ข่าวประชาสัมพันธ์

  • สคช. ร่วม ศอ.บต. , ฑูตแรงงาน, กระทรวงการต่างประเทศ คล้องแขนเชฟมือ 1 งาน APEC สานพลังร่วมแก้ปัญหาแรงงานไทยในร้านอาหารต้มยำกุ้ง พร้อมร่วมมือด้านแรงงาน ระหว่าง กับพื้นที่ จชต. ผลักดันทุกมิติให้สองประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน

    16.08.2566
    6,883 View

    สคช. ร่วม ศอ.บต. , ฑูตแรงงาน, กระทรวงการต่างประเทศ คล้องแขนเชฟมือ 1 งาน APEC สานพลังร่วมแก้ปัญหาแรงงานไทยในร้านอาหารต้มยำกุ้ง พร้อมร่วมมือด้านแรงงาน ระหว่าง กับพื้นที่ จชต. ผลักดันทุกมิติให้สองประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำทีม สคช. ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เชฟชุมพล แจ้งไพร สถาบันการอาหารไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พบปะหารือภาคส่วนต่างๆ ในมาเลเซีย เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต้มยำกุ้งในมาเลเซีย ซึ่งในปัจจุบันมีแรงงานไทยจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไปทำงานในประเทศมาเลเซียโดยมีทั้งแรงงานที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนใหญ่เข้าไปทำงานในร้านอาหาร "ต้มยำกุ้ง" มากกว่า 1.5 แสนคน ทั้งนี้ แรงงานต้มยำกุ้งเป็นเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงครอบครัวและประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากการทำงานในประเทศมาเลเซียให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการทำงานประเภทเดียวกันในประเทศไทย ทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มแรงงานดีขึ้น มีรายได้ส่งกลับให้ครอบครัว ซึ่งแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศมาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานกึ่งฝีมือและไร้ฝีมือ (Semi-Skilled and Unskilled) ไม่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและไม่ปรับตัวต่อสถานการณ์ เคยชินกับการเดินทางในอดีต ไม่มีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการเดินทางตามกฎหมาย กลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ขาดการเข้าถึงสิทธิประโยชน์อย่างครอบคลุม ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียได้ให้สิทธิพิเศษ (Privilege) แรงงานต้มยำกุ้งที่มาจากพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นกลุ่มแรงงานต่างชาติกลุ่มเดียว สามารถทำงานในร้านต้มยำกุ้งได้โดยยกเว้นไม่ต้องผ่านระบบ FWCMS ของมาเลเซีย (Foreign Workers Centralized Management System) ซึ่งแรงงานจากประเทศอื่นๆ ต้องเข้าสู่ระบบดังกล่าว ทำให้เป็นสิทธิพิเศษ ลดเวลาการรอวีซ่าก่อนเข้าไปทำงานในมาเลเซียได้ และไม่มีการจำกัดโควต้าในภาพรวม (แต่ละร้านได้โควต้าตามจำนวนเตาของร้าน) เป็นประเทศเดียวที่ได้รับสิทธิ์พิเศษ จาก 11 ประเทศ ที่มีแรงงานทำงานในประเทศมาเลเซีย ในการเดินทางลงพื้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้พบปะหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร “ต้มยำกุ้ง” โดยพบกับ นายโจฮารี บินอาหมัด ประธานชมรม Ukhuwah (เป็นเครือข่ายต้มยำกุ้งเครือข่ายใหญ่) รวมไปถึง ผู้ประกอบการร้านอาหารต้มยำกุ้งในประเทศมาเลเซีย แรงงานไทยภายในร้านอาหาร พนักงานให้บริการอาหาร พ่อครัว-แม่ครัว งานธุรการและงานอื่นๆ เพื่อรับฟังปัญหา อาทิ ความเป็นอยู่ของคนไทยในร้านอาหารต้มยำกุ้ง ตลอดจนปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางการส่งเสริมอาชีพผ่านร้านอาหารต้มยำกุ้ง ในทุกรัฐของประเทศมาเลเซีย พร้อมทั้งหารือแนวทางการผลักดันธุรกิจร้านอาหารต้มยำกุ้งให้เป็นธุรกิจที่สำคัญตั้งแต่กระบวนการต้นทาง กลางทางและปลายทาง ให้เป็นต้นแบบการทำงานเรื่องครัวไทย สู่ครัวโลกอย่างแท้จริง รวมทั้ง การสนับสนุนการพัฒนาทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจการร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย ทั้งในมิติการพัฒนาด้านทักษะแรงงาน และด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับสมาคมนักธุรกิจจีนมาเลเซีย เพื่อวางแผนการทำงานโดยตั้ง Working group เพื่อกำหนดแผนงานและประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันของประเทศไทยและมาเลเซียโดยเฉพาะพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีภูมิสังคมและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับประเทศมาเลเซียใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านการศึกษาเเละสังคม เพื่อจัดทำความร่วมมือด้านการศึกษาเเละทางด้านทางวิชาการ ร่วมกันในระดับสถาบันการศึกษา กับสถาบันการศึกษา เเละระหว่างรัฐกับรัฐ เเละเอกชนกับภาคเอกชน บนกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) ซึ่งประเทศไทยและมาเลเซียได้พัฒนากรอบคุณวุฒิของแต่ละประเทศที่สามารถเทียบเคียงระหว่างกันได้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านทักษะแรงงาน ในหลักสูตรที่เป็นความต้องการ ของประเทศมาเลเซียเเละอาเซียน เช่น อุตสาหกรรมอาหารไทยฮาลาล การพัฒนานวัตกรรมการบริการสุขภาพ และด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อจัดทำความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนที่จะมีการเชื่อมโยงกันระหว่าง 2 ประเทศ ตั้งแต่ระดับฐานราก โครงการพื้นฐานที่เชื่อมโยงกัน รวมถึงการจัดงาน road show ของดีชายแดนใต้ในทุกรัฐของประเทศมาเลเซีย เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าทางการเกษตรอีกด้วย และได้มีประชุมร่วมกับอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ประเทศมาเลเซีย และผู้แทนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนแรงงานไทย และกำหนดแนวทางการช่วยเหลือทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว เนื่องจากประเทศมาเลเซีย ได้เริ่มดำเนินมาตรการเข้มงวดการเข้าเมืองแก่ผู้ประกอบการ และประชาชนที่จะเข้ามาทำงานในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทางรัฐบาลไทย จะต้องรีบแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้แรงงานทุกคนสามารถเข้าทำงานในทุกรัฐของประเทศมาเลเซีย ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็ว โดยทาง ศอ.บต. ได้มีข้อเสนอเพื่อเป็นการจัดระเบียบแรงงานเพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถได้รับการดูแลตามกฎหมาย โดยมีการหยิบยกปัญหาและจำแนกประเภทแรงงานและข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งระบบแบบ Set Zero พร้อมวางขั้นตอนและวิธีการแก้ไขปัญหาในภาพรวมและในแต่ละประเด็นให้มีความชัดเจน ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต้มยำกุ้งในมาเลเซียแบบ Set Zero ในครั้งนี้ ศอ.บต. ได้เล็งเห็นบทบาทและภารกิจของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ในการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพให้แรงงานในที่ทำงานในร้านต้มยำกุ้ง ด้วยมาตรฐานอาชีพ ที่สถาบันฯ ได้จัดทำมาตรฐานอาชีพในอาชีพผู้ประกอบอาหารฮาลาล และอาชีพต่างๆ ในสาขาธุรกิจอาหาร เช่น พนักงานร้าน ซึ่งสามารถนำมาใช้พัฒนาสมรรถนะการทำงานของแรงงานในร้านต้มยำกุ้ง เป็นเครื่องยืนยันความสามารถของกำลังแรงงานไทยที่ทำงานในต่างประเทศ เปิดโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน และเป็นการสร้างให้เป็นต้นแบบการทำงานเรื่องครัวไทย สู่ครัวโลกอย่างแท้จริง และจะได้ให้สถาบันฯ มีส่วนร่วมแก้ปัญหาแรงงานไทยในร้านอาหารต้มยำกุ้งต่อไป

  • สคช. เยือนกัมพูชา ร่วมประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ประกอบการกิจการก่อสร้างไทยและผู้ส่งออกแรงงาน เร่งพัฒนาทักษะแรงงานตามมาตรฐานอาชีพ รองรับปัญหาขาดแคลนแรงงาน

    09.08.2566
    9,082 View

    สคช. เยือนกัมพูชา ร่วมประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ประกอบการกิจการก่อสร้างไทยและผู้ส่งออกแรงงาน เร่งพัฒนาทักษะแรงงานตามมาตรฐานอาชีพ รองรับปัญหาขาดแคลนแรงงาน เมื่อวันที่ วันที่ 7-8 สิงหาคม 2566 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. นำโดย นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมกับกระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษา ประเทศกัมพูชา สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย และ International Organization for Migration (IOM) สังกัดสหประชาชาติ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบกิจการก่อสร้างไทย ผู้ส่งออกแรงงานกัมพูชา และบริษัทไทยที่นำเข้าแรงงาน ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา เพื่อหาแนวทางสนับสนุนให้นายจ้างได้คัดเลือกแรงงานที่มีทักษะเหมาะสมกับงานเข้ามาในประเทศไทย และลดภาระการฝึกอบรมหน้างาน แก้ปัญหาอุตสาหกรรมก่อสร้างประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากมีคนไทยเลือกทำงานด้านนี้จำนวนน้อย และจำเป็นต้องพึ่งแรงงานข้ามชาติ แนวคิดการพัฒนาแรงงานที่จะเข้ามาทำงานเป็นช่างก่ออิฐให้มีทักษะตามมาตรฐานอาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้รับการสนับสนุนจาก Japan International Labour Foundation (JILAF) และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ในการประชุม กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมาย โดยชี้แจงว่า งานช่างก่ออิฐ อยู่ในบัญชี 3 ซึ่งเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไข คือ ให้คนต่างด้าวทำงานฝีมือหรือกึ่งฝีมือนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า สภาองค์การนายจ้างฯได้จัดประชุมกับนายจ้างและได้สอบถามความต้องการนำเข้าช่างก่ออิฐแล้วในเบื้องต้น โดยนายจ้างยินดีจะนำเข้าแรงงานตามช่องทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีความต้องการแรงงานกึ่งฝีมือ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ส่วนกระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษา ประเทศกัมพูชา ก็ยินดีที่จะนำมาตรฐานอาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ฝึกอบรมให้กับแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพจะหารือแนวทางความร่วมมือกับทั้งสองหน่วยงานต่อไป เพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงโอกาสการพัฒนาทักษะตั้งแต่ประเทศต้นทาง ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนสนับสนุนให้นายจ้างชาวไทยได้แรงงานที่มีทักษะเหมาะสมกับงาน

  • สคช. พร้อมรุกพัฒนาทักษะกำลังคนเพิ่มโอกาสไปทำงานในญี่ปุ่น หลังพบขาดแคลนแรงงานทักษะฝีมือโดยเฉพาะผู้ดูแลผู้สูงอายุ

    09.08.2566
    7,987 View

    สคช. พร้อมรุกพัฒนาทักษะกำลังคนเพิ่มโอกาสไปทำงานในญี่ปุ่น หลังพบขาดแคลนแรงงานทักษะฝีมือโดยเฉพาะผู้ดูแลผู้สูงอายุ นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วยนางสาวนฤมล พูลทรัพย์ ที่ปรึกษาสถาบัน นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมหารือกับ Mr.Toshinori Osumi, Former Chief Executive Officer, Hitachi Chemical Storage Battery Thailand PCL ในประเด็นการขาดแคลนแรงงานทักษะฝีมือในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งครอบคลุมทั้งในภาคธุรกิจบริการ เช่น อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ และในภาคอุตสาหกรรม เช่น อาชีพช่างก่อสร้าง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงานในสองภาคดังกล่าว รวมกว่า 100,000 ตำแหน่ง ซึ่งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) สามารถมีส่วนร่วมโดยสนับสนุนการพัฒนาทักษะ สมรรถนะของกำลังคนที่สนใจไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งสถาบัน ได้จัดทำมาตรฐานอาชีพในอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ พร้อมทั้งได้พัฒนาชุดฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพในรูปแบบ TPQI E-Training พร้อมให้นำไปใช้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพเพื่อพัฒนากำลังแรงงานไทยที่สนใจไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น ผ่านกลไกการฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพ รองรับการไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นด้วย SSW Visa (Specified Skilled Worker Visa) ได้ นอกจากนี้ ในการหารือ ได้มีแนวทางที่จะร่วมมือกันพัฒนาสื่อการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านทักษะการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น และด้านวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้แรงงานไทยที่ประสงค์จะไปเข้าสู่ตลาดแรงงานในประเทศญี่ปุ่นสามารถฝึกฝนและศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสการไปสู่การทำงานในประเทศญี่ปุ่น นำไปสู่การสร้างรายได้ที่มั่นคงได้ต่อไป

  • สคช.เข้าร่วมการประชุมเรื่อง “National e-Transaction Plan : Building Digital Competitiveness and Driving Digital GDP” ภายใต้โครงการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์แผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

    08.08.2566
    9,232 View

    เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โดยสำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเรื่อง “National e-Transaction Plan : Building Digital Competitiveness and Driving Digital GDP” ภายใต้โครงการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์แผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ณ โรงแรมอิสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพ ในการประชุมดังกล่าว มีการนำเสนอกรอบการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการสำคัญ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2566-2570 โดยโครงการสำคัญของ สคช. ที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนดังกล่าว คือ โครงการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคน และการพัฒนาสมรรถนะด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย (E- Workforce Ecosystem : EWE) และมีการเสวนา ในหัวข้อ “Holding Together and Empowering Future e-Transaction” โดยนายจรณวรรฒ ทองหลอม ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ ได้ร่วมเวทีเสวนาดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ กรมการปกครอง สดช. DEPA กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และสมาคมธนาคารไทย (คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน) ซึ่งได้มีการนำเสนอภารกิจของ สคช. ในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ การประเมิน และการรับรองสมรรถนะของบุคคล ซึ่งได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการ อีกทั้งได้มีการแนะนำแพลตฟอร์ม EWE และเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใช้งานผ่าน www.ewe.go.th

  • พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

    28.07.2566
    8,805 View

    วันศุกร์ ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ เวทีใหญ่ ท้องสนามหลวง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีคณะองคมนตรี ประธานองค์กรอิสระ คณะรัฐมนตรี และส่วนราชการในพระองค์ สำหรับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำคณะผู้บริหารเข้าร่วมพิธี

  • พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

    27.07.2566
    9,233 View

    พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นำโดย นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ชั้น ๑๔ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

  • สคช. ร่วมเชิดชูเกียรติ อพม. ทั่วประเทศ พร้อมส่งเสริมให้ได้รับการรับรองด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

    26.07.2566
    10,233 View

    สคช. ร่วมเชิดชูเกียรติ อพม. ทั่วประเทศ พร้อมส่งเสริมให้ได้รับการรับรองด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นตัวแทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน) หรือ สคช. เข้าร่วมพิธีเชิดชูเกียรติอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ประจำปี 2565-2566 จัดโดยกองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคม ตามโครงการเสริมสร้างแนวทางการพัฒนางานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างแนวทางการพัฒนางานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และยกย่องเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจ ให้กับกลุ่ม อพม. โดยมีนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดงาน นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองคนในอาชีพ ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ที่ผ่านมาได้ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ดำเนินการยกระดับมาตรฐานอาชีพของผู้ด้อยโอกาสในอาชีพต่างๆ เช่น ช่างทำผม ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ และพัฒนา อพม. โดยสถาบันสามารถร่วมเติมเต็มทักษะ Up-Skill Re-Skill ด้วยการนำมาตรฐานอาชีพที่สถาบัน มีอยู่แล้ว ในสาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ อาทิ ผู้ดูแลเด็ก ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อนผู้สูงวัย (Care BeFriend) รวมถึงผู้ส่งเสริมโภชนาการชุมชน มาพัฒนาศักยภาพของ อพม. ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนเหมาะสมกับบริบทของชุมชน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมให้การรับรองความสามารถด้วยคุณวุฒิวิชาชีพอีกด้วย นายจุติ กล่าวว่า พม. มีเป้าหมายในการพัฒนากลุ่ม อพม. ที่มีอยู่กว่า 300,000 คน ทั่วทุกหมู่บ้าน ซึ่งต้องพัฒนาให้มีศักยภาพในการทำงานอาสาสมัครให้ความช่วยเหลือทางสังคม และบริการประชาชนในท้องถิ่นให้มีคุณภาพ การมอบรางวัลเชิดชูเกียรติในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้กับกลุ่ม อพม. ที่ปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็งเท่านั้น แต่ยังผลักดันให้เกิดการพัฒนาตัวเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคม พร้อมด้วยการต่อยอดให้ได้รับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จะช่วยส่งเสริมให้ อพม.ได้พัฒนาตนเอง จนมีความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ให้ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ มีการรับรองมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้อย่างเต็มที่

  • สคช. – ICDL ประกาศความร่วมมือยกระดับทักษะดิจิทัลให้กำลังคนของไทย ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพระดับสากล

    25.07.2566
    11,638 View

    สคช. – ICDL ประกาศความร่วมมือยกระดับทักษะดิจิทัลให้กำลังคนของไทย ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพระดับสากล นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วย Mr.Damien O’Sullivan ประธานกรรมการบริหาร ICDL Foundation ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการร่วมส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กับ มาตรฐานสากล ICDL เพื่อให้ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา ภาครัฐ และเอกชน ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะและศักยภาพด้านดิจิทัลตามมาตรฐานสากล เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมี ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นางสาวกฤษฏิ์กัญญา กานต์จิรธันย์ กรรมการบริหาร ICDL Thailand ดร.วิฑูร สิมะโชคดี ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาดิจิทัล และตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมเป็นสักขีพยาน นางสาวจุลลดา กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการร่วมกันพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลให้ก้าวสู่ระดับสากล ด้วยการนำสมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้ดิจิทัลของ ICDL มาปรับใช้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลของประเทศ ด้วยชุดฝึกอบรมในการเพิ่มทักษะและยกระดับทักษะกำลังแรงงาน และมาตรฐานอาชีพที่เกี่ยวข้องด้าน ICT ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการพัฒนาการใช้งานระบบ E-Portfolio บนแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem (EWE) อันจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพเทียบเท่ากับระดับอาเซียนและก้าวสู่ระดับสากลต่อไป สำหรับบทบาทของ สคช. ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ คือดำเนินการรับรองมาตรฐานสากล และหลักสูตรอบรมของ ICDL พร้อมร่วมกันพัฒนามาตรฐานอาชีพ การประเมินสมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้ดิจิทัลและมาตรฐานอาชีพในสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัลของ สคช. ให้กับ นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรของประเทศ การเชื่อมโยงการใช้งานกับแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem (EWE) และการส่งเสริมค่านิยมในมาตรฐานอาชีพสู่ความเป็นมืออาชีพ โดยการสร้างช่องทางในการประเมินสมรรถนะด้านดิจิทัล และสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพด้านสมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้ดิจิทัลตามมาตรฐานสากล ของ ICDL นอกจากนี้นางสาวจุลลดา ได้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขัน ICDL Thailand Digital Challenge 2023 สุดยอดฝีมือดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นตัวแทนไปแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป

  • ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หารือแนวทางการเชื่อมโยงการพัฒนากำลังคน ในสาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ ร่วมกับ สคช.

    21.07.2566
    11,250 View

    ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) นำโดย ดร.นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ รองผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พร้อมด้วยดร.พรระวี สีเหลืองสวัสดิ์ ผู้บริหารโรงเรียนอนันตรักษ์การบริบาล เข้าพบนางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และผู้บริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. เพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงการพัฒนากำลังคน ในสาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้ดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงแนวทางความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลด้านกำลังคน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem Platform (EWE) และการรับรองหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

  • สคช. ปั้นนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมดิจิทัล

    20.07.2566
    8,460 View

    สคช. ปั้นนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมดิจิทัล นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มอบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ให้กับอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ผ่านการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ กับมหาวิทยาลัยมหิดล องค์กรที่มีหน้าที่รับรองรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ระดับ 3 ที่ผ่านการประเมินฯ เป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการร่วมมือทางวิชาการและวิจัยระหว่าง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กับสาขาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการร่วมกัน การจัดกิจกรรมด้านการจัดการความรู้รวมถึงพัฒนาหลักสูตร Work Integrated Learning (WIL) โดยมี รศ.ดร.จันทนา วัฒนกาญจนะ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นประธาน นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า การที่สถาบันการศึกษาระดับประเทศ ให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล ด้วยการประเมินสมรรถนะฯ ตามมาตรฐานอาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ถือเป็นการเตรียมความให้พร้อมนักศึกษา ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล ในการรับมือกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เป็นการส่งเสริมเกิดการพัฒนา ด้วยทักษะและสมรรถนะที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสถานประกอบการต่างๆ ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการประเมินสมรรถนะ ในอาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล ระดับ 3 จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับแบบจำลองข้อมูล (Data Model) ทั้งการจัดทำข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เบื้องต้น การอธิบายข้อมูล และการสำรวจข้อมูล โดยมีทักษะในการสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากรายงานของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจในอดีตได้ เพื่อนำไปวิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจได้ โดยใช้เครื่องมือการพัฒนาเพื่อจัดทำรายงาน กระดานสรุปข้อมูล หรือแดชบอร์ด (Dashboard) ในการสรุปข้อมูล สามารถใช้สารสนเทศ เพื่อควบคุมคุณภาพงานได้ รวมถึงมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพอีกด้วย

  • สคช. - กรมพัฒฯ ขึ้นเหนือ แจงแนวทางการให้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ กับผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ยกระดับกำลังแรงงานให้มีคุณวุฒิที่สูงขึ้น

    19.07.2566
    9,800 View

    สคช. - กรมพัฒฯ ขึ้นเหนือ แจงแนวทางการให้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ กับผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ยกระดับกำลังแรงงานให้มีคุณวุฒิที่สูงขึ้น 18 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมทรีธารา จังหวัดลำปาง นางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำทีม สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ชี้แจงแนวทางการให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ แก่ผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 20 อาชีพ 3 สมรรถนะ ให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ทั้ง 17 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีนายสมชาติ สุภารี ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นางสาวจุลลดา กล่าวว่า การให้คุณวุฒิวิชาชีพ กับผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 20 อาชีพ 3 สมรรถนะ เกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงาน ที่มีเป้าหมายสำคัญในการนำไปสู่การบริการที่ดีที่สุดให้กับคนในอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพกำลังแรงงานของประเทศ โดยคุณวุฒิวิชาชีพ สามารถเชื่อมโยงโลกของอาชีพ และโลกของการศึกษาเข้าไว้ด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นปริญญาทางอาชีพ ซึ่งกลไกของคุณวุฒิวิชาชีพ จะช่วยให้คนทำงานที่มีประสบการณ์ สามารถกลับเข้าสู่การศึกษาได้ สำหรับผู้ที่มีงานอยู่แล้วก็มีโอกาสได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น และยังมองเห็นเส้นทางการพัฒนาตัวเอง และความก้าวหน้าในอาชีพได้อีกด้วย นายสมชาติ กล่าวว่า การสร้างการรับรู้ และความเข้าใจ แนวทางการให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ แก่ผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จะทำให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ได้มีการสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของกำลังแรงงาน ให้มีคุณวุฒิที่สูงขึ้น สร้างโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ สร้างความเชื่อมั่น ยกระดับกําลังแรงงานไทยสู่ ระดับสากล รองรับกับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีต่อไป สำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 20 อาชีพ 3 สมรรถนะ อาทิ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร สาขาช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก สาขาช่างบำรุงรักษารถยนต์ สาขาผู้ประกอบอาหารไทย เป็นต้น ทั้งนี้สามารถยื่นขอคุณวุฒิวิชาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ โดยดาวโหลดน์แบบฟอร์ม ปคร.007 ที่ www.tpqi.go.th กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนส่งมาที่ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือส่งมาที่ E-mail : [email protected] ทั้งนี้ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 063-3733922

  • สคช. ล่องใต้ ถกแนวทางการให้คุณวุฒิวิชาชีพ แก่ผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

    14.07.2566
    9,568 View

    สคช. ล่องใต้ ถกแนวทางการให้คุณวุฒิวิชาชีพ แก่ผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ สงขลา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. โดย นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ลงใต้เปิดเวที ชี้แจงแนวทางการให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพแก่ผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 20 อาชีพ 3 สมรรถนะ ให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีนายสมชาติ สุภารี ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน นางสาววรชนาธิป กล่าวกับผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้ง 14 จังหวัด ทางภาคใต้ว่า การให้การรับรองกำลังคน ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ 2 หน่วยงานในการเชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานฝีมือแรงงานไว้ด้วยกัน โดยคุณวุฒิวิชาชีพ ถือเป็นอีกหนึ่งคุณวุฒิของประเทศไทยที่เทียบได้กับคุณวุฒิทางการศึกษาในระดับต่างๆ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สามารถเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ได้มีงานทำ มีโอกาสได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง รับค่าตอบแทนพิเศษ รวมถึงมีช่องทางในการฝึกอบรม พัฒนาตัวเอง ศักยภาพในการทำงาน สร้างโอกาสการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพ ก็สามารถนำคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพได้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ และเป็นการยกระดับให้กำลังแรงงานของประเทศมีศักยภาพได้รับการยอมรับ รวมถึงมีคุณวุฒิที่สูงขึ้นต่อไป นายสมชาติ กล่าวว่า แนวทางการให้ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพแก่ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติดังกล่าว เป็นการขยายผลและสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ชัดเจนมากขึ้น โดยการสนับสนุน ประชาสัมพันธ์ และร่วมกันส่งเสริมให้กำลังแรงงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อสร้างความก้าวหน้า เพิ่มโอกาสในการเลื่อนระดับตำแหน่งงาน และอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นด้วย ถือเป็นการพัฒนาแรงงานของประเทศอย่างแท้จริง ก่อนหน้านี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มีการรับฟังความคิดเห็น จากผู้บริหารและตัวแทนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จากภาคกลางและภาคตะวันออกที่กรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่นมาแล้วทั้งนี้ในพื้นที่ภาคเหนือ จะมีการจัดประชุมสัมมนาที่ จังหวัดลำปาง วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ เพื่อผลักดันให้มีผู้ขอรับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพและหนังสือรับรองสมรรถนะของผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ว่ามีแนวทางที่จะผลักดันและขยายผลไปทั่วประเทศต่อไป สำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 20 อาชีพ 3 สมรรถนะ สามารถเข้าสู่กระบวนการยื่นขอคุณวุฒิวิชาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ด้วยตัวเอง โดยการติดต่อรับแบบฟอร์ม ปคร.007 โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ www.tpqi.go.th พร้อมกรอกข้อมูลลงแบบฟอร์ม ยื่นพร้อมหลักฐานการผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ส่งมาที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือส่งเป็นไฟล์เอกสารผ่านทาง E-mail : [email protected] สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 063-3733922

  • สคช. ทัวร์อีสาน ปักหมุดจังหวัดมหาสารคาม ชวนนักเรียน นักศึกษาใช้งานระบบ E-Portfolio

    14.07.2566
    11,091 View

    สคช. ทัวร์อีสาน ปักหมุดจังหวัดมหาสารคาม ชวนนักเรียน นักศึกษาใช้งานระบบ E-Portfolio

  • สคช. นำทีมเยือน สปป.ลาว แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานทดแทน สร้างความมั่นคงทางพลังงานของทั้ง 2 ประเทศ

    14.07.2566
    7,559 View

    สคช. นำทีมเยือน สปป.ลาว แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานทดแทน สร้างความมั่นคงทางพลังงานของทั้ง 2 ประเทศ

  • สคช. รวมพลภาคธุรกิจ 4 กลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ ยกระดับคุณภาพชีวิตกำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ

    12.07.2566
    9,379 View

    สคช. รวมพลภาคธุรกิจ 4 กลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ ยกระดับคุณภาพชีวิตกำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ 12 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก กรุงเทพมหานคร สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. จัดงาน “รวมพลหนุนคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อคนทำมาหากิน” พร้อมประกาศเจตนารมณ์ สร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการและภาคีเครือข่ายพันธมิตรภาคธุรกิจ 4 กลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศ ประกอบไปด้วย บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด และสมาคมโรงแรมไทย ในสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร เพื่อสร้างการยอมรับในระบบคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ในการบริหารงานบุคคลในสถานประกอบการ โดยมีนายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาวนฤมล พูลทรัพย์ ที่ปรึกษาสถาบัน ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้บริหารสถานประกอบการ อาทิ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ธนาคารออมสิน SME D Bank บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด บริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด Global Healthcare Accreditation ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท สามมิตรมอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริง จำกัด (มหาชน) บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จำกัด ร่วมในงาน นายนคร กล่าวว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้น เป็นการรวมพลต้นแบบภาคธุรกิจครอบคลุม 4 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ ที่ให้การยอมรับและใช้ประโยชน์จากระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคุณวุฒิของประเทศไทย ที่เทียบได้กับคุณวุฒิทางการศึกษา สร้างโอกาสให้กำลังแรงงานได้มีคุณวุฒิที่สูงขึ้น และยกระดับเป็นกำลังแรงงานคุณภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางสังคมและเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศให้สูงขึ้นด้วย ดร.ฉัตรชัย ยาจันทร์ทา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานประสบการณ์ผู้ป่วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรสนับสนุนทางการแพทย์ในสถานประกอบการให้มีคุณภาพจนได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งมีทั้งล่าม นักแปลภาษาทางการแพทย์ และนักเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยงการรักษาระหว่างแพทย์และผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการถึงความปลอดภัย และการให้บริการที่เป็นไปตามมาตรฐานที่สากลให้การยอมรับ รองรับทิศทางการพัฒนาประเทศไทย ในมุ่งสู่การเป็น Medical & Wellness Destination ของภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะการมีความพร้อมด้านบุคลากรที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการพัฒนาศักยภาพกำลังคนผู้ประกอบอาชีพในโรงแรม ในสังกัดสมาคมโรงแรมไทย ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อการยกระดับกำลังคนในสถานประกอบการให้ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ สร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการ รองรับการกลับมาฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายหลังผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 อีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเดินหน้า ผลักดันให้เกิดการรับรองหลักสูตรพนักงานแม่บ้านโรงแรม ส่งผลให้พนักงานในกลุ่มพนักงานต้อนรับ กลุ่มแม่บ้านโรงแรมได้รับโอกาสพัฒนาบริการอย่างมีคุณภาพ และยังแก้ไขปัญหาขาดแคลนแม่บ้านที่ให้บริการในโรงแรมอีกด้วย นายเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ เห็นความสำคัญของคุณภาพของพนักงานเป็นปัจจัยแรก ที่ทำให้ลูกค้าเลือกใช้บริการ การรับรองมาตรฐานอาชีพผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ได้เป็นส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของพนักงาน ที่ทำให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจ และยังนำไปสู่การได้รับค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาวนาทีรัตน์ บุญรัตน์ ประธานบริหารสายงานทรัพยากรบุคคลและหน่วยธุรกิจพีเพิลคอนเน็ค บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กล่าวว่า ใช้มาตรฐานอาชีพสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ครอบคลุม ทุกตำแหน่งตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่พนักงานบริการในร้าน พนักงานครัว ผู้จัดการร้าน ต่อยอดไปถึงในครัวกลาง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการยกระดับพนักงานของฟู้ดแพชชั่น ให้ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างการยอมรับ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่าการให้บริการของพนักงานร้านอาหาร ได้คำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ตามแบบฉบับของมืออาชีพ

  • สคช. ร่วมงาน Smart SME Expo 2023 พร้อมดันผู้ประกอบการ SME ให้มีศักยภาพด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

    06.07.2566
    10,204 View

    สคช. ร่วมงาน Smart SME Expo 2023 พร้อมดันผู้ประกอบการ SME ให้มีศักยภาพด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ