ข่าวประชาสัมพันธ์

  • สคช. คิกออฟ จัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ ครั้งแรกของประเทศ ตอบโจทย์การนำเข้าแรงงานอย่างเป็นระบบ

    27.09.2565
    15,381 View

    สคช. คิกออฟ จัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ ครั้งแรกของประเทศ ตอบโจทย์การนำเข้าแรงงานอย่างเป็นระบบ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. จัดประชุมเปิดตัวโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักกฎหมาย รวมถึงมีจรรยาบรรณในการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของแรงงานข้ามชาติ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) โดยมี นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นางสาววรชนาธิป จันทนู นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการฯ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันฯ นางสาวนฤมล พูลทรัพย์ ที่ปรึกษาประธานสถาบันฯ และตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ปรึกษา สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการแรงงาน สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม และตัวแทนบริษัทนำเข้าแรงงานข้ามชาติ เข้าร่วมประชุม นายสุรพล กล่าวว่า จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตรกรรม ประมงและแรงงานก่อสร้าง และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงต้องมีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติ ส่งผลให้ไทยติดอันดับที่ 17 ของโลก และถือเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติมากที่สุด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ และการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีสถานภาพที่ผิดกฎหมาย ที่อาจไม่สามารถเข้าถึงกลไกคุ้มครองทางสังคมและสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้ ดังนั้น การจัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ จะทำให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ที่อยู่ในอาชีพ ได้เข้าใจถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมถึงการป้องกันไม่ให้แรงงาน ต้องตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบและแสวงประโยชน์และปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน Mr. Maximilian Pottler Head of Labour Mobility and Social Inclusion, IOM Thailand กล่าวว่ารู้สึกยินดีที่ทุกหน่วยงานด้านแรงงาน ให้ความสำคัญกับมาตรฐานอาชีพสรรหาแรงงานข้ามชาติ เพราะบุคลากรเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการนำเข้าแรงงานอย่างมีจริยธรรม เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานอาชีพดังกล่าว จะมีความหมายก็ต่อเมื่อทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป นอกจากนี้ บนเวทีเสวนาบทบาทของผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติและการส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ โดยมี นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ, นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน, นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร, นางสิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย, นางสาวณัชภัทรกานต์ โชติศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการแรงงาน และนางสาวบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิชาการสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม ร่วมเป็นวิทยากร ก็มีความคิดเห็นที่หลากหลาย ทั้งจากภาครัฐ ตัวแทนนายจ้าง และภาคประชาสังคม ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นนิมิตหมายที่ดี ในการเริ่มต้นจัดทำมาตรฐานอาชีพดังกล่าว ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีการจัดทำให้สอดคล้องกับกฎหมายที่จะมากำกับดูแลการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่จะต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเห็นอกเห็นใจเกี่ยวกับการทำงานของแรงงานข้ามชาติอีกด้วย จริยธรรมและคุณธรรม ที่ต้องการ ความรู้ความสามรรถ และความเชี่ยวชาญในทุกมิติความแม่นยำในการนำเข้า เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้แรงงานข้ามชาติ รับผิดชอบต่อสังคม บนจ. มีหลายส่วน ก่อนจะได้มาตรฐานวิชาชีพจะต้องมีความรู้ความสามารถในทุกมิติ ดูแลในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ได้กล่าวถึงประเด็นการส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติ การจัดทำมาตรฐานดังกล่าว ไม่เพียงแต่กฎหมายที่จะมากำกับดูแลการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่จะต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรม ความเห็นอกเห็นใจเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติด้วย ตระหนักและทำเรื่องพี่น้องแรงงานข้ามชาติผ่าน นายจ้าง และผู้จัดหาแรงงานข้ามชาติ นางสาวจุลลดา กล่าวว่า สคช. มีความต้องการส่งเสริมให้แรงงานข้ามชาติ ได้มีโอกาสพัฒนาตัวเอง โดยเริ่มจากอาชีพพื้นฐาน เช่น อาชีพแม่บ้าน อาชีพช่างก่ออิฐ และช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อให้แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้รับการรับรองจากระบบคุณวุฒิวิชาชีพมาโดยตลอด ไม่แต่สร้างความภาคภูมิใจให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติเท่านั้น แต่สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวทั้งในประเทศไทย และสามารถนำไปใช้ประกอบการทำงาน ภายหลังกลับไปยังภูมิลำเนาได้ ทั้งนี้ สอดคล้องกับแนวปฏิบัติและมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานข้ามชาติถูกเอารัดเอาเปรียบ พร้อมได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การประชุมครั้งนี้จะได้รับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปจุดเริ่มต้นของการจ้างงานที่มีคุณค่า ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตและยั่งยืน

  • สคช. ลุยต่อ ดัน อสม. กำแพงเพชร เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุมืออาชีพ สร้างพลังบวกให้ชุมชนได้มีผู้สูงอายุที่แข็งแรงทั้งสุขภาพกาย-ใจ

    22.09.2565
    14,269 View

    สคช. ลุยต่อ ดัน อสม. กำแพงเพชร เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุมืออาชีพ สร้างพลังบวกให้ชุมชนได้มีผู้สูงอายุที่แข็งแรงทั้งสุขภาพกาย-ใจ

  • พิษณุโลกตอบรับขับเคลื่อนมืออาชีพด้านการดูแลผู้สูงอายุ

    19.09.2565
    13,587 View

    พิษณุโลกตอบรับขับเคลื่อนมืออาชีพด้านการดูแลผู้สูงอายุ

  • สคช. จับมือ บสย. ดันผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพ SMEs ไทย

    16.09.2565
    12,436 View

    สคช. จับมือ บสย. ดันผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพ SMEs ไทย นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมปิดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs คุณวุฒิวิชาชีพเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในเครือข่ายของ สคช. เตรียมความพร้อมด้านการเงิน และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยมี นางผกามาศ สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายส่งเสริมลูกค้าและพัฒนาผู้ประกอบการ บสย. ร่วมกล่าวปิดโครงการ พร้อมด้วย ดร.สมศักดิ์ ชลาชล นายกสมาคมวิชาชีพช่างทำผมไทย นายจรรยาฤทธิ์ ทรงมณี ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs และผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมงานผ่านออนไลน์ นางสาวจุลลดา กล่าวว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นการสนับสนุนให้ธุรกิจ SMEs ของไทย มีศักยภาพในการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยมีส่วนช่วยในการสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ ได้มีทักษะความรู้ด้านการบริหารจัดการทางด้านการเงิน การขายและการตลาดมากขึ้น ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงทำวิเคราะห์ตลาดเป้าหมาย และสามารถทำแผนธุรกิจ เพื่อประกอบการขอสินเชื่อเพื่อดำเนินธุรกิจได้ ทั้งนี้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพได้รับความรู้ทางด้านการเงิน การตลาด เพื่อนำไปต่อยอดปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจต่อไป สำหรับโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs คุณวุฒิวิชาชีพเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนเป็นครั้งแรก โดยตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมาสามารถพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ที่ผ่านการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวย ท่องเที่ยวชุมชน และธุรกิจอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่มีความต้องการแหล่งทุน เพื่อนำไปปรับปรุงธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐาน ขณะที่หลังจากนี้ จะมีความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการรายย่อยให้ตอบโจทย์ธุรกิจได้ และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับเทคนิคการคำนวณต้นทุน เพื่อให้เกิดการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ โดยคุณจรรยฤทธิ์ ทรงมณี ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs บสย. และบรรยายพิเศษ การถอดบทเรียนธุรกิจ ของ ดร.สมศักดิ์ ชลาชล นายกสมาคมวิชาชีพช่างทำผมไทย ที่มาเปิดประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเริ่มต้นรุรกิจได้อย่างเข้มแข็งอีกด้วย

  • สคช. จัดงาน “คุณวุฒิวิชาชีพ คุณวุฒิของคนทำมาหากิน” ชูสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนร่วมยกระดับกำลังแรงงานด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

    15.09.2565
    10,796 View

    สคช. จัดงาน “คุณวุฒิวิชาชีพ คุณวุฒิของคนทำมาหากิน” ชูสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนร่วมยกระดับกำลังแรงงานด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ 14 ก.ย. 65 กรุงเทพฯ - สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. จัดงาน “คุณวุฒิวิชาชีพ คุณวุฒิของคนทำมาหากิน” และพิธีแสดงเจตนารมณ์ "การเชื่อมโยงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศ" ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 52 หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังแรงงานกลายเป็นแพลตฟอร์มฐานข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกันเป็นครั้งแรกของประเทศไทย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การพัฒนาทุนมนุษย์และยกระดับศักยภาพกำลังแรงงานของประเทศไทยในทุกมิติ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรและกำลังแรงงานของประเทศไทยในสาขาอาชีพต่างๆ ให้เป็นแรงงานคุณภาพ มีทักษะและความเชี่ยวชาญในระดับสูงได้การรับรองตามมาตรฐานอาชีพ และได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งเป็นคุณวุฒิใหม่ของประเทศไทยที่ให้การรับรองความรู้ ทักษะ และความสามารถ ของกำลังแรงงาน เพื่อให้พี่น้องกำลังแรงงานของประเทศไทยได้พัฒนาตัวเองในช่องทางต่างๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืนและได้รับคุณวุฒิที่เทียบเท่าคุณวุฒิทางการศึกษาในระดับต่างๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลจะดำเนินการรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเพื่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า รัฐบาลมุ่งพัฒนาคนไทยให้มีทักษะสำหรับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและมุ่งพัฒนาคนในทุกมิติตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างหลักประกันทางสังคมที่เหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่ม กำลังแรงงานของประเทศไทยมีอยู่มากกว่า 38 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 37.7 ล้านคน ว่างงานอีก 748,268 คน และเป็นแรงงานนอกฤดูอีกราว 2 แสนคน ส่วนผู้ที่ไม่ใช่กำลังแรงงานซึ่งมีทั้งเด็ก คนชรา ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณมีอีกกว่า 18 ล้านคน เหล่านี้เป็นตัวเลขที่รัฐบาลได้หาแนวทางที่ทำให้กำลังคนเหล่านี้ได้มีโอกาสในการเสริมสร้างศักยภาพของตัวเอง ทั้งนี้ภายใต้ความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน จะช่วยทำให้กำลังแรงงานเข้มแข็งขึ้น การพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ตอบโจทย์การยกระดับสมรรถนะกำลังคนวัยทำงานในอนาคตทั้ง Upskill – Reskill เพื่อทำให้กำลังแรงงานเหล่านั้นมีโอกาสในการเสริมสร้างทักษะและศักยภาพของตัวเองเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพแลเพื่อทำให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นแรงงานทักษะสูงเป็นที่ต้องการของตลาด ผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิทางการศึกษา ก็จะได้รับคุณวุฒิวิชาชีพที่พร้อมให้การรับรองความรู้ ความสามารถ และเมื่อสังคมเกิดการยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพ ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการจ้างงาน เพิ่มโอกาสในการปรับตำแหน่งหน้าที่ให้สูงขึ้นสามารถเจริญเติบโตก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งในต่างประเทศได้ให้การยอมรับ ในเรื่องความรู้ ทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ในการทำงานกันมานานแล้ว ประเทศไทยเองก็ต้องสร้างการยอมรับสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในประเทศอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว สำหรับคนว่างงาน แรงงานนอกฤดูกาล หรือผู้ที่ไม่ใช่กำลังแรงงาน รัฐบาลก็ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การเป็นรัฐบาลดิจิทัล มีธนาคารหน่วยกิตสะสมผลการเรียนรู้ของเหล่านักเรียน นักศึกษาเพื่อการก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคตได้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานอย่างแท้จริง เพราะนอกจากการศึกษาในห้องเรียนแล้วต้องมีการเรียนรู้ในด้านต่างๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล และการฝึกประสบการณ์ ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศที่เกิดขึ้นในวันนี้ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนากำลังคนของประเทศให้มีโอกาสเรียนรู้ พัฒนาขีดความสามารถในการทำงานที่มีมาตรฐานได้รับการยอมรับจากภาคเอกชนและภาคธุรกิจ ขณะเดียวกันต้องฝากให้ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ประกอบการให้การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาและเรียนรู้ทักษะภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น ให้กับบุคลากรภายในหน่วยงานของตัวเอง เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพให้มีความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาคน เพื่อให้ทุกคนในชาติมีภูมิต้านทานต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราทุกคนจะพัฒนาไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เมื่อทุกคนมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติหรือภัยคุกคามประเภทไหน ก็จะต่อสู้ฝ่าฟันไปได้และเกิดเป็นความยั่งยืนอย่างแท้จริง ด้านนายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวถึง การดำเนินงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ประจำปี 2565 ว่าสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ให้การรับรองคนด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อเปิดโอกาสให้กำลังแรงงาน ได้เข้าถึงการพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถในการประกอบอาชีพ ด้วยการวัดระดับจากมาตรฐานอาชีพ ที่ถูกกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญเจ้าของอาชีพ ครอบคลุมทั้งธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการผลิต และการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การรับรองด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าคุณวุฒิทางการศึกษา ในปี 2565 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพ โดยเจ้าของในอาชีพ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่ทำงานอยู่ในอาชีพ สถานศึกษา สมาคม องค์กรอาชีพต่างๆ มาร่วมกันพัฒนา กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ จัดทำมาตรฐานอาชีพ ซึ่งตรงตามสภาพการทำงาน และตรงตามหลักเกณฑ์การประกอบอาชีพอย่างแท้จริง พร้อมประกาศใช้ในพระราชกิจจานุเบกษา ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 900 อาชีพ โดยเฉพาะปี 2565 มีการจัดทำใหม่ 25 อาชีพ และทบทวนมาตรฐานอาชีพเดิมให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันจำนวน 84 อาชีพ ครอบคลุมทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ อุตสาหกรรมการผลิต และการเกษตร ซึ่งมาตรฐานอาชีพเหล่านี้เป็น เกณฑ์บ่งชี้สมรรถนะที่ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวัดระดับความรู้ ความสามารถกำลังแรงงานให้ตรงกับสภาพการทำงานในแต่ละอาชีพอย่างแท้จริงผ่านกลไกการทดสอบ หรือประเมินสมรรถนะที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสาขาอาชีพ มาตรฐานอาชีพยังถูกใช้เป็นแนวทางในการให้กำลังแรงงานของประเทศ นำไปพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของตัวเอง รวมถึงหน่วยงาน สถานประกอบการ ซึ่งมีหน้าที่พัฒนากำลังแรงงาน ก็นำไปปรับเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมและการเรียนการสอนให้ตรงตามกรอบสมรรถนะที่กำหนดได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยทั้งพัฒนากำลังแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาด ช่วยทั้งให้ตลาดที่มีกำลังแรงงานอยู่แล้ว ได้มีกรอบในการพัฒนาคนที่ชัดเจน ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการที่แท้จริง โดยผู้ที่ผ่านการทดสอบสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพที่กำหนด ซึ่งมีการทดสอบ ประเมินตามรายการสมรรถนะในแต่ละสาขาอาชีพมาทำการทดสอบที่แตกต่างกันไป ทั้งสอบข้อเขียนวัดความรู้ วัดทักษะ สอบปฏิบัติจริง ถ้าผ่านก็จะได้รับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่ากับคุณวุฒิทางการศึกษา ซึ่งคุณวุฒิวิชาชีพเราเรียกว่าคุณวุฒิของคนทำมาหากินจริงๆ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพกล่าว ทั้งนี้ สคช. จับมือ 52 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน เชื่อมฐานข้อมูลกำลังแรงงานเพื่อการพัฒนากำลังของของประเทศด้วยระบบ EWE โดยเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้รับผิดชอบในกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) เรื่อง การพัฒนาระบบการบริหารจัดการกำลังคนของประเทศแบบบูรณาการ โดยในกิจกรรมปฏิรูปประเทศฯ ได้มีการพัฒนา E-Workforce Ecosystem Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอัจฉริยะในการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนและการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย ที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ด้านตลาดแรงงานอยู่บนโครงสร้างเดียวกัน โดย E-Workforce Ecosystem Platform ประกอบด้วยระบบ ได้แก่ - ระบบ E-portfolio เป็นการจัดเก็บข้อมูลของบุคคลอย่างเป็นระบบ อาทิ ข้อมูลประวัติการศึกษา การอบรม ประสบการณ์ทำงาน ทักษะที่บุคคลมีไว้ในที่เดียว - ระบบ Education and Career Guidance Check เป็นการประเมินทักษะ ความรู้ของตนเองว่าต้องพัฒนาอะไรบ้าง (3) ระบบ E-Coupon เป็นระบบสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการ Up-skill Re-skill New-skill หรือต้องการพัฒนาเป็นอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3 โดยตรงไปยังผู้ใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการชำระเงิน ตรวจสอบ ติดตามผลได้ โดยจะอบรมผ่าน Accredited Training Programs ที่ได้รับการรับรอง - ระบบ Digital Credit Bank หรือ Competency Credit Bank เป็นระบบการสะสมประสบการณ์เพื่อเชื่อมโยงภาคการศึกษา - ระบบ Job Matching ระหว่างคนหางานและผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพ เกิดการจ้างงานทุกระดับอย่างเป็นธรรม ผู้ประกอบการได้แรงงานมีคุณภาพ มีทักษะฝีมือตรงตามความต้องการ จะเห็นได้ว่า E-Workforce Ecosystem Platform เป็นระบบที่ช่วยในการสร้างโปรไฟล์ เพื่อรองรับการเพิ่มทักษะ การมีงานทำ การศึกษาต่อได้ และยังเป็นกลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) อย่างเป็นรูปธรรม สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ และกำลังแรงงานในสถานประกอบการทุกท่าน เข้าใช้งานแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem เพื่อค้นหาข้อมูลด้านกำลังแรงงานของประเทศ และร่วมกันสร้างค่านิยมใหม่ให้สังคมเห็นคุณค่าของประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ด้วยประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ โดยสามารถเข้าไปฝากประวัติผลงานในระบบ EWE ที่เว็บไซต์ https://ewe.go.th ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพกล่าวปิดท้าย

  • สคช. ร่วมสร้างแรงบันดาลใจ ให้บุคลากรชีวศึกษาทั่วประเทศ พร้อมย้ำให้เร่งพัฒนาหลักสูตร และเพิ่มทักษะ ให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ

    09.09.2565
    9,483 View

    สคช. ร่วมสร้างแรงบันดาลใจ ให้บุคลากรชีวศึกษาทั่วประเทศ พร้อมย้ำให้เร่งพัฒนาหลักสูตร และเพิ่มทักษะ ให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ

  • AAT พร้อมเป็นต้นแบบสถานประกอบการยอมรับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ และร่วมมือกับ สคช. พัฒนากำลังแรงงานให้เป็นคนคุณภาพด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

    05.09.2565
    10,997 View

    AAT พร้อมเป็นต้นแบบสถานประกอบการยอมรับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ และร่วมมือกับ สคช. พัฒนากำลังแรงงานให้เป็นคนคุณภาพด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ   นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. และนายเคนอิจิโร ซารุวาตาริ ประธานบริษัทออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ AAT ลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สคช. และ AAT บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ฟอร์ด และมาสด้า ในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของ AAT ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานอาชีพ นำไปสู่การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพและรับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ รวมถึงพัฒนาอาชีพเสริมให้แก่พนักงานของ AAT โดยมีนายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาววรชนาธิป จันทนู นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันฯ คณะผู้บริหาร สคช. นายสถิรยุทธ แสงสุวรรณ รองประธานบริษัท ฝ่ายทรัพยากรบุคคล AAT และคณะผู้บริหารของ AAT ร่วมเป็นสักขีพยานในงาน นายนคร กล่าวว่า การร่วมมือกันครั้งนี้ ไม่เพียงส่งเสริมและพัฒนาพนักงานของ AAT ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานอาชีพและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพเท่านั้น แต่จะมีการสร้างอาชีพที่ 2 ให้แก่พนักงานเพื่อสร้างเสริมรายได้เพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งนี้การเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสององค์กร และกำลังแรงงานของชาติ ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับบุคลากรในสถานประกอบการให้ทำงานตรงตามมาตรฐานอาชีพ นำไปสู่การสร้างงาน มีรายได้ยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ นายสุรพล กล่าวว่า ความร่วมมือกับ AAT นับเป็นก้าวสำคัญของสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่ให้การยอมรับในประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งแนวทางความร่วมมือครั้งนี้ไม่เพียง สคช. จะศึกษาและยอมรับกระบวนการพัฒนาบุคลากรภายในของ AAT เพื่อนำไปสู่การรับรองมาตรฐานอาชีพและการให้คุณวุฒิวิชาชีพแก่พนักงานของ AAT แต่จะมีการส่งเสริมใช้นวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่ (E-Training) ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อนำไปสู่การรับรองมาตรฐานอาชีพ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงิน ซึ่งการนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ประโยชน์นอกจากจะพัฒนากำลังแรงงานให้เป็นกำลังแรงงานคุณภาพแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางด้านการเงิน ความก้าวหน้าในอาชีพ และเป็นการเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยสำหรับแรงงานของ AAT ด้วย   นายเคนอิจิโร กล่าวว่า AAT พร้อมส่งเสริมให้พนักงานได้การรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ และรับประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการขับเคลื่อนให้พนักงานได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ ที่สำคัญคือการนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ในระบบบริหารงานบุคคล ซึ่งที่ผ่านมาการรับบุคลากรจะยึดโยงกับวุฒิการศึกษาเป็นหลัก โดยเฉพาะตำแหน่งเฉพาะอย่างวิศวกร แต่ในการทำงานจริงมีผู้ปฏิบัติหลายคนอาศัยทักษะ ความชำนาญเฉพาะด้าน และประสบการณ์จากการทำงาน กลายเป็นนักคิดค้นพัฒนานวัตกรรมสามารถนำมาใช้ในสถานประกอบการได้จริง การรับรองประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ความสามารถให้กับผู้ปฏิบัติเหล่านี้เท่ากับเป็นเครื่องยืนยันประสิทธิภาพการทำงาน เป็นการรองรับความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เพิ่มโอกาสให้บุคลากรมีรายได้ที่สูงขึ้น และพร้อมเป็นต้นแบบในการนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้สำหรับสถานประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าการยอมรับในระบบคุณวุฒิวิชาชีพ จะสร้างอานิสงฆ์ให้กับกำลังแรงงานของประเทศเป็นอย่างยิ่ง

  • สคช. ร่วมเปิดมหกรรม Thailand Gems and Jewelry Fair 2022 เตรียมยกระดับกำลังคนให้มีมาตรฐานระดับสากล รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ของประเทศ

    02.09.2565
    10,388 View

    สคช. ร่วมเปิดมหกรรม Thailand Gems and Jewelry Fair 2022 เตรียมยกระดับกำลังคนให้มีมาตรฐานระดับสากล รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ของประเทศ

  • สคช. เดินหน้ายกระดับ อสม.สระบุรี สู่ผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมืออาชีพ ตั้งเป้าเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้มีคุณภาพ

    03.09.2565
    10,736 View

    สคช. เดินหน้ายกระดับ อสม.สระบุรี สู่ผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมืออาชีพ ตั้งเป้าเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้มีคุณภาพ

  • กำหนดการเสวนา "ยกระดับปศุสัตว์ไทยสู่ความ เป็นมืออาชีพ ด้วยมาตรฐานอาชีพฯสาขาปศุสัตว์"

    02.09.2565
    8,587 View

    กำหนดการเสวนา "ยกระดับปศุสัตว์ไทยสู่ความ เป็นมืออาชีพ ด้วยมาตรฐานอาชีพฯสาขาปศุสัตว์"

  • สคช. ชูแพลตฟอร์ม EWE นำเสนอเป็นผลงานสำคัญภายใต้การดำเนินงานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    19.08.2565
    8,028 View

    สคช. ชูแพลตฟอร์ม EWE นำเสนอเป็นผลงานสำคัญภายใต้การดำเนินงานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นายนคร ศิลปอาชา ประธานสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในฐานะประธานอนุกรรมการปฏิรูปประเทศฯ ด้านแรงงาน พร้อมนายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และคณะผู้บริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมในงานแถลงข่าวผลการดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ณ สุราลัยฮอลล์ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม นายนคร กล่าวว่าสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ที่ได้รับความเห็นชอบจากอนุกรรมการปฏิรูปประเทศฯ ด้านแรงงาน ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแพลตฟอร์ม E-Workforce Ecosystem Platform เพื่อใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคน และให้บริการสั่งสมประสบการณ์จากการศึกษา การฝึกอบรม และการทำงานหรือการประกอบอาชีพ ในรูปแบบของ E-Portfolio แก่กำลังแรงงานทุกคน อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย โดยจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ด้านแรงงานรวมอยู่บนโครงสร้างเดียวกัน รองรับการเพิ่มทักษะ การมีงานทำ การศึกษาการฝึกอบรม และเป็นกลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong learning ในงานนายนคร ยังได้มอบประกาศเกียรติคุณให้กับนางสาวแอนนา เสืองามเอี่ยม Miss Universe Thailand 2022 และนางสาวพิชาภา ลิมศุนกาญจน์ รอง Miss Universe Thailand 2022 และอนุกรรมการด้านการปฏิรูปอุตสาหกรรมบันเทิงเพื่อคุณธรรม วัฒนธรรม และสังคม ที่มาร่วมแสดงแนวคิดในการร่วมพัฒนาสังคม โดยประกาศเกียรติคุณที่ สคช. มอบให้ก็เพื่อแสดงว่าเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองจนประสบความสำเร็จและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม รวมถึงเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย

  • สคช. จัด Focus Group อาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ ส่งเสริมการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ

    30.08.2565
    7,612 View

    สคช. จัด Focus Group อาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ ส่งเสริมการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดการประชุมวางแผนการดำเนินโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) โดยมี นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และ Ms. Aleksandra Lasota Programme Manager, Labour Mobility and Social Inclusion Unit, IOM Thailand ร่วมกล่าวแนะนำภารกิจของทั้ง 2 องค์กร ในการนี้ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันฯ นางสาวนฤมล พูลทรัพย์ ที่ปรึกษาประธานสถาบันฯ และตัวแทนจากภาครัฐ และภาคเอกชน อาทิ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และบริษัทนำเข้าแรงงานข้ามชาติ เข้าร่วมประชุม นายนคร กล่าวว่า ประเทศไทยมีจำนวนแรงงานข้ามชาติกว่า 3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ แรงงานก่อสร้าง แรงงานในธุรกิจอาหารแปรรูปและกิจการประมง โดยที่ผ่านมาแรงงานข้ามชาติ มีความเสี่ยงต่อการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ และการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีสถานภาพที่ผิดกฎหมาย ยิ่งทำให้ไม่สามารถเข้าถึงกลไกคุ้มครองทางสังคมและสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้ ดังนั้นการจัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ จากความร่วมมือระหว่าง สคช. และ IOM จะเป็นการริเริ่มต้นแบบที่ดีของประเทศไทย และส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นางสาวจุลลดา กล่าวว่า สคช. มีการทำงานร่วมกันกับ IOM มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้กับแรงงานข้ามชาติ อย่างอาชีพแม่บ้าน ช่างก่ออิฐ และช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ให้ได้รับการรับรองจากระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ภายใต้โครงการ Promise ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสรรหาแรงงานข้ามชาติ อย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับแนวปฏิบัติและมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานข้ามชาติถูกเอารัดเอาเปรียบ พร้อมได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การประชุมครั้งนี้จะได้รับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปจุดเริ่มต้นของการจ้างงานที่มีคุณค่า ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตและยั่งยืน Ms. Aleksandra กล่าวว่ารู้สึกยินดี ที่มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพผู้สรรหาแรงงานข้ามชาติ ด้วยแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการจัดหางานที่เป็นธรรม หรือ IRIS ที่พัฒนาโดยอ้างอิงจากอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับของรัฐบาลนานาชาติ ซึ่งครอบคลุมการจัดหางานให้กับแรงงานทั้งหมด รวมถึงแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้การพัฒนาผู้ที่จะมาทำหน้าที่สรรหาแรงงานต่างชาติ โดยครอบคลุมบริษัทนำเข้าแรงงานตั้งแต่ต้นทาง จะทำให้เกิดการนำเข้าแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และได้รับการยอมรับในระดับสากล

  • สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เข้าพบ สคช. เพื่อหารือแนวทางการจัดทำมาตรฐานอาชีพสำหรับสถานประกอบการ อาชีพนักพัฒนาผลิตภาพ

    30.08.2565
    6,540 View

    ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน ผู้อำนวยการสายงานการศึกษา ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาสถานประกอบการ พร้อมคณะผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรม จากสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. เข้าพบนางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อหารือแนวทางการจัดทำมาตรฐานอาชีพสำหรับสถานประกอบการ อาชีพนักพัฒนาผลิตภาพ เพื่อสร้างโอกาสให้กลุ่มคนในอาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไร ให้สามารถมีความก้าวหน้าในการทำงาน นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า อาชีพนักพัฒนาผลิตภาพ มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้สถานประกอบการมีกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัย มีคุณภาพ และยังช่วยลดต้นทุนจากการผลิต ดังนั้นการพัฒนากำลังคนในกลุ่มอาชีพนี้ จึงมีความสำคัญ สคช. มีแนวทางการพัฒนากำลังคน โดยเฉพาะในสถานประกอบการ เพื่อผลักดันให้บุคลากรในสถานประกอบการต่างๆ ได้รับการรับรองประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ และความสามารถในอาชีพ ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ทั้งนี้ ส.ส.ท. มีหลักสูตรการพัฒนากำลังคนที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว สามารถใช้แนวทางดังกล่าว เดินหน้าไปยังขั้นตอนการรับรองหลักสูตร จากสถาบันฯ และเข้าสู่กลไกการประเมิน และรับการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้

  • สคช. พบ HRDK เกาหลี หารือแนวทางการยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพร่วมกัน เพื่อยกระดับกำลังแรงงานไทย ในสาธารณรัฐเกาหลี

    29.08.2565
    5,042 View

    สคช. พบ HRDK เกาหลี หารือแนวทางการยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพร่วมกัน เพื่อยกระดับกำลังแรงงานไทย ในสาธารณรัฐเกาหลี นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำทีมสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. เดินทางไปยังสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อร่วมประชุมกับคณะผู้แทนจาก Human Resources Service Development Korea (HRDK) สังกัดกระทรวงแรงงานและการจ้างงาน สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สคช. และ HRDK โดยมี Mr. Kang Hyeon-Cheol Vice President for Competency Development and International Cooperation ของ Human Resources Development Service Korea (HRDK) และ Mr. Choi Jong-Yoon Executive Director ของ Global Institute For Transferring Skills (GIFTS) ให้การต้อนรับ สำหรับการประชุมร่วมกันในครั้งนี้ เป็นการหารือถึงแนวทางการยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพร่วมกัน ในการสนับสนุนการไปทำงานของคนไทยในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างถูกกฎหมาย โดยนำร่องด้วยสาขาช่างก่ออิฐ และฉาบปูน ซึ่งมีความต้องการแรงงานไทยจำนวนมาก ไปทำงานก่อสร้างที่สาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ สคช. และ HRDK ได้เทียบเคียงมาตรฐานอาชีพดังกล่าวแล้ว พบว่ามีความสอดคล้องกัน และกำลังทำการศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อผลักดันให้ใช้คุณวุฒิวิชาชีพเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกกำลังคนไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้นายจ้างมีกำลังคนที่มีทักษะพร้อมสำหรับการทำงาน โดยหลังจากนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะหาแนวทางการรับรองทักษะและประสบการณ์ให้กับกำลังคนไทยที่ทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อนำมาเทียบโอนประสบการณ์ทำงาน เพื่อขอรับคุณวุฒิวิชาชีพที่เหมาะสม มีโอกาสประกอบอาชีพได้ตรงกับทักษะและประสบการณ์เมื่อกลับมาทำงานในประเทศไทย ในการนี้ สคช. ได้มีการหารือกับ Korea Creative Content Agency (KOCCA) ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงท่องเที่ยวและวัฒนธรรม สาธารณรัฐเกาหลี มีบทบาทสำคัญในการฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อ รวมถึงสนับสนุนด้านอุปกรณ์ และสถานที่ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิง เกม การออกแบบคาแรคเตอร์การ์ตูน และเว็บตูนอีกด้วย ซึ่งการหารือครั้งนี้ จะเป็นแนวทางการพัฒนากำลังคน สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการผลักดัน soft power ประเทศไทย ทั้งนี้ สคช. ได้หารือกับ HRDK ในการปรับใช้มาตรฐานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียนบท เพื่อนำมาฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรไทยต่อไป

  • สคช. ผนึก 5 หน่วยงาน ลงนาม MOU ร่วมกันยกระดับศักยภาพของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ

    26.08.2565
    5,301 View

    สคช. ผนึก 5 หน่วยงาน ลงนาม MOU ร่วมกันยกระดับศักยภาพของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ นายสุรพล พลอยสุข ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ระหว่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กรมการท่องเที่ยว กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ ให้มีความรู้ ทักษะ และศักยภาพในการปฏิบัติงานและให้บริการนักท่องเที่ยว เพื่อยกระดับคุณภาพในการให้บริการ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น สำหรับบทบาทของ สคช. ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ คือการพัฒนามาตรฐานสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การร่วมกันพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การร่วมกันจัดทำแผนพัฒนากำลังคนด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรด้านการท่องเที่ยวด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ รวมถึงการพัฒนาระบบและเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้แพลตฟอร์มอัจฉริยะในการบริหารจัดการข้อมูลด้านกำลังคนและการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของประเทศไทย (E-Workforce Ecosystem: EWE) ซึ่งประกอบด้วย ระบบ แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio) ระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล (Digital Credit Bank System) และระบบอื่น ๆ ตามที่ได้มีการตกลงร่วมกันต่อไป

  • สคช. ติวเข้ม อสม. สระบุรี ยกระดับเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุมืออาชีพ เตรียมขยายผลทั่วประเทศ

    24.08.2565
    7,215 View

    สคช. ติวเข้ม อสม. สระบุรี ยกระดับเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุมืออาชีพ เตรียมขยายผลทั่วประเทศ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นำทีมสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ลงพื้นที่อบรมเพิ่มศักยภาพและสร้างโอกาสทางรายได้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพแบบเทียบโอนประสบการณ์ หรือ RESK (Recognition of Existing Skills and Knowledge) ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เทศบาลเมืองสระบุรี และเทศบาลตำบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี โดยมีนายธีรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี และนางสมฤดี จันทร์สุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลหน้าพระลาน เจ้าของพื้นที่ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า ประเทศไทยเวลานี้อยู่ในสังคมผู้สูงวัย ซึ่งเป็นปัจจัยขับ ทำให้ความต้องการผู้ดูแลผู้สูงอายุมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะเวลานี้มีผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อยู่ราว 4 แสนคน สคช. จึงเล็งเห็นความจำเป็นในการพัฒนาผู้ดูแลให้ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งกลุ่ม อสม. เป็นผู้ทำหน้าที่ใกล้ชิด เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอยู่แล้ว จึงเป็นกลุ่มนำร่องที่ควรได้รับการเพิ่มศักยภาพ และได้การรับรองประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถด้วยคุณวุฒิวิชาชีพ โดยพื้นที่จังหวัดสระบุรีนับเป็นพื้นที่ต้นแบบในการรับรองกลุ่ม อสม. ก่อนขยายผลไปยังทั่วประเทศต่อไป นางสมฤดี กล่าวว่า เทศบาลตำบลหน้าพระลาน มี อสม. ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถอยู่จำนวนมาก แต่ยังขาดการรับรองศักยภาพการทำงาน การที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเข้ามาให้การรับรองประสบการณ์การทำงาน ความรู้ ความสามารถให้เหล่า อสม. ซึ่งหลายคนระดับการศึกษาอาจไม่สูงนัก จึงตอบโจทย์ในการยกระดับความสามารถให้กับคนกลุ่มนี้อย่างมาก และเชื่อว่าจะเป็นใบเบิกทางในการสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างการยอมรับในการทำหน้าที่ให้กับเหล่า อสม. ได้เป็นอย่างดี