ข่าวประชาสัมพันธ์

  • สคช. พลิกโฉม สู่เส้นทางใหม่ในการให้คุณวุฒิวิชาชีพ เปิดช่องให้คุณวุฒิวิชาชีพ ยกระดับกำลังคนของประเทศ

    05.09.2566
    6,873 View

    สคช. พลิกโฉม สู่เส้นทางใหม่ในการให้คุณวุฒิวิชาชีพ เปิดช่องให้คุณวุฒิวิชาชีพ ยกระดับกำลังคนของประเทศ 5 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเดอะสุโกศลกรุงเทพมหานคร สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ระดมพล จัดงาน “พลิกโฉมองค์กรรับรอง สู่เส้นทางใหม่ในการให้คุณวุฒิวิชาชีพ” ชี้แจงแนวทางปฏิบัติให้แก่องค์กรรับรองเพื่อการรับรองกำลังคนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ หลังมีการปรับหลักเกณฑ์ข้อบังคับใหม่เปิดช่องในการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพใหม่ถึง 6 ช่องทาง โดยมีนายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดงาน มีผู้แทนองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ หรือ CB, ผู้เชี่ยวชาญตรวจประเมินองค์กร (Assessor) ผู้แทนองค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจเป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรอง รวมถึงตัวแทนจากองค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม เข้าร่วมในงาน นายนคร กล่าวว่า ปัจจุบัน สคช. มีองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ รวม 318 แห่ง ในทุกภูมิภาค มีผู้ตรวจประเมินองค์กร หรือ Assessor จำนวน 1,547 คน สามารถผลักดันให้กำลังแรงงานของประเทศได้รับคุณวุฒิวิชาชีพแล้วถึง 177,012 คน การประชุมในวันนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ปรับตัวพร้อมรับตามแนวทางการดำเนินงานที่เปิดช่องทางให้กำลังคนมีโอกาสได้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพได้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาองค์กรไปเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมในหลักสูตรที่สอดคล้องตามมาตรฐานอาชีพ โดยมีสถาบันให้การรับรองหลักสูตรนั้นๆ จนท้ายที่สุดกำลังแรงงานที่อยู่ในทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากระบบคุณวุฒิวิชาชีพอย่างสูงสุด นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ บอกว่าการประชุม“พลิกโฉมองค์กรรับรองสู่เส้นทางใหม่ในการให้คุณวุฒิวิชาชีพ”ในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงแนวทางปฏิบัติตามข้อบังคับคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกหนังสือรับรองแก่องค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ พ.ศ. 2565 และข้อบังคับคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ และหนังสือรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ พ.ศ. 2566 และเงื่อนไขใหม่ในการให้คุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สำหรับผู้แทนองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการรับรองคนตามมาตรฐานอาชีพต่างๆ การดำเนินงานของสถาบัน ที่ไม่หยุดนิ่ง ได้มีการพัฒนากระบวนการ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งการพลิกโฉมสำคัญเพื่อสร้างการยอมรับ และสร้างความมั่นใจในการรับรองคน ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ รวมถึงอีกบทบาทสำคัญในการพัฒนากำลังคนก็คือการเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ฝึกอบรม เพื่อให้สอดรับกับโลกปัจจุบันที่ผู้คนมุ่งหน้าสู่การพัฒนาตนเอง ที่อย่างน้อยเราจะรู้เท่าทัน AI ที่กำลังเข้ามาแทนที่ได้อย่างไร นี่จึงเป็นอีกภารกิจสำคัญที่องค์รับรองสามารถพัฒนาไปเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมได้ ขณะที่ช่วงการเสวนาในหัวข้อ “การยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพ สู่เส้นทางมืออาชีพ” ซึ่งได้มีการกล่าวถึงแนวทางการทำงานที่ปรับเปลี่ยนของ สคช. โดยหนึ่งภารกิจที่สำคัญ ก็คือการจับมือกลุ่มอุตสาหกรรมหลักภาคการบริการ และสถานประกอบการ ในการยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพ และนำไปพัฒนาบุคลากรขององค์กร โดยมีนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย นางสาว วิลานี แซ่แต้ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชนธนาคารออมสิน และนางสาวภัทรา ศรีสุวรรณาสกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาผู้นำและจัดการเรียนรู้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมในการเสวนา

  • สคช.ร่วมประชุมเชิงวิชาการในหัวข้อ ''''Job Competency Recognition System'''' and ''''TVET implementation and Management System'''' ณ สาธารณรัฐเกาหลี

    01.09.2566
    6,448 View

    เมื่อวันที่ 30 - 31 สิงหาคม 2566 นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และคณะ ได้เข้าร่วมประชุมเชิงวิชาการในหัวข้อ ’’Job Competency Recognition System’’ and ’’TVET implementation and Management System’’ ณ สาธารณรัฐเกาหลี โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบบันทึกข้อตกลงความเข้าใจเพื่อการยอมรับการรับรองทักษะและคุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ Human Resources Development Service of Korea (HRDK) (HRD Korea – TPQI Cooperation Exchange Workshop) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานอาชีพ ระบบการประเมินสมรรถนะ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และแนวทางปฏิบัติที่ดี การส่งเสริมโอกาสในการจ้างงานและศึกษาแนวทางเพื่อนำไปสู่การยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพและการรับรองทักษะร่วมกัน ในการประชุมดังกล่าว นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้นำเสนอระบบแพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคน และการพัฒนาสมรรถนะด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย (E- Workforce Ecosystem) และหัวข้อ Future Plans for Vocational Training in Thailand และนาวสาวธัญมาศ ลิมอักษร นักวิเทศสัมพันธ์ ได้นำเสนอในหัวข้อ Competency-Based Training and Cooperation with Training Providers รวมถึงนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานในหัวข้อ Enterprise Standards and Recognition of Skills and Professional Qualifications in Workplaces โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ได้แก่ HRD Korea, GIFTS (Global Institute for Transferring Skills) และ KRIVET (Korea Research Institute for Vocational Education & Training) ทั้งนี้ ได้หารือความร่วมมือในแนวทางการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพให้กับแรงงานไทยที่มีประสบการณ์การทำงานในประเทศเกาหลี ให้สามารถนำประสบการณ์ทำงานที่ได้รับกลับมาต่อยอดสร้างโอกาสการทำงานเมื่อเดินทางกลับประเทศ รวมถึงการดำเนินการร่วมกันในด้านอื่น ๆ เพื่อพัฒนากำลังแรงงานไทยต่อไป

  • สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดประชุมรับฟังรายงานปิดการดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระบบนิเวศอุตสาหกรรม

    01.09.2566
    8,721 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดประชุมรับฟังรายงานปิดการดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระบบนิเวศอุตสาหกรรม ในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขาวิชาชีพบริการการศึกษาวิจัยและภาษา ณ ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง จ.นครราชสีมา และได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมและผ่านการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ทั้ง 4 หลักสูตร โดยในงานได้มีการเสวนาเพื่อสร้างโอกาสการเข้าสู่กลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในภาคการศึกษาและสมาคมวิชาชีพจากสมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย และ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รวมทั้งได้มีการแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานระบบ E-Workforce Ecosystem Platform แก่ผู้ที่ผ่านการประเมินและนักศึกษาที่ร่วมงานด้วย

  • สคช. พร้อมดันคุณภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพิ่มโอกาสไปทำงานประเทศญี่ปุ่น

    31.08.2566
    6,923 View

    สคช. พร้อมดันคุณภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพิ่มโอกาสไปทำงานประเทศญี่ปุ่น Mr.Toshinori Osumi, Former Chief Executive Officer, Hitachi Chemical Storage Battery Thailand PCL เข้าพบนายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วยนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการ นางสาวนฤมล พูลทรัพย์ ที่ปรึกษาสถาบัน และคณะผู้บริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อร่วมหารือต่อเนื่อง ถึงแนวทางการส่งกำลังแรงงานในภาคธุรกิจบริการ โดยเฉพาะอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดยในการหารือวันนี้ ได้มีการนำเสนอเครือข่ายองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ทั้ง 17 แห่งในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยวิทยาลัยอาชีวศึกษา โรงเรียนบริบาล สถานประกอบการเอกชน และสมาคมต่างๆ โดยได้มีการนำเสนอองค์การรับรองฯ ที่มีผลงานโดดเด่น และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มีประสบการณ์พร้อมไปทำงานเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้วีซ่า ทักษะพิเศษเฉพาะทาง 1 (SSW) หรือ Tokutei ginou เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการกำลังแรงงานผู้ดูแลผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น พร้อมรับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ทั้งนี้ สถาบัน เตรียมศึกษาแนวทางการพัฒนาคนในอาชีพ ทั้งใน ด้านทักษะการทำงานตามมาตรฐานอาชีพ และความสามารถด้านการใช้ภาษาญี่ปุ่น รวมถึงวัฒนธรรมในการทำงานของประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับภาคีต่างๆ ต่อไป

  • ผู้บริหาร สคช.ศึกษาดูงานที่ KISTI (Korea Institute of Science and Technology Information) ณ สาธารณรัฐเกาหลี

    31.08.2566
    6,670 View

    เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566 นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และคณะ ได้เข้าศึกษาดูงานที่ KISTI (Korea Institute of Science and Technology Information) ณ สาธารณรัฐเกาหลี โดยการต้อนรับจาก Mr. Jongsung Lee Director, Department of Public Relations ซึ่ง KISTI ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลี ตั้งอยู่ในเมือง Daejeon สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งให้ดำเนินการ การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลบนพื้นฐานข้อมูลเปิดด้านวิทยาศาสตร์ (Open Science-based Digital Innovation) และ พัฒนา Supercomputing เพื่อขับเคลื่อนโลกอนาคต (Future response Supercomputing) โดยทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและภาครัฐ (Vitalizations of Co-work Governance) และยังเป็นผู้นำในการแก้ไขประเด็นปัญหาที่สำคัญ (Leading the way in resolving pending national-social issues) ซึ่งจากการศึกษาดูงานการดำเนินงานของ KISTI ดังกล่าวเป็นแนวทางที่ สคช.สามารถเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนางานของ สคช.ได้ต่อไป

  • สคช. ร่วมเวที GIT World''''s Jewelry Design Award 2023 สร้างศักยภาพนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมาตรฐาน ยกระดับสู่สากล

    30.08.2566
    7,901 View

    สคช. ร่วมเวที GIT World’’s Jewelry Design Award 2023 สร้างศักยภาพนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมาตรฐาน ยกระดับสู่สากล นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมพิธีมอบโล่รางวัล พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และประกาศผลผู้ชนะเลิศโครงการ GIT World’’s Jewelry Design Awards 2023 ใน ธีม Glitter & Gold - The Brilliant Way of Gold Shine" จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ นักออกแบบ และบุคคลทั่วไปที่มีใจรักในการออกแบบและสนใจในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ได้มีเวทีและโอกาสในการแสดงศักยภาพและพัฒนาฝีมือให้เข้าสู่มาตรฐานระดับโลก สร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย โดยมีนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี สำหรับในปีนี้ มีนักออกแบบทั้งจากประเทศไทย และต่างชาติส่งชิ้นงานประกวดมากถึง 770 ผลงาน ก่อนจะคัดเลือกผ่านแบบวาด 30 แบบ และคัดเหลือ 4 แบบ เพื่อนำไปผลิตเป็นเครื่องประดับ และแสดงผลงานผ่านเหล่านางแบบ นำโดย นางสาวอแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ปี 2020 และประกาศรางวัลผู้ชนะการประกวด GIT World’’s Jewelry Design Awards 2023 ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นโอกาสที่สำคัญที่จะทำให้นานาชาติ ได้เห็นถึงศักยภาพของนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับไทย แต่ยังสามารถนำเทรนด์ในการออกแบบจากทั่วทุกมุมโลกที่น่าสนใจ มาปรับใช้เป็นแนวทางสำหรับนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคตอีกด้วย นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า สินค้าอัญมณีเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอย่างต่อเนื่อง นับเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 3 ของสินค้าโดยรวมของประเทศ มีกำลังแรงงานที่มีฝีมือและทักษะสูง เป็นที่ต้องการในตลาดจำนวนมาก ในส่วนของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ได้มีแนวทางส่งเสริมผู้ที่อยู่ในอาชีพที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ให้มีโอกาสได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ ขณะเดียวกัน ยังผลักดันให้ผู้ที่อยู่ในอาชีพช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) ช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ) ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ได้มีโอกาสขอรับคุณวุฒิวิชาชีพไปพร้อมกันด้วย เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับบุคลากรให้มีศักยภาพตามมาตรฐานในระดับสากล ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศได้

  • สคช. ลงนามความร่วมมือร่วมกับ IITP สาธารณรัฐเกาหลี พัฒนาสมรรถนะและบุคลากรสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    30.08.2566
    7,422 View

    เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566 นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และคณะ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และ Institute for Information & communication Technology Planning & evaluation (IITP) ณ สํานักงานใหญ่ IITP สาธารณรัฐเกาหลี โดยการลงนามความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะและบุคลากรสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หน่วยงาน IITP เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่ง สคช. และ IITP ได้มีความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจความร่วมมือในระหว่างปี 2558 – 2563 และมีดำเนินการความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เช่น การรับรองมาตรฐานฯ IT Business ของ IITP และนำมาใช้เป็นมาตรฐานอาชีพและให้การรับรอง ด้านการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพได้มีการเทียบเคียงสาขาบริหารโครงการของไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี การจัดสอบ TOPCIT ให้กับหน่วยงานในประเทศไทย เช่น สำนักงาน ก.พ. DEPA การบินไทย ฯลฯ และด้านการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการต่อยอดความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความร่วมมือในภาพรวมดังนี้ 1.การพัฒนาระบบการประเมินสมรรถนะ การฝึกอบรมฐานสมรรถนะ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และการพัฒนามาตรฐานอาชีพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร รวมถึงการบริหารโครงการ และการสื่อสารเชิงเทคนิค 2.แลกเปลี่ยนและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับเครื่องมือประเมิน สมรรถนะสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ TPQI และ TOPCIT ของ IITP 3.การแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการ การศึกษาแนวทางการยอมรับประกาศนียบัตรและคุณวุฒิวิชาชีพร่วมกันสำหรับบุคลากรสาขาดิจิทัล การพัฒนาและแลกเปลี่ยนสื่อการเรียนการสอนและ e-learning ในสาขาดิจิทัล โดยเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์ม EWE การสนับสนุนให้ผู้ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพมีโอกาสศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในเกาหลี และเก็บสะสมเครดิตที่ไปเรียนที่สาธารณรัฐเกาหลีใน competency credit bank การพัฒนาทักษะใหม่ให้กับบุคลากรในสาขาดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาบุคลากรกองทัพไทยให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

  • สคช. เร่งเครื่องผลักดัน Reskill Upskill Newskill ตอบโจทย์แรงงานไทยในอนาคต

    28.08.2566
    7,971 View

    สคช. เร่งเครื่องผลักดัน Reskill Upskill Newskill ตอบโจทย์แรงงานไทยในอนาคต 27 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ กรุงเทพมหานคร นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำคณะผู้บริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เปิดเวทีสัมมนาหัวข้อ “Reskill Upskill Newskill ตอบโจทย์แรงงานไทยในอนาคต” เพื่อชูแนวทางการการพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องกับความต้องการกับตลาดแรงงาน และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Life-Long Learning) เพื่อประโยชน์ต่อการรับรองระบบคุณวุฒิของประเทศไทย รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงเป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เข้าสู่มาตรฐานสากล ISO/EC 17024 ปี 2566 โดยมีนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วยนายเอกนิติ รมยานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ และตัวแทนองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เข้าร่วมในงาน นายนคร กล่าวว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด 19 สคช. เดินหน้าสร้างจุดแข็งให้แรงงานไทย โดยเร่งพัฒนาทักษะเพื่อขยายโอกาสในการกลับเข้าสู่ตลาดงาน หรือประกอบอาชีพใหม่ ด้วยกลไก Reskill Upskill และ New skill ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาแรงงานให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน และรองรับกับงานรูปแบบใหม่ให้แรงงานไทยสามารถอยู่รอดได้ในยุค Digital Disruption และนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) โดย สคช. ได้พัฒนาระบบการเรียนรู้สมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์ (E-Training) และการพัฒนาแพลตฟอร์มอัจฉริยะ (E-Workforce Ecosystem) ที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านแรงงานบนโครงสร้างเดียวกัน นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า สคช. ได้พัฒนาองค์กรต้นแบบที่นำระบบการรับรองสมรรถนะบุคคลฯ ไปปฏิบัติ และสอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17024 รวมทั้งสิ้น 43 องค์กร และปัจจุบันสามารถยกระดับองค์กรดังกล่าวให้ได้รับรองระบบงานตามมาตรฐานสากลอย่างเต็มตัว จำนวน 5 แห่ง คือ โรงเรียนเสริมสวยและออกแบบทรงผมนานาชาติณรงค์ บริษัท วินเนอร์ เอสเตท จำกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์การศึกษาด้านการสื่อสารและการบริการครบวงจร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน และศูนย์รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็นความสำเร็จของประเทศไทยที่มีหน่วยรับรองระบบงานด้านคุณวุฒิวิชาชีพที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยภายใต้โครงการดังกล่าว สคช. ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ให้แก่ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สอบ และบุคลากรขององค์กรฯ และผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง รวมกว่า 2,580 คน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาระบบการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพของประเทศไทย นอกจากนี้ภายในการสัมมนา นายเอกนิติ ได้มีการมอบใบรับรองระบบงานหน่วยรับรองให้แก่องค์กรฯ ที่ได้รับรองมาตรฐานสากล ISO/EC 17024 ในปี 2566 จำนวน 3 แห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์การศึกษาด้านการสื่อสารและการบริการครบวงจร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน และศูนย์รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะเป็นต้นแบบองค์กรที่มีการพัฒนาคุณภาพระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ด้วยความเข้มแข็ง สร้างการแข่งขัน ทัดเทียมกับนานาประเทศ พร้อมมอบโล่เกียรติคุณจาก สคช. ให้แก่องค์กรฯ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการรับรองบุคลากร อีกจำนวน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และบริษัท แม็คเวท จำกัด หรือโรงพยาบาลสัตว์เมืองเอก อีกด้วย

  • ครั้งแรกของโลก! กับการประเมินอาชีพควาญช้าง

    28.08.2566
    5,382 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ณ จังหวัดลำปาง การประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อาชีพควาญช้าง มีควาญช้างเข้ารับการประเมิน 12 คน นสพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หรือ หมอต้อม หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยฯ บอกถึงภาพรวมการประเมินว่าผู้ที่เข้ารับการประเมินส่วนใหญ่มีทักษะที่ดี หลายคนความสามารถเกินระดับ 2 ของการประเมิน แต่ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการหันมาให้ความสนใจสร้างมาตรฐานอาชีพควาญช้างซึ่งเป็นอาชีพที่ถ่ายทอดประเพณี วัฒธรรมที่เทคโนโลยีไม่สามารถแทนที่ได้ และหากรัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญก็สามารถผลักดันให้เป็นซอฟท์พาวเวอร์ของประเทศไทยได้ เพราะนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญและมีความชื่นชอบช้างเป็นอย่างมาก และจะช่วยส่งเสริมการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้มากขึ้นได้เช่นกัน สำหรับการประเมินอาชีพควาญช้างระดับ 2 สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อาชีพควาญช้าง ระดับ 2 คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ จะประกอบด้วย มีความรู้และทักษะในการดูแลเลี้ยงช้าง สามารถดูแลสุขอนามัยของช้าง มีทักษะในการทำความสะอาดช้าง สามารถตรวจสภาพทั่วไปของช้าง ผิวหนัง และร่องรอยบาดแผล หรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช้าง นอกจากนี้มีทักษะในการจัดหา จัดเตรียมอาหารและน้ำให้ช้าง มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารของช้าง การเก็บรักษาอาหารช้าง สามารถสังเกตความผิดปกติในการกินอาหารและน้ำของช้างได้ รวมทั้ง สามารถดูแลที่อยู่อาศัยของช้าง มีความรู้ในการเลือกที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของช้าง สามารถเลือกสภาพพื้นที่ทำเลในการผูกล่ามช้างได้อย่างปลอดภัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งต่อตัวช้างและมนุษย์ด้วย

  • สคช. ระดมสมองผู้นำในอาชีพ กำหนดแนวทางจัดทำมาตรฐานอาชีพรองรับตลาดใหม่

    23.08.2566
    6,854 View

    สคช. ระดมสมองผู้นำในอาชีพ กำหนดแนวทางจัดทำมาตรฐานอาชีพรองรับตลาดใหม่ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดประชุมผู้แทนหลากหลายสาขาอาชีพครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร บริการและการท่องเที่ยว โดยเป็นผู้แทนจากสมาคม สมาพันธ์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถานประกอบการ เพื่อระดมสมอง ประสบการณ์ และความต้องการเพื่อนำไปสู่การจัดทำมาตรฐานอาชีพและให้การรับรองด้วยคุณวุฒิวิชาชีพเป็นกำลังแรงงานคุณภาพที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานที่แท้จริง นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่าที่ผ่านมาสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการในหลากหลายสาขาอาชีพจัดทำมาตรฐานอาชีพที่สากลให้การยอมรับมาแล้วจนถึงปี 2566 จำนวนกว่า 1,000 อาชีพ ซึ่งแนวทางในปี 2567 ไปจนถึง 2570 มีทิศทางการจัดทำมาตรฐานอาชีพครอบคลุมการพัฒนาประเทศใน 4 มิติ คือพัฒนาการผลิตและบริการเป้าหมาย ปัจจัยในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม ความยั่งยืนในทรัพยากรธรรมชาติ และการพลิกโฉมประเทศไทย ความเห็นจากทุกฝ่ายจึงมีความสำคัญในการจัดทำมาตรฐานอาชีพและนำไปสู่การให้การรับรองกำลังคนให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆ ประเทศด้วย นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่าระบบคุณวุฒิวิชาชีพเป็นเครื่องมือสำคัญที่ให้การรับรองกำลังคนของประเทศว่ามีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพเก่งในด้านใดด้วยมาตรฐานอาชีพและนำไปสู่การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ที่เป็นเสมือนปริญญาทางอาชีพ ที่สอดคล้องความต้องการของสถานประกอบการ และตลาดแรงงานจริงๆ ขณะเดียวกันสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้เชื่อมโลกการศึกษา กับโลกการทำงานเข้าด้วยกันตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ จะช่วยตอบโจทย์ให้กำลังคนของประเทศสามารถเลือกเส้นทางในชีวิตได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเริ่มต้นด้วยการทำงาน หรือการศึกษาก่อน แต่ปลายทางสามารถเชื่อมสมรรถนะและการรับรองถึงกันได้ แต่การจะทำให้การจัดทำมาตรฐานอาชีพสำเร็จได้ก็คือการขับเคลื่อนไปสู่การรับรองด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ให้การยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป อันจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นด้วย สำหรับการประชุมได้มีการแสดงความเห็นที่หลากหลายต่อการจัดทำมาตรฐานอาชีพ อาทิ อาชีพซิมูเลชันทางการแพทย์ รองรับการเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ หรือ Medical Service Hub ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการรับรองให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ที่สำคัญสำหรับการแพทย์ทางไกลซึ่งมีผู้ใช้บริการค่อนข้างแออัด การให้การรับรองบุคลากรจะรองรับให้มีการกระจายตัวและช่วยลดความแออัดของผู้เข้ารับบริการ อันจะเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมตามยุทธศาสตร์ชาติ ขณะเดียวกันมีผู้เสนอให้จัดทำมาตรฐานอาชีพผู้ปลูกทุเรียนที่ขณะนี้มีการแข่งขันสูง และมีผู้ปลูกหน้าใหม่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในตลาดจีน ที่นำเทคโนโลยีมาใช้เรื่องการวัดอุณหภูมิ ดิน น้ำ จนนำไปสู่การพัฒนารสชาติให้ได้เหมือนทุเรียนไทย ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายและน่ากังวลเป็นอย่างมาก มีข้อเสนอให้จัดทำมาตรฐานอาชีพ นักเขียนบท รองรับแพลตฟอร์มในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีอยู่หลากหลายแพลตฟอร์มในเวลานี้ และจะเป็นส่วนเสริมให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเป็นซอฟท์พาวเวอร์ของประเทศได้, อาชีพนักพัฒนาการท่องเที่ยว รองรับบริบทการท่องเที่ยวปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักของประเทศ ซึ่งผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะช่วยประคับประคองบุคลากรในภาคการท่องเที่ยว การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และสอนให้ชุมชนได้รู้จักการรักษาและพัฒนาชุมชนตัวเองให้อยุ่ได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีผู้เสนอให้จัดทำมาตรฐานอาชีพช่างไม้ที่จะช่วยสร้างความภูมิใจ สร้างการมีตัวตนและการยอมรับในสังคม เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการทำแบบครูพักลักจำ, อาชีพผู้ประกอบการโรงสีข้าว, ผู้ปลูกกัญชง และกัญชา, อาชีพผู้ตรวจประเมินไม้ยืนต้น เพื่อสร้างเกษตรปลอดภัย, ผู้ตรวจประเมินแปลงเกษตรอินทรีย์, อาชีพอาชีพนักพัฒนาผลิตภาพด้านดิจิทัล เมนูแฟคเจอริง ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ, คลาวด์ เอ็นจิเนียร์, ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ, Arts & Culture, อาชีพผู้ตรวจสภาพรถยนต์ไฟฟ้า, อาชีพนักพัฒนาโดรนเพื่อการเกษตร, อาชีพเกี่ยวกับพระเครื่อง เป็นต้น ทั้งนี้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้รับฟังทุกความคิดเห็นเพื่อนำไปศึกษาต่อก่อนพิจารณาจัดทำเป็นมาตรฐานอาชีพ รวมถึงส่งต่อมาตรฐานอาชีพให้ภาคการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับหลักสูตร การเรียนรู้และผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน

  • นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าร่วมพิธีเปิด โครงการ August Series 2023 พร้อมเป็นผู้แทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ รับมอบโล่เกียรติคุณจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) ในฐานะองค์กรเจ้าภาพร่วมการจัดงาน Digital HR Forum 2023 (ครั้งที่ 6)

    23.08.2566
    10,226 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าร่วมพิธีเปิด โครงการ August Series 2023 พร้อมเป็นผู้แทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ รับมอบโล่เกียรติคุณจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) ในฐานะองค์กรเจ้าภาพร่วมการจัดงาน Digital HR Forum 2023 (ครั้งที่ 6) ภายใต้แนวคิดหลัก Driving Collaboration Between Business and People : Humanizing HR in a Hyper-Digitalized World ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ โดยโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนในการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในกระบวนการจัดการและการให้บริการสาธารณสุข ส่งเสริมให้เกิดการตระหนักเรื่องคุณค่า และมูลค่าของฐานข้อมูลว่าสามารถพลิกโฉมประเทศได้อย่างไร รวมถึงเรียนรู้เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก การเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ก้าวทันและเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รวมถึงการก้าวสู่ยุคโรโบติกส์ และระบบอัตโนมัติที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานแทนมนุษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร และประเทศชาติ

  • สคช.-มรภ.สวนสุนันทา จับมือใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพพัฒนากำลังคน หนุนบุคลากรใช้แพลตฟอร์ม EWE ตอบโจทย์การมีงานทำ

    21.08.2566
    7,721 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนากำลังคนผ่านระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และระบบ E-Workforce Ecosystem หรือ EWE โดยมีนางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และ รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดี มรภ.สวนสุนันทา ร่วมลงนาม นางสาวจุลลดา ระบุว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นไปเพื่อผลักดันให้เกิดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ ที่นักศึกษาสามารถสั่งสมสมรรถนะที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงการส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์ม EWE ในการจัดเก็บแฟ้มสะสมข้อมูล หรือ E-Portfolio การเรียนรู้ผ่านระบบ E-training ซึ่งทุกแพลตฟอร์มล้วนนำไปสู่การได้คุณวุฒิวิชาชีพแก่นักศึกษาในอนาคต และที่สำคัญคือการเชื่อมโลกคุณวุฒิวิชาชีพกับคุณวุฒิทางการศึกษาเข้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม อันจะส่งผลให้กำลังคนในอนาคตสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษา และการได้รับคุณวุฒิวิชาชีพได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่ง มรภ.สวนสุนันทา สามารถเป็นโมเดลต้นแบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพในการพัฒนากำลังคนและเปิดโอกาสให้บัณฑิตเข้าสู่การมีงานทำเป็นกำลังคนที่มีศักยภาพสูงที่ตลาดแรงงานต้องการ ด้าน รศ.ดร.ชุติกาญจน์ กล่าวว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตั้งเป้าพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ ซึ่งมีเป้าหมาย เน้นการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ทักษะ และทัศนคติที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศหรือจรรโลงศิลปะ และวัฒนธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และยกระดับสมรรถนะทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพและแพลตฟอร์มต่างๆ ที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพพัฒนาก็จะตอบโจทย์เป้าหมายการดำเนินงานของ มรภ.สวนสุนันทา ที่พร้อมจะเป็นผู้นำการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของประเทศสร้างบัณฑิตไร้พรมแดน ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง ในขณะที่อัตราจำนวนนักศึกษาลดลงอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัยด้วยกัน และจะได้ร่วมสร้างการยอมรับระบบคุณวุฒิวิชาชีพในสังคมต่อไป

  • สคช. ร่วม ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ บรรยายแนวทางการพัฒนาบุคลากรและนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ในสถานประกอบการ

    21.08.2566
    7,947 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วย คุณเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันบรรยายในการประชุมแนวทางการพัฒนาบุคลากรและนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ในสถานประกอบการ บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ณ อาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ เพื่อสร้างการรับรู้แนวทางการพัฒนาบุคลากรและนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ในสถานประกอบการ ของบริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้ดำเนินการร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ไปสู่การต่อยอดในอาชีพอื่นๆ ของสายงานโลจิสติกส์ และการพัฒนาบุคลากรของสถานประกอบการด้วยการเชื่อมโยงหลักสูตรการฝึกอบรมของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI E-Training) ให้พนักงานสามารถเข้าถึงหลักสูตรได้ง่าย สามารถเข้าเรียนทางออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา และผลการฝึกอบรมจะนำเข้าสู่ระบบแฟ้มสะสมผลงานอัจฉริยะ (E-Portfolio) หลังจากที่ทางบริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ได้ทำ บันทึกความร่วมมือ MOU กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ไปเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่ง LEO เป็นองค์กรต้นแบบในการนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพมาใช้ในสถานประกอบการนั้น ดังนั้น ทาง LEO จึงเรียนเชิญคณะผู้บริหารสถาบันฯ มาบรรยายถึงความร่วมมือดังกล่าวให้กับพนักงานทั้งหมด กว่า 300 รายได้ฟัง เพื่อให้เข้าใจหลักการและรับทราบถึงวิสัยทัศน์ของการพัฒนาบุคลากรของทางสถาบัน และของผู้บริหาร LEO ต่อไป

  • สคช. จัดกิจกรรมแนะนำระบบ E-Workforce Ecosystem ณ กรมทหารสื่อสารที่ 1 ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน นำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ มาตรฐานอาชีพไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    18.08.2566
    9,526 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมแนะนำระบบ E-Workforce Ecosystem หรือ EWE Platform ณ กรมทหารสื่อสารที่ 1 ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน นำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ มาตรฐานอาชีพไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ การเชื่อมสมรรถนะการทำงาน และการศึกษาด้วยระบบสั่งสมสมรรถนะการเรียนรู้ (Competency Credit Bank) กับระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit bank) และการใช้งาน E-portfolio สนับสนุนให้คนมีงานทำ และยังเป็นกลไกผลักดันให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านการฝากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน รวมถึง ประกาศนียบัตรจากการฝึกอบรม บนแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อสถานประกอบการ และนายจ้าง ที่ต้องการคนทำงาน ก็จะสามารถพิจารณาจาก E-Portfolio ได้ทันที นำไปสู่โอกาสในการได้งานทำที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการมากขึ้น

  • สคช. เปิดเวทีรวมรุ่นใหญ่ภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ส่องธุรกิจขนส่งกับการพัฒนากำลังคนในยุคที่คาดเดาไม่ได้

    17.08.2566
    10,398 View

    สคช. เปิดเวทีรวมรุ่นใหญ่ภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ส่องธุรกิจขนส่งกับการพัฒนากำลังคนในยุคที่คาดเดาไม่ได้ วันที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ ไบเทค บางนา นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดเวทีเสวนา ไทล็อก โลจิสติกส์ 2023 (TILOG-LOGISTIX 2023) ในหัวข้อ ICB Logistics : พัฒนาคน ยุคบานี (BANI) และนางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้กล่าวถึงความคืบหน้าของ สคช. กับการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ โดยในงานเป็นการรวมตัวของผู้นำภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่มาร่วมหาทางออกต่อการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพก้าวทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยมี ผู้แทนของสมาคม สมาพันธ์ ผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ด้านโลจิสติกส์ เข้าร่วมงาน นายนคร ระบุว่า ในยุค BANI ที่เต็มไปด้วยการคาดการณ์ได้ยาก ทั้งเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงวิกฤติโรคระบาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนก็อุบัติขึ้นแล้วบนโลกนี้ การเตรียมตัวเตรียมความพร้อมรับกับทุกสถานการณ์จึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะกับเรื่องการขนส่งซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพก็มีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพให้กับกำลังคน และให้การรับรองคนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพด้วย โดยมีคณะ ICB เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางในการพัฒนากำลังคนของประเทศให้รองรับทุกสถานการณ์ นางสาวจุลลดา กล่าวว่า อุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งข้อมูลในปีนี้ธนาคารโลกได้จัดอันดับประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 34 จาก 139 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในอันดับ 3 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่ง สคช. ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองคนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ก็พร้อมส่งเสริมแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้มีคุณภาพสอดรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในภาพของคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านโลจิสติกส์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ICB ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การทำงานด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยที่จะร่วมกันหาทุกแนวทางในการพัฒนากำลังคนด้านโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพก้าวทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งอนาคต ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้ประกอบการ และผู้รับบริการด้านการขนส่งซึ่งจะเป็นส่วนนำพาให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยก้าวเป็นผู้นำได้ในระดับอาเซียน และพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ทั้งภาคการผลิต บริการ และภาคการส่งออก ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก สำหรับงาน TILOG-LOGISTIX 2023 ได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Smart and Green Logistics for Sustainable Tomorrow : ขับเคลื่อนธุรกิจไทยสู่อนาคตสีเขียวด้วยโลจิสติกส์อัจฉริยะรักษ์โลก” มุ่งเน้นการปรับตัวเดินหน้าสู่เทรนด์โลกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีโลจิสติกส์ยุคใหม่เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน พร้อมกระตุ้นให้ผู้ประกอบการตื่นตัว และให้ความสำคัญกับการปรับตัวภายใต้แนวคิดเรื่อง Green โดยงานนี้มีผู้จัดแสดงกว่า 415 แบรนด์ จาก 25 ประเทศ ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้ร่วมแสดงผลการดำเนินงานในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพแล้วกว่า 28,900 คน ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทย

  • สคช. และ สมาคมโลจิสติกส์และชัพพลายเชนรามคำแหง หารือร่วมกันในการยกระดับกำลังคนในสาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ด้วยมาตรฐานอาชีพ

    16.08.2566
    10,230 View

    นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วยนายจรณวรรฒ ทองหลอม ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ ให้การต้อนรับผู้แทนจากสมาคมโลจิสติกส์และชัพพลายเชนรามคำแหง นำโดยคุณจันทนา เล็กสมบูรณ์ ประธานสมาคมโลจิสติกส์และชัพพลายเชนรามคำแหง พร้อมคณะ ในการหารือการดำเนินงานร่วมกันในการยกระดับกำลังคนในสาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ด้วยมาตรฐานอาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในการหารือดังกล่าว สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้แนะนำภาพรวมภารกิจการดำเนินงานของสถาบันฯ รวมถึงมาตรฐานอาชีพที่เกี่ยวข้อง และกระบวนการในการรับรองเป็นองค์กรรับรอง / หน่วยฝึกอบรมของสถาบันฯ และการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ จากการหารือดังกล่าว สมาคมโลจิสติกส์และชัพพลายเชนรามคำแหง เห็นความสำคัญของภารกิจของสถาบันฯ ที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างภาคการศึกษาและภาคกำลังแรงงาน ในการพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ อีกทั้งสมาคมฯ มีความประสงค์ที่จะยกระดับสมาชิกของสมาคม ซึ่งประกอบไปด้วย นักศึกษา นักวิชาการ กลุ่มคนในอาชีพ ให้มีมาตรฐานในการประกอบอาชีพ รวมถึงการเป็นหน่วยฝึกอบรม เนื่องจากเป็นภารกิจที่สมาคมได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว หากมีการต่อยอดด้วยมาตรฐานอาชีพจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกำลังคนในอาชีพมากยิ่งขึ้นต่อไป