ ความก้าวหน้าในการทำงานเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมแรงให้องค์กรมีการบริหารยอดขายเป็นไปตามเป้า สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจด้านอาหารต่อไป

  • อนุทิน ร่วมวงประชุมสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ชี้การรับรองคนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ช่วยเสริมฐานราก สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ให้คนไทยได้อย่างยั่งยืน

    22.02.2567
    1,543 View

    อนุทิน ร่วมวงประชุมสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ชี้การรับรองคนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ช่วยเสริมฐานราก สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ให้คนไทยได้อย่างยั่งยืน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพวาระพิเศษ ซึ่งมีนายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบัน นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบัน และคณะกรรมการสถาบันเข้าร่วมประชุม โดยมีวาระการหารือภาพรวมการพัฒนากำลังคนของประเทศไทย แนวนโยบายการกำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานอาชีพและระดับคุณวุฒิวิชาชีพ รวมถึงการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ 13 จังหวัดของประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชี้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มีทิศทางการดำเนินงานที่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ จากภารกิจหลักในการรับรองความรู้ ความสามารถ ทักษะในการทำงานของกำลังคน ซึ่งเป็นการยืนยันศักยภาพการทำงาน รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในระดับภูมิภาคอาเซียน ที่ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคทั้งการขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ต่างๆ โดยเฉพาะโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือแลนด์บริดจ์ ซึ่งเป็นโครงการที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพราะจะทำให้เกิดการลงทุนเศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มที่ และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สามารถให้การรับรองคนตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนคุณภาพเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนรองรับโครงการนี้ได้ เมื่อเกิดการจ้างงาน คนไทยมีงานทำ อุตสาหกรรมขยายตัว เพียงเท่านี้ก็สร้างความยั่งยืนให้กับประเทศได้ นายอนุทิน ยังกล่าวว่าประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่การบริการด้านสุขภาพของประเทศไทยก็เป็นเสมือน Soft Power ที่ต่างชาติให้ความนิยม ความชื่นชอบ ธุรกิจโรงพยาบาลจึงมีโอกาสทางเศรษฐกิจสูง และจะนำมาซึ่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว คนนำเที่ยว หรือไกด์ จึงมีความสำคัญ จะเป็นทิศทางที่ดีหากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเข้าไปให้การรับรองคนเหล่านี้ ก็จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวได้ นายอนุทิน ย้ำว่า เงินบาทไทย ซื้อของไทย ใช้ในประเทศไทย ยังไงคนไทยก็จะได้จากเม็ดเงินที่หมุนเวียนภายในประเทศ และนี่คือการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เหนืออื่นใดคือต้องสร้างความมั่นคง สร้างรายได้ ทำให้คนไทยเกิดความยั่งยืนในการสร้างรายได้ ซึ่งทิศทางนโยบายต่างๆ จะขับเคลื่อนให้เกิดโครงการอีกมากในการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นที่ต้องวางรากฐานที่มั่นคงให้กับคนไทย หลักการของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ คือการเติมทักษะ ให้การรับรอง และสามารถนำใบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ในการประกอบอาชีพได้เสมือนใบปริญญา เมื่อพัฒนาคนให้ดี มีโอกาส ช่องทางให้เกิดการจ้างงาน ทำให้คนมีรายได้อย่างยั่งยืน เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในประเทศไทยและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้เช่นกัน ทั้งนี้ในการประชุมได้มีการนำเสนอผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะแรงงานของประเทศไทยด้วย Competency-base payment โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งเห็นตรงกันว่าเป็นแนวทางที่สามารถนำไปสู่การกำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานอาชีพได้ในอนาคต

  • สคช. ร่วมแสดงความยินดี ในโอกาสที่ บสย. ก้าวสู่ปีที่ 33 ต่อยอดโอกาสก้าวเข้าถึงแหล่งทุน ให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ

    21.02.2567
    1,509 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นตัวแทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เข้าร่วมแสดงความยินดี กับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ในโอกาสคล้ายวันสถาปนา บสย. ก้าวสู่ปีที่ 33 โดยมีนางดุสิดา ทัพวงษ์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโสสายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ พร้อมด้วย นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ รองผู้จัดการทั่วไปสายกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ และนายวุฒิพันธ์ุ ปริดิพันธ์ รองผู้จัดการทั่วไปสายงานปฏิบัติการ เป็นผู้รับมอบ ในการนี้ สคช. ได้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนเพื่อเป็นการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ให้กับมูลนิธิออทิสติกไทย (Autistic Thai Foundation) แทนการมอบประเช้าและของขวัญแสดงความยินดี นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ได้มีการทำงานร่วมกันกับพันธมิตรอย่าง บสย. ตามโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs คุณวุฒิวิชาชีพ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งปีนี้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในเครือข่ายของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ให้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการเงิน และให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น ซึ่ง ทาง บสย. จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ได้มีการบริหารจัดการเงินทุนในการทำธุรกิจ ทั้งการทำบัญชีการเงิน เสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ รวมถึงการเข้าไปช่วยค้ำประกันเงินกู้ ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทุกธนาคาร ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการประเมิน และได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จาก สคช. ก็จะมีโอกาสในการพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันทางการเงิน โดยการค้ำประกันสินเชื่อธุรกิจจาก บสย. นับเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ต่อยอดทางธุรกิจอย่างเข้มแข็งต่อไป

  • สคช. ส่งเสริมเยาวชนชายแดนใต้ ฝึกประสบการณ์ตามมาตรฐานอาชีพสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่าน E-Workforce Ecosystem

    19.02.2567
    1,498 View

    สคช. ส่งเสริมเยาวชนชายแดนใต้ ฝึกประสบการณ์ตามมาตรฐานอาชีพสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่าน E-Workforce Ecosystem นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำทีม สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เดินทางลงพื้นที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรระยะสั้นที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพหรือสมรรถนะสนับสนุนการทำงาน มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการพัฒนากำลังคนให้เข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นการฝึกฝนความรู้ ความสามารถ และทักษะ ที่จำเป็นในการทำงานในอาชีพนั้น ๆ ให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีนายแวอิสเฮาะ แวบาราเฮ็ง รองนายกเทศมนตรีตำบลปะนาเระ ให้การต้อนรับและสนับสนุนการการดำเนินงานดังกล่าว สถาบันคุณวุฒิวชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ร่วมกับองค์การยูนิเซฟประเทศไทย จัดโครงการฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพและจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่าน E-Workforce Ecosystem สำหรับเยาวชน ช่วงอายุ 15-24 ปี ที่ขาดโอกาส ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาหรือหลุดจากภาคการศึกษา ไม่สามารถเข้าถึงบริการฝึกอบรม ไม่ได้ทำงาน ให้ได้รับโอกาสและเพื่อให้เยาวชนเข้าถึงระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าถึงข้อมูลหลักสูตรการฝึกอบรม สร้างโอกาสในการต่อยอดพัฒนาทักษะ (upskill, reskill) สามารถสะสมผลงาน สร้างเรซูเม่ เพิ่มโอกาสในการหางาน สะสมผลลัพธ์การเรียนรู้ผ่าน digital competency credit bank รวมถึงมีเครื่องมือในการกำหนดเส้นทางอาชีพ การวางแผนพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่าน E-Workforce Ecosystem สำหรับโครงการฝึกอบรมดังกล่าว จะจัดขึ้นใน 2 พื้นที่ได้แก่ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 17 – 21 กุมภาพันธ์ 2567 และ หมู่บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 – 5 มีนาคม 2567 สำหรับเนื้อหาในการฝึกอบรมในโครงการนี้ ได้มีการนำมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขาการจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น อาชีพนักเล่าเรื่องท้องถิ่น ระดับ 4 มาปรับใช้เป็นหลักสูตร นักเล่าเรื่องท้องถิ่นมืออาชีพ ประกอบด้วย 7 หน่วยสมรรถนะ ระยะเวลาการฝึกอบรม 24 ชั่วโมง (ภาคทฤษฎี 9 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 15 ชั่วโมง) อาชีพผู้ประกอบการอาหารท้องถิ่น ระดับ 4 หลักสูตร ผู้ประกอบการอาหารท้องถิ่นมืออาชีพ ประกอบด้วย9 หน่วยสมรรถนะ ระยะเวลาการฝึกอบรม 15 ชั่วโมง (ภาคทฤษฎี 9 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 6 ชั่วโมง) และสมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้อีคอมเมิร์ซ ระดับ 2 หลักสูตร นักขายออนไลน์มือใหม่สู่มืออาชีพด้วย Content Marketing ประกอบด้วย 8 หน่วยสมรรถนะ ระยะเวลาการฝึกอบรม 18 ชั่วโมง (ภาคทฤษฎี 7 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 11 ชั่วโมง) และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรม และหากผ่านการประเมินด้วยวิธีการและเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงมีคุณสมบัติการเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพตามที่มาตรฐานอาชีพกำหนด จะได้รับหนังสือรับรองสมรรถนะหรือคุณวุฒิวิชาชีพในภายหลังต่อไป

  • สคช. - ศูนย์วิจัยป่าไม้ ม.เกษตร จัดประเมินฯ รุกขกร และผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ รุ่นแรก เร่งผลิตบุคลากรที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ รองรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

    17.02.2567
    1,642 View

    สคช. - ศูนย์วิจัยป่าไม้ ม.เกษตร จัดประเมินฯ รุกขกร และผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ รุ่นแรก เร่งผลิตบุคลากรที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ รองรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. โดย ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ จัดการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพรุกขกร ระดับ 4 และผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ ระดับ 3 โดยมีคนในอาชีพ จากหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนเข้าร่วมการประเมินกว่า 70 คน นายณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรก ของศูนย์วิจัยป่าไม้ ที่มีการประเมิน ผู้ประกอบอาชีพรุกขกร และผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ ซึ่งถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญกับสังคมปัจจุบัน ที่ต้องการพื้นที่สีเขียวมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ต้องมีการจัดการต้นไม้อย่างเป็นระบบ โดยปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนบุคลากร ในอาชีพ รุกขกร ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการดูแลต้นไม้ ส่งผลให้เกิดปัญหากับต้นไม้ที่ปลูกในเขตเมือง อาทิ การตัดต้นไม้ให้เหลือแต่ตอ ตัดแต่งที่กิ่งใบ ไม่สวยงาม และไม่เป็นไปมาตรฐานความปลอดภัยส่งผลให้เกิดอันตรายและอุบัติเหตุจากต้นไม้อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น การผลักดันให้ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จะเป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นว่าคนทำงานมีมาตรฐาน ผู้ปฏิบัติงานภาคสนามดำเนินการได้อย่างถูกต้อง และมีความปลอดภัย สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการได้ ขณะเดียวกัน ก็เพื่อให้ต้นไม้อยู่รอดได้ ตามสภาพของแต่ละพื้นที่ และปลอดภัยกับคนที่อยู่ใกล้ต้นไม้อีกด้วย สำหรับผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ จะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานบนต้นไม้ การตรวจสอบอุปกรณ์ให้มีความสมบูรณ์ ก่อนเริ่มปฏิบัติงานต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยของต้นไม้ และพื้นที่ปฏิบัติงาน ก่อนทำการติดตั้งเชือกปีน เคลื่อนที่เพื่อปฏิบัติงานบนต้นไม้อย่างถูกต้อง รวมถึงต้องสามารถลงจากต้นไม้ด้วยความปลอดภัยด้วย ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ต้องทำงานร่วมต่อกับรุกขกร ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ในการวางแผนการจัดการต้นไม้ การดูแลรักษาต้นไม้ การตัดแต่งต้นไม้ ตลอดจนการป้องกันต้นไม้จากอันตรายต่าง ๆ เช่น ภัยธรรมชาติ โรค และแมลงศัตรู รวมทั้งสามารถจัดการต้นไม้ให้สามารถอยู่ร่วมกัน และตองสนองความต้องการของมนุษย์อย่างสมบูรณ์ และยั่งยืน

  • สคช.เตรียมพัฒนาคุณภาพกำลังคนในท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

    16.02.2567
    1,514 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ประชุมหารือร่วมกับ นางราณี วงศ์ลุน รักษาการพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด พัฒนาชุมชนอำเภอ 8 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยเอ็ด ถึงแนวทางในการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ โดยแต่ละพื้นที่มีความสนใจยกระดับทักษะการประกอบอาชีพให้ชุมชนตามมาตรฐานอาชีพของสถาบัน เพื่อส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นมีโอกาสนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้หรือสร้างอาชีพเสริมต่อไป เบื้องต้นพัฒนาชุมชนแต่ละอำเภอได้นำเสนอกลุ่มอาชีพตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ในการพัฒนาคน โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาชีพที่ต้องการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรในชุมชน ผลิตภัณฑ์จักสาน ผ้าทอ และช่องทางการตลาดเพื่อการจัดจำหน่าย นางสาววรชนาธิป ระบุ สถาบันมีความพร้อมสนับสนุนพัฒนาคนในพื้นที่ด้วยมาตรฐานอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม และการประเมินเพื่อการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันให้จัดการฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพในอาชีพเสริมสวย อาหาร บาริสต้า และส่งเสริมให้มีการต่อยอดช่องทางการจำหน่ายด้วยการตลาดออนไลน์ ก่อนนำไปสู่การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพให้คนในอาชีพที่ผ่านการอบรมต่อไป เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงทางอาชีพ เพิ่มโอกาสในการนำผลผลิตในพื้นที่มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งนำไปสู่การสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

  • สคช. ติวเข้ม องค์กรรับรองฯ -องค์กรฝึกอบรม เตรียมนำร่องใช้งานระบบ E-Coupon เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต่อยอดไปสู่การรับคุณวุฒิวิชาชีพ

    15.02.2567
    1,990 View

    สคช. ติวเข้ม องค์กรรับรองฯ - องค์กรฝึกอบรม เตรียมนำร่องใช้งานระบบ E-Coupon เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต่อยอดไปสู่การรับคุณวุฒิวิชาชีพ 15 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวจุลลดา มีจุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้มอบหมายให้ นางสาวพรภัทรา ฉิมพลอย ผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ และนางสาวมะลิ จันทร์สุนทร ผู้อำนวยการสำนักรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. จัดการฝึกอบรมการใช้งานระบบคูปองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ E-Coupon ให้แก่องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม และองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ได้รับรู้ถึงแนวทางการจัดการฝึกอบรมที่ช่วยเพิ่มทักษะ Up-Skill หรือพัฒนาทักษะ Re-Skill ผ่านการให้บริการด้วยระบบ E-Coupon ที่จะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม และเก็บสะสมสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่าน Competency Credit Bank และนำไปสู่การได้รับคุณวุฒิวิชาชีพได้ในอนาคต โดยมีองค์กรที่เข้าร่วมการอบรมทั้งผ่านระบบออนไลน์ และออนไซต์ จำนวนกว่า 60 แห่ง สำหรับระบบ E-Coupon ถือเป็นหัวใจสำคัญ ในการสร้างแรงจูงใจในการให้กำลังคนมีการพัฒนาตัวเอง ผ่านการฝึกอบรม เพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจะต้องมีการลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ E-Portfolio ที่เป็นการทำงานภายใต้ E-Workforce Ecosystem Platform (EWE) ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้คนมีงานทำ นอกจากระบบ E-Coupon และ E-Portfolio ที่สามารถเก็บประวัติ ข้อมูลวุฒิการศึกษา ผลงานประสบการณ์ทำงาน การฝึกอบรมแล้ว ยังมีระบบย่อยอื่นๆ ที่ครอบคลุมการส่งเสริมการมีงานทำในทุกมิติ ประกอบไปด้วย การแนะแนวอาชีพและค้นหาทักษะ (Career Guidance and Skill Check) เพื่อประเมินทักษะและความรู้ของตนเอง เพื่อนำไปสู่การแนะแนวอาชีพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ระบบการสั่งสมสมรรถนะการเรียนรู้ (Digital Competency Credit Bank) เกิดจากการเรียนรู้ การฝึกอบรม และการทำงานเพื่อเชื่อมโยงโลกของการทำงานและการเรียนรู้เข้าด้วยกัน ระบบจับคู่งาน (Job Matching) สำหรับคนที่กำลังมองหางานและผู้ประกอบการที่กำลังมองหาคนทำงานได้มาเจอกันทำให้เกิดการจ้างงานในทุกระดับ ผู้ประกอบการได้แรงงานมีคุณภาพ มีทักษะฝีมือตรงตามความต้องการ และการให้บริการข้อมูลด้านกำลังคน (Labour Market Information) ที่สามารถใช้ในการวางแผนนโยบายด้านกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ส่วนหลักเกณฑ์การขอรับเงินสนับสนุนการประเมินและการฝึกอบรมผ่านระบบ E-Coupon นั้น สถาบันจากพิจารณาคำขอ ตามขั้นตอน โดยเป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒวิชาชีพว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนเป็นค่าธรรมเนียมการประเมินมาตรฐานอาชีพ 2565 และข้อบังคับคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีและให้ทุน เพื่อสนับสนุนเป็นค่าธรรมเนียมการฝึกอบรม พ.ศ.2567 ซึ่งเปิดกว้างสำหรับองค์กรที่มีหน้าที่รับรองฯ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม สามารถยื่นขอรับการจัดสรรทุน เพื่อรับ E-Coupon สำหรับการพัฒนาตัวเอง ขณะที่ในส่วนของบุคคล สามารถประสานไปยังองค์กรรับรองฯ ในแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อติดต่อขอรับ E-Coupon เพื่อการเรียนรู้ได้เช่นกัน ทั้งนี้ คาดว่าระบบ E-Coupon จะสามารถเปิดบริการให้กับประชาชนทั่วไปอย่างเต็มรูปแบบ ภายในเดือนมีนาคมนี้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าสู่การใช้งาน E-Portfolio ภายใต้ EWE Platform เพื่อเตรียมความพร้อมการใช้ E-Coupon ได้ที่ ewe.go.th หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่าน Apple Store และ Play Store

  • สคช. ร่วมประชุมอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร เดินหน้าตั้งคณะทำงานรับผิดชอบ 4 โครงการสำคัญ เร่งเครื่องชู Soft Power ด้านอาหารสู่สายตาชาวโลก

    12.02.2567
    1,560 View

    สคช. ร่วมประชุมอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร เดินหน้าตั้งคณะทำงานรับผิดชอบ 4 โครงการสำคัญ เร่งเครื่องชู Soft Power ด้านอาหารสู่สายตาชาวโลก นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในฐานะรองประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหาร (คณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ) เข้าร่วมประชุมครั้งที่ 1/2567 โดยมีเชฟชุมพร แจ้งไพร เป็นประธานอนุฯ พร้อมหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยในที่ประชุมได้มีการตั้งคณะทำงาน เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร ใน 4 โครงการ ที่ได้รับงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 ประกอบไปด้วย โครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนนโยบายเพื่ออาหารไทย ด้วยการจัดทำหลักสูตร คู่มือการเรียนการสอน สร้างเทรนเดอะเทรนเนอร์ ส่งเสริมในเรื่องเรียนทำอาหาร โดยมีสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นผู้ให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ แก่ผู้ที่ผ่านการเรียนการสอนการอบรมตามหลักสูตร โดยตั้งเป้ามีผู้ที่ผ่านการเรียนรู้ 10,000 คน ทั่วประเทศในปี 2567 นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะทำงานในโครงการ Thai Food Channel เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์อาหารไทย ด้วยการเผยแพร่คอนเทนต์อาหารไทยไปยังแพลตฟอร์มและสื่อต่างๆ เช่น YouTube, TikTok, Facebook, Instagram และ Line OM เป็นต้น เพื่อต่อยอดวัตถุดิบท้องถิ่นมาทำเป็นอาหาร สร้างตัวตนให้อาหารท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น สร้างร้านค้าชุมชน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ส่วนโครงการ Thai Food Soft Power and World Tour จะเป็นการยกระดับอาหารไทยไปสู่ระดับสากล ถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารไทย รวมถึงการสร้างนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มออกสู่ตลาดสากลต่อไป รวมถึงโครงการ Local Chef Restaurant ซึ่งเป็นการสร้างร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่น อาหารไทย เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านอาหารพื้นถิ่น ที่มีเอกลักษณ์ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเรียนรู้และสัมผัสกับอาหารไทย