ข่าวประชาสัมพันธ์

  • สคช. ดัน การรับรองผู้ตัดสิน-ผู้ฝึกสอน กีฬาทางน้ำ เป็นครั้งแรกของประเทศ

    27.01.2564
    533 View

    นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) พร้อมพลเอกศิริชัย ดิษฐกุล อุปนายกสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) เป็นประธานการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สคช. และ ส.ว.ท. เพื่อร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพการกีฬา อาชีพผู้ตัดสินกีฬาทางน้ำ และอาชีพผู้ฝึกสอน กีฬาทางน้ำ โดยมี ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และแพทย์หญิงศุภลักษณ์ อินทรพิชัย เลขาธิการสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนายกสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) ร่วมลงนาม ท่ามกลางสักขีพยาน อาทิ นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันฯ คณะผู้บริหารสถาบันฯ พร้อมด้วย พลเอกอภิชาต แสงรุ่งเรือง ประธานคณะกรรมการกลั่นกรองสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย และคุณสุภัท กุขุน ที่ปรึกษาสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย นายนคร กล่าวย้ำให้เห็นความสำคัญของอาชีพผู้ตัดสินกีฬาทางน้ำ และผู้ฝึกสอนกีฬาทางน้ำ ว่ามีความสำคัญอย่างมาก และเป็นอาชีพที่ยังไม่เคยมีสมาคมใดให้การรับรองมาตรฐานอาชีพมาก่อน และในปี 2564 สคช. มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต Life Long Learning ซึ่งอาชีพเกี่ยวกับกีฬาทางน้ำก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ควรได้รับการพัฒนาให้คนในอาชีพมีทักษะ ฝีมือเทียบเท่าระดับสากล ด้าน ดร.นพดล กล่าวว่า สคช. บุคคลากรในอาชีพเกี่ยวกับกีฬาทางน้ำเป็นอีกอาชีพที่ต้องเร่งพัฒนาให้ก้าวไปสู่ในระดับสากล จึงได้มีการจัดทำมาตรฐานด้านผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสิน พร้อมประเมินตามมาตรฐานสมรรถนะ นำไปสู่การรับรองมาตรฐานจากสถาบันฯ เพราะทั้ง 2 อาชีพ มีส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้นักกีฬาไทยไปไกลระดับโลก โดยเฉพาะการผลักดัน Sport Tourism ที่นักท่องเที่ยวหันมาให้ความสนใจกีฬาทางน้ำเอ็กซ์ตรีมเป็นจำนวนมาก และไทยก็มีแหล่งกีฬาทางน้ำอยู่จำนวนไม่น้อยเช่นกัน ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ฝึกสอน - ผู้ตัดสินกีฬาทางน้ำ ได้การรับรองเป็นคนแรกของไทยในเร็วๆ วันนี้ แพทย์หญิงศุภลักษณ์ เลขาธิการสมาคมกีฬาว่ายน้ำ กล่าวว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้คนในอาชีพมีความภูมิใจ ตอบรับนโยบายกีฬาสร้างชาติของรัฐบาลอย่างเต็มที่ สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำให้กับบุคลากรด้านการกีฬาในระดับภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการนำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ สำหรับสาขาวิชาชีพการกีฬา อาชีพผู้ตัดสินกีฬาทางน้ำ และอาชีพผู้ฝึกสอนกีฬาทางน้ำ ไปพัฒนาสมรรถนะทางการกีฬาให้กับบุคลากรของ ส.ว.ท. อีกทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพหรือสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกีฬาว่ายน้ำให้ได้มาตรฐาน มีการรับรองบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมกีฬาในอนาคต

  • สคช. หนุนทางรอด!! ในยุคโควิด-19

    25.01.2564
    648 View

    การกลับมาของ “โควิด-19” ระลอกใหม่ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่งผลกระทบในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศต่อเนื่อง ซึ่งต้องยอมรับว่าฉุดให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศดำดิ่งไปไม่น้อย รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พยายามออกแบบทิศทางการขับเคลื่อนประเทศให้ล้อไปกับวิกฤตที่เกิดขึ้นให้ได้ ด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่เรารู้กันดีอยู่ว่า เราพึ่งพาตัวเองได้ ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การบริหารงบประมาณรายจ่ายทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยความประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และที่แน่นอนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ก็จะช่วยให้การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งในแง่ธุรกิจ สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ไม่หยุดชะงัก ด้วยนโยบายของรัฐบาลนับเป็นหัวใจให้ทุกหน่วยงานต้องปรับตัว ระดมทุกความคิด ทุกสรรพกำลัง เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากสามารถเดินต่อไปได้ หรือแม้จะทำอย่างไร ที่จะช่วยพยุงเงินในกระเป๋าของประชาชนยังคงมีอยู่มีใช้ รวมไปถึงมีมากขึ้นในยุควิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรี ที่ปัจจุบันมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี ควบคุมดูแล ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ สานนโยบายเพื่อมาต่อยอดทางความคิด และการดำเนินงานทันที และล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการ สคช. โดยมี นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการ สคช. เป็นประธานการประชุม และในฐานะที่เป็นกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้ระดมทุกความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งในมิติแรงงาน อาชีพ เศรษฐกิจ สังคม เพื่อหามาตรการช่วยเหลือคนในอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ให้สามารถเข้าสู่สภาพคล่องให้ได้โดยเร็ว ด้าน ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวเสริมว่า สคช. จะพลิกวิกฤติการระบาดของโรค อาศัยช่วงที่คนระมัดระวังตัวในการเดินทาง อยู่แต่บ้าน มาสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ด้วยการพัฒนาทักษะ สมรรถนะในอาชีพ สามารถนำความรู้ไปสร้าง และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งสร้างอาชีพทางรอดอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3 ได้ ภายใต้แนวคิด สคช. ช่วยไทย สร้างการเรียนรู้ สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพ ทั้งนี้ สคช. ได้ออกมาตรการแนวทางการช่วยเหลือ ได้แก่ มาตรการที่ 1 ประกาศลดค่าธรรมเนียมการประเมินสมรรถนะด้านการใช้ อีคอมเมิร์ซ โดยค่าสมัครเข้ารับการประเมินมาตรฐานสมรรถนะ ปกติเก็บ 300 บาท แต่ลดเหลือ 150 บาท ค่าธรรมเนียมการประเมินมาตรฐานสมรรถนะ อีคอมเมิร์ซ ระดับ 1 ปกติเก็บค่าธรรมเนียมการประเมิน (สอบ) เป็นเงิน 400 บาท เหลือเก็บเพียง 150 บาท ระดับ 2 ปกติเก็บ 500 บาท แต่ สคช. จะสนับสนุนให้ 250 บาท เหลือเก็บค่าธรรมเนียมการสอบเพียง 250 บาท ทั้งนี้สงวนสิทธิ์คนละ 1 ครั้ง ต่อ 1 สิทธิ์ เบื้องต้นกำหนดงบประมาณสนับสนุนค่าธรรมเนียมการสอบ 1,000 คน นอกจากนี้ให้ลดค่าธรรมเนียมการประเมิน (สอบ) ตามมาตรฐานอาชีพต่างๆ จากเดิมเก็บ 500 บาท ลดเหลือเก็บเพียง 250 บาท เท่านั้น มาตรการที่ 2 สนับสนุนค่าธรรมเนียมการประเมินสมรรถนะเต็มจำนวนในบางอาชีพ ได้แก่ การประเมินมาตรฐานสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency), การประเมินมาตรฐานสมรรถนะด้านการขับขี่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน โดยให้เก็บเฉพาะค่าสมัครสอบ แต่เก็บค่าสมัครเพียงครึ่งเดียวโดยค่าสมัครสอบ 300 บาท เก็บเพียง 150 บาท เท่านั้น นอกจากนี้ สถาบันฯ จะสนับสนุนค่าธรรมเนียมการประเมินตามมาตรฐานอาชีพให้กลุ่มผู้เปราะบางในสังคม ประกอบไปด้วย นักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่หรือสำเร็จการศึกษาแล้วไม่เกิน 1 ปี และกลุ่มผู้ต้องขังใกล้พ้นโทษ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มอาชีพที่เป็นผู้มีรายได้น้อยที่สถาบันฯ จะสนับสนุนค่าธรรมเนียมการประเมินมาตรฐานอาชีพเต็มจำนวน ได้แก่ อาชีพช่างทำผม อาชีพผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี อาชีพเกษตรกร ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับภาคการเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง ต่อยอดการสร้างแพลตฟอร์มตลาดดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวนโยบายของรัฐบาลด้วย มาตรการที่ 3 การจัดอบรมออนไลน์ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ นำร่อง 10 อาชีพ ที่ สคช. ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำมาตรฐานอาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาทิ เทคนิคการแต่งหน้า, เทคนิคการทำผม, ทำตลาดออนไลน์, เทคนิคเมนูง่ายๆ แต่อร่อยอย่างเชฟระดับโลก, เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อการขาย, ตัดต่อ ทำคลิปง่ายๆ เพียงใช้โทรศัพท์มือถือ, เป็นนายหน้าอย่างมืออาชีพด้วยกูรูที่ได้การันตีมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024, เทคนิคง่ายๆ ในการดูแล เข้าใจผู้สูงอายุ และเด็ก รวมทั้งเทคนิคง่ายๆ ในการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน ซึ่งจะมีการมอบใบประกาศให้ด้วยสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม สำหรับการจัดอบรมจะเปิดอบรม จะดำเนินการผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ที่มีทั้งเฟซบุ๊ก แฟนเพจ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เว็บไซต์ หรือช่องทางยูทูป ด้วยการลงทะเบียนผ่านระบบ E-Training ของสถาบันฯ ผู้ที่เข้าอบรมจะได้เทคนิคต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จริงได้ในชีวิตประจำวัน เสริมทักษะในอาชีพ รวมทั้งนำไปต่อยอดขยายผลให้กับธุรกิจ หรือในอาชีพของตัวเอง จนสามารถสร้างเป็นอาชีพทางรอดอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3 ได้ด้วย นับเป็นการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจทัล และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของแรงงาน (Life Long Learning) ตามแนวทางรัฐบาลอีกด้วย ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดการอบรม รวมทั้งประกาศการลด หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้จากในเว็บไซต์สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) www.tpqi.go.th

  • สคช. ออก 3 มาตรการด่วน ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

    15.01.2564
    661 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ออกมาตรการช่วยคนในอาชีพทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งลด - ยกเว้น ค่าธรรมเนียมการสอบ แถมจัดอบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มีมติเห็นชอบให้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ระบาดระลอกใหม่ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ให้ภาครัฐดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ช่วยให้คนมีอาชีพเสริมรองรับวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีมติเห็นชอบในหลักการให้ประกาศลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการเข้าประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ รวมทั้งเปิดอบรมออนไลน์ให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับทุกคน ทุกอาชีพ เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างอาชีพที่ 2 อาชีพที่ 3 ในอนาคต และยังเป็นช่องทางในการต่อยอดเข้าสู่การประเมิน เพื่อได้รับการรับรองความเป็นมืออาชีพจากหน่วยงานภาครัฐอย่าง สคช. ภายใต้แนวคิด “สคช. ช่วยไทย สร้างการเรียนรู้ สร้างโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพ” สำหรับมาตรการแรก คณะกรรมการเห็นชอบให้ประกาศลดค่าธรรมเนียมการประเมินสมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซ และการประเมินสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษโดยค่าสมัครเข้ารับการประเมินมาตรฐานสมรรถนะ ปกติเก็บ 300 บาท แต่ลดเหลือ 150 บาท สงวนสิทธิ์คนละ 1 ครั้ง ต่อ 1 สิทธิ์ มาตรการที่ 2 คือ สนับสนุนค่าธรรมเนียมการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ 1 คน ต่อ 1 อาชีพ ต่อ 1 ระดับคุณวุฒิวิชาชีพ สำหรับสาขาวิชาชีพเกษตรกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ สาขาท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร รวมทั้งสาขาจัดส่งอาหาร ในอาชีพผู้ให้บริการจัดส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ รวมทั้งผู้ต้องขัง หรือเยาวชนผู้กระทำความผิด มาตรการที่ 3 คือการจัดอบรมออนไลน์ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย นำร่อง 10 อาชีพ อาทิ เทคนิคการแต่งหน้า, เทคนิคการทำผม, ทำตลาดออนไลน์, เทคนิคเมนูง่ายๆ แต่อร่อยอย่างเชฟระดับโลก, เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อการขาย, ตัดต่อ ทำคลิปง่ายๆ เพียงใช้โทรศัพท์มือถือ, เป็นนายหน้าอย่างมืออาชีพ, เทคนิคง่ายๆ ในการดูแล เข้าใจผู้สูงอายุ และเด็ก รวมทั้งเทคนิคง่ายๆ ในการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน โดยผู้ที่เข้าอบรมจะได้เทคนิคต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จริงได้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งนำไปต่อยอดขยายผลให้กับธุรกิจ หรือในอาชีพของตัวเองได้ในระยะเวลาอันสั้น เสริมทักษะในอาชีพ และจะเป็นการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แน่นอน เรียกว่า สคช. พร้อมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามนโยบายรัฐบาล Life Long Learning ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.tpqi.go.th และหน้าเพจเฟซบุ๊ก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

  • คณะผู้บริหารสถาบันฯ ร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2564 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

    04.01.2564
    490 View

    ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสถาบันฯ นำแจกันดอกไม้ไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พร้อมร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2564 ณ ศาลาสหทัยสมาคม พระบรมมหาราชวัง ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานปฏิทินหลวง พุทธศักราช 2564 แก่ผู้ที่มาลงนามถวายพระพร เนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2564 ในวันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2564 อีกด้วย

  • สคช. ดัน ม.ราชภัฏภูเก็ต ตั้งเป้าเป็น HUB พัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิด้านวิชาชีพของภาคใต้

    22.12.2563
    470 View

    นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อร่วมกันพัฒนากําลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ด้วยแนวทางการสะสมหน่วยกิตในธนาคารหน่วยกิต (Credit bank) และส่งเสริมการเทียบโอนคุณวุฒิวิชาชีพเข้าสู่คุณวุฒิทางการศึกษา ส่งเสริมศักยภาพบุคคลด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และสนับสนุนให้มีการประเมินสมรรถนะของบุคคล ตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ตลอดจนผลักดันให้เกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฐาน สมรรถนะด้วยมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อรองรับการเพิ่มพูนทักษะ Upskill และ Reskill ให้แก่ผู้ว่างงานเตรียมพร้อมกลับเข้าสู่เส้นทางการทำงาน นางสาวจุลลดา บอกว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายอาชีพได้รับผลกระทบ หลายคนมีความจำเป็นต้องหาอาชีพด้านอื่นๆ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสให้ทุกคนเข้าสู่เส้นทางของมืออาชีพมากขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตถือเป็นสถาบันแรกในภาคใต้ ที่มีการทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันและมีความตั้งใจให้เป็น HUB การพัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิด้านวิชาชีพของภาคใต้ ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ เปิดเผยว่าในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาการเพิ่มคุณค่าให้ทั้งกลุ่มนักศึกษา และคนในอาชีพเป็นเรื่องสำคัญ ที่สำคัญมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตมีความต้องการให้นักศึกษา มีทักษะเชี่ยวชำนาญในวิชาชีพ การทำความร่วมมือกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่คนในภาคใต้จะได้รับโอกาสในการเพิ่มสมรรถนะด้านวิชาชีพให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

  • โควิด-19 กำลังระบาด ท่องเที่ยวชุมชนให้ได้ตามมาตรฐาน SHA อย่างมืออาชีพยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ

    21.12.2563
    598 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมแสดงความยินดีกับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว 12 แห่ง ที่ได้รับการยกระดับกระบวนการตามมาตรฐาน Safety & Health Administration (SHA) พร้อมร่วมตอกย้ำความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ที่ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจัดทำมาตรฐานขึ้น และพร้อมนำร่องในชุมชน 12 แห่ง จาก 8 จังหวัดนำร่องทั่วประเทศ รวมถึงวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวในเครือข่ายมูลนิธิสัมมาชีพ รวมทั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และอีกหลายหน่วยงานพันธมิตร ให้สามารถบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนให้ถูกต้องตามหลักความปลอดภัยและสุขอนามัย เพื่อเป็นมาตรฐานในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 หลังกลับมาระบาดอีกครั้ง และสร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว ซึ่ง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนในชุมชนให้มีทักษะในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อสร้างความประทับใจ ปลอดภัย และเรียกความเชื่อมั่นคืนจากนักท่องเที่ยวในแบบการท่องเที่ยวไทยวิถีใหม่ด้วย สำหรับพิธีมอบตราสัญลักษณ์มาตรฐาน SHA แก่ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบภายในงาน OTOP CITY จัดขึ้นโดยมูลนิธิสัมมาชีพ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย วิถีใหม่ด้วยมาตรฐานการบริการ ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมกันของหน่วยงานภาคีเครือข่าย อย่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน), กรมการพัฒนาชุมชน, อพท., ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, AirBnB โดยมี คุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธี และมีแขกผู้มีเกียรติจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ คุณผดุงศักดิ์ ฟื้นแสน รักษาการผู้อำนวยการมูลนิธิสัมมาชีพ คุณเอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม คุณประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบล็กแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด คุณณรินณ์ทิพ วิริยะบัณฑิตกุล กรรมการบริหารมูลนิธิสัมมาชีพ และผู้อำนวยการสถาบันชี้ช่องรวย เป็นต้น

  • สคช. ตะลุยอิสาน หาต่อ มืออาชีพ Street Food ในงาน “Thailand Street Food Festival 2020” ครั้งที่4

    19.12.2563
    515 View

    “สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน” คำการันตีความเป็นมืออาชีพ ที่นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมทีมเชฟผู้เชี่ยวชาญเป็นเจ้าหน้าที่สอบเป็นเชฟระดับมืออาชีพ จากครัววันดี 3 คนลงพื้นที่ประเมินสมรรถนะอย่างเข้มข้น พร้อมมอบป้ายมืออาชีพยกนิ้วค้นหา สุดยอดผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี( Street Food ) เพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบอาหาร ปรุงด้วยความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ตามหลักคุณวุฒิวิชาชีพและหลักสากล โดยในการประเมิน ทีมเชฟผู้เชี่ยวชาญ ลงรายละเอียดตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ ความสะอาดของร้าน และขั้นตอนการปรุง เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคที่สามารถเลือกซื้อ เลือกชิมได้อย่างสบายใจซึ่งในวันนี้ มีผู้ผ่านการประเมิน 18 คน จาก 17 ร้าน ที่ล้วนแล้วแต่พิถีพิถันและให้ความสำคัญกับมาตรฐานการประกอบอาหารเป็นอย่างมาก อาทิ ตำแซ่บ ร้านหน่อยศาลเจ้าทองม้วนสดป้าใหญ่ ผัดไทยหน้าผีและทอดมันโบราณเมืองย่า เป็นต้น ทั้งนี้หลังผ่านการประเมิน ทีมเชฟได้แนะนำหลักการปฏิบัติตามมาตรฐาน โดยสมบูรณ์เติมเต็มให้ เพื่อแนวทางการปฏิบัติตัว การดูแลจัดการร้าน ให้สะอาด ปลอดภัย เพื่อรักษามาตรฐาน ต่อไปในระยะยาว นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลลิขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดงาน พร้อมบอกว่าวัฒนธรรมด้านอาหารของไทยถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง เนื่องจากคนไทยชอบความเรียบง่าย แต่มีเรื่องเล่าและสีสัน จากการประกอบอาหาร ขณะที่วิถีชีวิตในช่วงเย็นจะหาซื้ออาหารง่ายๆ ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว มาตรฐานจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ ขณะที่นางสาววรชนาธิป เปิดเผยว่าผู้เข้ารับการประเมินผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี จะต้องมีการปรุงอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ และสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้บริโภคว่านอกจากรสชาติอาหารจะดีแล้ว ผู้ปรุงจะต้อง สะอาดและได้มาตรฐานด้วย นอกจากนี้ผู้ผ่านการประเมินในวันนี้ ทุกท่านจะมีชื่ออยู่ในแอปพลิเคชั่น Propin เพื่อชี้เป้าว่าอาหารที่ปรุงเป็นอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด สดใหม่ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถเพิ่มยอดขายจากผู้บริโภคได้

  • สคช. ร่วมแสดงความยินดี SME D Bank กับการก้าวสู่ปีที่ 19

    17.12.2563
    571 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ก้าวสู่ปีที่ 19 โดยมีนางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ SME D Bank ร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งในปีนี้ทาง SME D Bank ยังเปิดให้ทุกหน่วยงานที่ร่วมแสดงความยินดี ได้ร่วมสนับสนุนสมทบทุนเพื่อสาธารณะประโยชน์และการกุศล ให้กับโรงพยาบาลทหารผ่านศึกในวาระวันคล้ายวันสถาปนาด้วย นอกจากนี้ยังได้มีการพูดคุยหารือแนวทางการทำงานร่วมกับอีกหลายหน่วยงานที่มาร่วมในงาน อาทิ ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, นายมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการ สสว. และกรรมการธนาคารออมสิน, องค์การสะพานปลา รวมทั้งคุณณรินณ์ทิพ วิริยะบัณฑิตกุล กรรมการมูลนิธิสัมมาชีพ และผู้บริหารช่อง Smart SME และสถาบันชี้ช่องรวย เพื่อร่วมกันพัฒนาทักษะ สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับคนในอาชีพ เจาะกลุ่มผู้ประกอบการตัวเล็ก ให้กลายเป็นผู้ประกอบการตัวใหญ่ ซึ่งเป็นการเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศด้วย

  • สคช. ติวเข้ม ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมิน รองรับตรวจประเมินได้ทุกองค์กร

    16.12.2563
    588 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ตอกย้ำการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมิน หรือ ผู้ประเมินองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ (Assessor) กับ สคช. ยุคใหม่ ต้องแข็งแกร่งสมเป็นมืออาชีพ สามารถเป็นทางเลือกให้หน่วยงานอื่นสามารถใช้บริการได้ด้วย เพราะจากนี้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมิน ของ สคช. จะมีชื่ออยู่ในแอปพลิเคชันปักหมุดมืออาชีพ ชี้เป้าการเป็นมืออาชีพไว้ในแอปพลิเคชันปักหมุด ให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร รู้ขีดความสามารถ สมรรถนะ รู้ตำแหน่งที่ตั้งในการค้นหา และใช้บริการกับผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมิน ภายใต้การการันตีของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ นางสาววรชนาธิป ยังได้บรรยายในหัวข้อการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อเฟ้นหาผู้ตรวจประเมิน ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่สอบ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมเป็น Assessor ในหลากหลายสาขาอาชีพ โดยผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินคนในสาขาอาชีพต่างๆ ก็จะต้องผ่านการทดสอบเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ตรวจประเมิน ก่อนที่จะลงมือในการประเมินความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้อื่นต่อไป รวมทั้งต้องมีการพัฒนาทุกเทคนิค และทักษะ ที่เกี่ยวข้องให้ทันทุกการเปลี่ยนแปลง เรียกว่าต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต Live long learning เพราะเราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างรอบตัวเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ผู้ตรวจประเมิน เองก็ต้องปรับตัว และเรียนรู้ให้เท่าทันสมกับเป็นมืออาชีพด้วยเช่นกัน

  • สคช. ผนึก 8 ภาคีเครือข่าย พัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล

    16.12.2563
    465 View

    สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัท Microsoft (Thailand) จำกัด,กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, กศน.,สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล,บริษัท JobsDB จำกัด, UNESCO Bangkok และ Social Technology Institute ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทในพระบรมราชูปถัมภ์ บูรณาการการทำงานร่วมกันพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเพื่อการจ้างงาน Empowering Thailand ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือผู้ตกงานจากผลกระทบโควิด-19 ให้ได้งานทำด้วยทักษะดิจิทัลในประเทศไทย ตั้งเป้าพัฒนาทักษะดิจิทัล 250,000 คน ใน 1 ปี ที่สำคัญจะสามารถทำให้คนไทยมากกว่า 10 ล้านคนเข้าถึงการพัฒนาทักษะดิจิทัล โดยภายใต้ความร่วมมือบริษัท Microsoft ได้จัดทำหลักสูตรด้านดิจิทัลแบบออนไลน์ (ภาษาไทย) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เตรียมสร้างแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์และการจ้างงาน ขณะที่บริษัท JobsDB จำกัด ก็พร้อมเชื่อมโยงสู่การจ้างงานอย่างเป็นรูปธรรม เรียกได้ว่าเป็นการส่งเสริม พัฒนาคนตลอดชีวิต หรือ Life long Learning นายนิธิวัชร์ ศิริปริยพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารคุณวุฒิวิชาชีพ 3 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวว่า สคช.พร้อมดำเนินการจัดการประเมินและให้การรับรองเพื่อยกระดับกำลังคนด้านดิจิทัลอย่างเต็มที่ ตามมาตรฐานสมรรถนะความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) ซึ่งเป็นการประเมินด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Based Testing) โดยเชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเสริมฐานรากด้านดิจิทัลให้กับคนไทย เนื่องจากเป็นการบูรณาการร่วมกันขององค์กรหลักด้านดิจิทัลในประเทศ ทั้งนี้ผู้ที่ผ่านการประเมินจะมีชื่ออยู่ในระบบฐานข้อมูลและแอพพลิเคชัน Propin ของสถาบัน เพื่อการเข้าถึงของผู้ที่ต้องการจ้างงานต่อไป

  • สคช. บุกพัทยา เดินหน้าเฟ้นหามืออาชีพ Street Food ในงาน “Thailand Street Food Festival 2020” การันตีความเป็นมืออาชีพ

    11.12.2563
    441 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมในงาน “Thailand Street Food Festival 2020” ณ เซ็นทรัล เฟสติวัล พัทยา เดินหน้าค้นหา สุดยอดผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี( Street Food ) ที่มีความเป็นมืออาชีพ การันตีความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานโดยมีนายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เป็นประธานในงาน นายสนธยา กล่าวว่าอาหารริมบาทวิถี ถือเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ และเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ พร้อมผลักดันให้อาหารริมบาทวิถีเป็นไฮไลท์ที่นักท่องเที่ยวต้องมาชิม รองรับการเปิดประเทศหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งการจัดงานงาน Thailand Street Food จะสามารถช่วยสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว อีกทั้งเป็นอีกส่วนที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้นด้วย

  • ลงพื้นที่ท่าเทียบเรือและตลาดประมงอ่างศิลา จ.ชลบุรี พร้อมกับเจ้าหน้าที่องค์การสะพานปลา เพื่อวางแผนเตรียมการประเมินสมรรถนะให้กับคนในอาชีพ

    11.12.2563
    444 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ลงพื้นที่ท่าเทียบเรือและตลาดประมงอ่างศิลา จ.ชลบุรี พร้อมกับเจ้าหน้าที่องค์การสะพานปลา เพื่อวางแผนเตรียมการประเมินสมรรถนะให้กับคนในอาชีพมากกว่า 300 ราย ที่มีทั้งประมงพื้นบ้าน ผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี ผู้คัดแยกอาหารทะเล ซึ่งเป็นการรองรับการเปิดท่าเทียบเรือและตลาดประมงอ่างศิลา ตลาดลอยน้ำที่จะเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี ที่จะเปิดอย่างเป็นทางการในต้นปี 2564 และยังจะเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คของเมืองแห่งมืออาชีพที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)ได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือคนในอาชีพ และคนในชุมชนให้สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งผู้ที่ผ่านการประเมินเรียกว่าได้รับการการันตีจากหน่วยงานภาครัฐว่าสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมืออาชีพตัวจริง นับเป็นการสร้างโอกาสขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย

  • สคช.ร่วมกับ Human Resources Development Service of Korea กระทรวงแรงงาน สาธารณรัฐเกาหลี จัดสัมมนาให้นักทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานอาชีพให้แพร่หลาย

    09.12.2563
    425 View

    นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมด้วย Mr. Seo Sung Youl, director of Global HRD Cooperation Department, Mr. Nam Young Moon, director of Competency Assessment Planning Department และ Mr. Ahn Saung Jung, deputy director of NCS Development and Improvement Department ร่วมบรรยายในการสัมมนา เรื่องคู่มือการนำมาตรฐานอาชีพไปใช้ในสถานประกอบการเพื่อสรรหาและเลื่อนตำแหน่งบุคลากร หรือ Introduction to National Competency Standard Application Packages โดยในการสัมมนาได้มีการพูดคุยแนวทางการจัดทำมาตรฐานอาชีพใหม่รองรับอุตสาหกรรม 4.0 และระบบการประเมินสมรรถนะแบบ New Normal และการจัดทำคู่มือนักทรัพยากรบุคคลในการใช้มาตรฐานอาชีพ นางสาวจุลลดากล่าวถึงนวัตกรรมและบริการใหม่ๆของระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เช่น การหาผู้มีสมรรถนะอาชีพต่างๆผ่านแอปพลิเคชั่นปักหมุดมืออาชีพ และการเชื่อมโยงข้อมูลประกาศรับสมัครงานกับผู้ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ขณะที่ Mr. Ahn Sang Jeong : Deputy Director of NCS Development and Improvement Department, HRD Korea ผู้เชี่ยวชาญ ด้านบริหารงานทรัพยากรบุคคล จากสาธารณรัฐเกาหลี ระบุว่ามาตรฐานอาชีพของเกาหลี ไม่ได้มีความแตกต่างจาก สคช.มากนัก และสถานประกอบการสามารถนำมาตรฐานอาชีพไปทำคู่มือการสรรหาบุคลากร การสร้างเส้นทางอาชีพ และหลักสูตรฝึกอบรมได้ โดยปรับให้เข้ากับมาตรฐานบริษัทได้เนื่องจากแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน ก็จะต้องนำมาตรฐานมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร นอกจากนี้ยังเห็นว่ามาตรฐานของ สคช. ที่ใช้ในปัจจุบัน สามารถนำมาเทียบเคียงกับมาตรฐานวิชาชีพของสาธารณรัฐเกาหลีได้ในหลายสาขาอาชีพอีกด้วย

  • สคช.เดินหน้าใช้เทคโนโลยีพัฒนากำลังคนอย่างยั่งยืน

    09.12.2563
    470 View

    ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าร่วมในงานเสวนา พร้อมรับฟังแนวทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ในหัวข้อ “เทคโนโลยีอวกาศสู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน” โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน พร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง “คุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อมวลประชาและประเทศชาติ ผ่านเทคโนโลยีอวกาศ” ที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดดีต ซึ่งมีคุณูปการต่างๆ มากมายเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์สารสนเทศโดยเฉพาะในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นผู้บุกเบิกการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้กับการวางแผนและพัฒนาประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ฝนพระราชทาน” ฝนเทียม หรือฝนหลวง เข้ามาแก้ปัญหาความแห้งแล้ง หรือแม้กระทั่งโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กพื้นที่ห่างไกล และขาดแคลนครู ให้เสามารถเข้าถึงการเรียนภาคพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกับเด็กในเมือง ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระอัจฉริยะภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยทั้งประเทศ ด้าน ดร.นพดล ระบุว่า สคช. มีการปรับทิศทาง และแนวทาง ในการพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มารองรับการพัฒนากำลังคนของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรมออนไลน์ พัฒนาระบบ E-Learning แม้กระทั่งการจัดทำแอปพลิเคชันปักหมุดมืออาชีพ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ รวมทั้งสร้างโอกาสด้วยการใช้แอปพลเคชันตัวเดียว และสิ่งที่จะดำเนินต่อไปก็คือพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะให้กับคนในอาชีพผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ และช่วยเหลือคนในอาชีพที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งยกระดับ พัฒนาตัวเอง และสร้างโอกาสต่อยอดในอาชีพด้วย

  • สคช. เชิญผู้เชี่ยวชาญ ถกแนวทางการจัดทำมาตรฐานอาชีพ รองรับนักคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    08.12.2563
    483 View

    นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานเปิดโครงการจัดทำมาตฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล ยกระดับอาชีพเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Data Protection Officer หรือ DPO โดยมี นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นางเขมนรินทร์ รัตนาอัมพวัลย์ นายกสมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอาชีพ ผู้แทนภาครัฐ และสถานประกอบการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นางสาววรชนาธิป กล่าวว่า การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานของทุกประเทศ เพราะมีความสำคัญเป็นการปกป้องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ในทางกลับกันบุคลากรที่ทำงานด้านนี้ มีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากเป็นอาชีพเฉพาะด้าน หากสามารถยกระดับให้กับคนในอาชีพได้ ก็จะเป็นยิ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพ พัฒนาคนในอาชีพให้เป็นไปตามแนวทางมาตรฐานสากลได้ด้วย และยังจะเป็นการรองรับฐานกำลังคนในอาชีพที่เพิ่มขึ้นด้วยในอนาคต เพื่อให้สอดรับกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีมาตรการคุ้มครอง เยียวยาผู้ถือครองข้อมูลจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล สำหรับการหารือในวันนี้ ก็เพื่อเสนอแนวทางการขับเคลื่อน กำหนดแผนการดำเนินงานและแนวทางการส่งเสริมให้บุคลากรหรือผู้ประกอบอาชีพ เข้ารับการับรองมาตฐานสมรรถนะ รองรับการเข้าสู่การประเมินยกระดับกำลังคนให้ได้มากที่สุด

  • ช่างผม-ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า "มืออาชีพจาก สคช." โชว์ฝีมือขั้นเทพในงานมหกรรมผ้าไหมไทย สู่เส้นทางโลกครั้งที่ 10

    06.12.2563
    530 View

    ช่างผม-ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า "มืออาชีพจาก สคช." โชว์ฝีมือขั้นเทพในงานมหกรรมผ้าไหมไทย สู่เส้นทางโลกครั้งที่ 10 ท่ามกลางเอกอัครราชฑูตและผู้แทนสถานฑูตกว่า 100 ประเทศเข้าร่วมงาน นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมงานมหกรรมผ้าไหมไทย สู่เส้นทางโลก ครั้งที่ 10 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ซึ่งมูลนิธิช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อให้ชาวไทยและชาวโลก ได้รับทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงส่งเสริมและสนับสนุนผ้าไหมไทย ให้เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้า เป็นอาชีพเสริมจนทำให้เกษตรกรมีความอยู่ดีกินดีมากขึ้น โดยในงานได้มีสมาคมวิชาชีพช่างทำผมไทย ซึ่งเป็น Assessor และExaminer ที่ผ่านการประเมินและรับรองจาก สคช. นำทีมโดย ดร.สมศักดิ์ ชลาชล ประธานคณะอนุกรรมการมาตรฐานอาชีพสาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวย ร่วมกับช่างมืออาชีพระดับประเทศ ที่ได้รับการันตีจาก สคช. ร่วมทำผมให้กับเอกอัครราชฑูตและผู้แทนสถานฑูตต่างประเทศ 100 ประเทศ สำหรับการเดินแบบในงาน ซึ่งทีมช่างทำผมประกอบไปด้วยสุดยอดฝีมือในอาชีพ เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Assessor) ในสาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวย อาทิคุณดุสิตา ศุภผลา, คุณพรนิพา ดำน้อย รวมทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่สอบ อย่างคุณธงชัย ม่วงบำรุง, คุณเปรม สิทธิปรีดานันท์ และ อ.กาญจนา ปันจันทึก หัวหน้าแผนกวิชาเสริมสวย วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ซึ่งเป็นองค์กรรับรองฯ ของ สคช. ร่วมทำผมด้วย นอกจากนี้โรงเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าที่เป็นเครือข่ายขององค์กรรับรองฯ สมาคมโรงเรียนเสริมสวยและตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งจัดประเมินออนไลน์ให้กับช่างมืออาชีพให้ได้รับการการันตีกับ สคช. ไปล่าสุด เข้าร่วมตัดเย็บชุดสำหรับเอกอัครราชทูตและผู้แทนสถานฑูตต่างๆ เพื่อเดินแบบในงาน อาทิโรงเรียนสอนตัดเสื้อเสริมสวยรุ่งรัตน์ นำโดย อ.สุเทพ เรืองปราชญ์ Examiner ร่วมดูแลตัดเย็บชุดสำหรับเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย โรงเรียนสอนตัดเสื้อนพวรรณ นำโดย อ.นพวรรณ ศรีอ่วมดี Examiner ร่วมตัดเย็บชุดสำหรับกงสุลกิตติมศักดิ์หมู่เกาะโซโลมอนด้วย